นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กองทุนครูของแผ่นดิน

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดกิจกรรมระดมทุนรับบริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิมการจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะขอพระราชทานชื่อเป็น "กองทุนครูของแผ่นดิน" โดยสามารถนำเงินที่บริจาคหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีเงินได้เป็นจำนวน ๒ เท่าของรายจ่าย แต่ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของกำไรสุทธิหรือเงินได้สุทธิ
รมว.ศธ.กล่าวว่า ครม.พิจารณาเรื่องการขอพระราชทานชื่อกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการขอลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินบริจาค ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแล้ว มีมติดังนี้

รับทราบและเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการจัดกิจกรรมระดมทุนรับบริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิมการจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน เผยแพร่ รณรงค์ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน รวมทั้งการระดมทุนเพื่อสมทบทุนกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการระดมทุน กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานของรัฐต้องถือปฏิบัติตามข้อ ๒๐ (๑) – (๕) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

-เห็นชอบในหลักการการขอพระราชทานชื่อ "กองทุนครูของแผ่นดิน" สำหรับกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับทุนประเดิมที่มีผู้บริจาค โดยให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ (เรื่อง การขอพระราชทานนามอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ และการก่อสร้างอาคารของทางราชการ) โดยอนุโลมตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

-การพิจารณาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ที่บริจาคเงินสมทบกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทาง การศึกษา นั้น ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

-ให้ผู้บริจาคเงินให้แก่กองทุนฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยสามารถนำเงินที่บริจาคหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้เป็นจำนวน ๒ เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปแต่ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของกำไรสุทธิหรือเงินได้สุทธิแล้วแต่กรณี

-ในส่วนของการจัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อขอรับบริจาคเงินเป็นทุนประเดิมในการจัดตั้งกองทุนกำหนดให้มีการจัดงานตั้งแต่วันที่ ๑๔–๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ โดยมีกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑ : วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ – ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นกิจกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการ และในช่วงวันที่ ๑๔ – ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นการเตรียมการเพื่อระดมทุนประเดิม

กิจกรรมที่ ๒ : วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นวันประกาศนโยบายคุณภาพครู เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อการจัดตั้งกองทุนครูของแผ่นดิน จึงสมควรเพิ่มกิจกรรมในการประกาศนโยบายคุณภาพครู เพื่อสร้างอุดมการณ์และจิตสำนึกร่วม ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบุคคล องค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันแสดงพลังในการทดแทนพระคุณครู บูชาครู ในการเฉลิมฉลองปีแห่งมหามงคล และการขอถวายพระราชสมัญญา “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” โดยมีส่วนร่วมในการบริจาคเป็นทุนประเดิมในการจัดตั้งกองทุนครูของแผ่นดิน ในครั้งนี้ด้วย

กิจกรรมที่ ๓ : หลังจากการระดมทุนประเดิมวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการต่อหลังจากการจัดรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ การร่วมบริจาคทุนประเดิมกองทุนครูของแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนตามลำดับ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการต่อ ได้แก่ กิจกรรมการตรวจสอบ และการรายงานผลการดำเนินการต่อสาธารณะ กิจกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ กิจกรรมขอบคุณผู้มีอุปการะและมอบของที่ระลึก และกิจกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนครูของแผ่นดิน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

มัธยมศึกษา

รมว.ศธ.กล่าวว่า ขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งเน้นไปที่คุณภาพการศึกษา จึงต้องการมาทำความเข้าใจที่จะต้องร่วมมือกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๓ ฉบับ คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับสภาการศึกษา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว


และช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนผ่านต่อไปคือ การศึกษาในทศวรรษหน้าหรือปี ๒๐๑๑-๒๐๒๐ ที่จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ เพื่อเน้นไปที่คุณภาพของผู้เรียน เพราะช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในอันดับที่ไม่น่าพอใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนยังอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสอบ O-Net ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนทั่วประเทศไม่เกินครึ่ง ยกเว้นภาษาไทยเท่านั้น ดังนั้น ศธ.จึงกล้าที่ประกาศการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างจริง จัง และหวังที่จะให้ทุกคนร่วมกันจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต โดยให้ผู้เรียนได้รับโอกาส ความเสมอภาค และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนรวมในการจัดการศึกษา

ในปีที่ผ่านมา ศธ.มีการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย และในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านต่อไปคือ ปี ๒๕๕๔ จะเป็นปีแห่งความภาคภูมิใจของครูเป็นพิเศษ ที่ได้ร่วมถวายพระราชสมัญญา "พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยจะใช้วโรกาสนี้จัดงานยกย่องเชิดชูเกียรติอาชีพครูครั้งสำคัญ พร้อมทั้งจะมีการจัดตั้ง “กองทุนครูของแผ่นดิน” โดยในวันที่ ๑๕-๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ จะมีจัดกิจกรรมระดมทุนขอรับบริจาคเงินทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพื่อนำเงินที่ขอรับบริจาคไปจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
นอกจากนี้ในปี ๒๕๕๔ จะถือว่าเป็น "ปีทองของครู" โดยจะผลักดันเรื่องความก้าวหน้า ศักดิ์ศรี และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของครูให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเงินเดือนครูให้เท่าเทียมข้าราชการอื่นที่ปรับมาแล้ว ๒ ครั้ง หรือการประเมินวิทยฐานะครูที่จะต้องสะท้อนคุณภาพของผู้เรียน หรือการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำของครูบรรจุใหม่ ในปี ๒๕๕๔ จึงจะเป็นปีที่เราต้องประสานงานการศึกษาทั้งระบบ ทั้งการผลิตและพัฒนาครู การคืนครูสู่ห้องเรียน รวมทั้งคืน ผอ.กลับโรงเรียน รวมทั้งจะพัฒนาระบบค่าตอบแทนครู ให้ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริงด้วย

ในฐานะผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จะต้องเป็นผู้ประสานงาน เป็นพี่เลี้ยงผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เป็นทัพขุนพลที่นำพาการศึกษาไปสู่ความสำเร็จ จะต้องเปลี่ยนแปลงจากการรวมอำนาจเป็นการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาให้มากขึ้น นอกจากนี้จะต้องบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น ซึ่งปีนี้ได้เริ่มต้นแล้วกับนโยบายการรับนักเรียนที่จะไม่ให้มีการฝากเด็กอย่างเด็ดขาด อีกประการที่สำคัญคือ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการศึกษา ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนที่สามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ความตั้งใจที่จะเดินทางมาพบในครั้งนี้ เพราะถือว่าผู้บริหารโรงเรียนทุกท่านเป็นความหวังในการปฏิรูปการศึกษา ต้องการให้บริหารจัดการที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหวังว่าจะเกิดความร่วมมือให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป.
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21862&Key=news1

5ค่ายลูกเสือต้นแบบ

ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๓
ศึกษาธิการ - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ
เห็นชอบให้ปรับปรุงค่ายลูกเสือ ๕ แห่งให้เป็นค่ายลูกเสือต้นแบบด้านต่างๆ
ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนฉลอง ๑๐๐ ปีการลูกเสือไทย พ.ศ.๒๕๕๔ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ โดยแผนงานหนึ่งที่สำคัญคือ เห็นชอบให้ปรับปรุงค่ายลูกเสือ ๕ แห่งให้มีความสง่างามและเหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งให้เป็นค่ายลูกเสือต้นแบบในด้านต่างๆ ดังนี้

- ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จ.ชลบุรี ปรับปรุง ๔๐ ล้านบาท เพื่อรองรับการเป็นสถาบันการลูกเสือในอนาคต
- ค่ายหลวงบ้านไร่ จ.ราชบุรี ปรับปรุง ๓๐ ล้านบาท เพื่อเป็นค่ายต้นแบบในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือสามัญ
- ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จ.ตรัง ปรับปรุง ๙๐ ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือรุ่นใหญ่
- ค่ายลูกเสือจอมทอง จ.เชียงใหม่ ปรับปรุง ๔๔ ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือวิสามัญ
- ค่ายลูกเสือไผ่ล้อม จ.นครพนม ปรับปรุง ๘๕ ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือสำรอง

ส่วนค่ายลูกเสืออื่นทั่วประเทศ ให้ไปสำรวจเพื่อจัดทำเป็นโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองที่ดิน เพื่อให้ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติโดยตรง หรืออาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เข้ามาช่วยปรับปรุงฟื้นฟูหรือดูแลแทนก็ได้ เพื่อไม่ให้ค่ายลูกเสือต่างๆ ถูกทิ้งร้าง สำหรับแผนงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมแผนฉลอง ๑๐๐ ปีการลูกเสือไทย พ.ศ.๒๕๕๔ นั้น จะจัดให้มีการแถลงข่าวในโอกาสต่อไป

เห็นชอบข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลูกเสือจำนวน ๓ ฉบับ

- ร่างข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินหรือรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้ชัดเจนถึงเงินรายได้ของสำนักงาน การรับเงิน การเก็บรักษาเงินรายได้ การก่อหนี้ผูกพัน การจัดทำบัญชี การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินรายได้ ซึ่งเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕ ล้านบาท หากจำเป็นต้องจ่ายเกินจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

- ร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบภายใน พ.ศ. .... โดยให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย ๓ คน อยู่ในวาระปฏิบัติงานคราวละ ๔ ปี เพื่อกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน และประเมินระบบการควบคุมภายใน บริหารความเสี่ยงของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการอย่างเป็นระบบ

- ร่างข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยเข็มลูกเสือสมนาคุณ พ.ศ. .... โดยกำหนดเข็มลูกเสือสมนาคุณไว้สำหรับตอบแทนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเพื่อบำรุงการลูกเสือเป็น ๔ ชั้น คือ

๑) ชั้นพิเศษ หน้าเสือทำด้วยทองคำประดับเพชรใต้วชิระเหนือหัวเสือ สำหรับผู้บริจาค ๓ แสนบาทขึ้นไป
๒) ชั้นที่หนึ่ง หน้าเสือทำด้วยทองคำ สำหรับผู้บริจาค ๒ แสนบาทขึ้นไป
๓) ชั้นที่สอง หน้าเสือทำด้วยนาค สำหรับผู้บริจาค ๑ แสนบาทขึ้นไป
๔) ชั้นที่สาม หน้าเสือทำด้วยเงิน สำหรับผู้บริจาค ๕ หมื่นบาทขึ้นไป

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ช่วง ๒ ปีที่ผ่านมาไม่มีการประชุมสภาลูกเสือไทย เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ทางการเมือง ที่ประชุมจึงเห็นว่าควรจัดให้มีการประชุมสภาลูกเสือไทยในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ โดยเชิญนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสภาลูกเสือไทย เข้าร่วมประชุมด้วย
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21809&Key=news1

มิติใหม่การวัดและประเมินผล

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “มิติใหม่ของการวัดและประเมินผลตามจุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียนในทศวรรษที่สอง” เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหาร สพฐ. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน ๑๒๐ คน ร่วมระดมความคิดเห็นและเสนอแนะให้การวัดและประเมินผลสนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองทั้งในระดับรัฐบาลและระดับกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดเน้นเรื่องคุณภาพที่มีความชัดเจนมากที่สุด โดยเฉพาะยุทธศาสตร์เชิงนโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะถ้าสามารถประกาศคุณภาพผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความก้าวหน้าในระดับที่น่าพึงพอใจเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนในการปฏิรูปการศึกษาไทย

อย่างไรก็ตาม ศธ.ให้ความสำคัญกับการวัด ประเมินผล และการประกันคุณภาพ โดยได้ประกาศเรื่องการประกันคุณภาพ และมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดสัมมนาอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค ซึ่งได้รับความสนใจจากครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างมาก รวมทั้งได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เพื่อให้การดำเนินการวัดและประเมินผลสามารถนำมาพัฒนาผู้เรียน และเชื่อมโยงสอดรับกับเป้าหมายตามนโยบายพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสู่เป้าหมายใหญ่ คือ การเป็นพลเมืองยุคใหม่ ต่อไป
รมว.ศธ.ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลว่า ควรจะสนองตอบต่อคุณภาพผู้เรียน มุ่งเน้นหลักวิชาการของการวัดและประเมินผล และมีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับ การระดมความคิดเห็นจึงควรเน้นการบูรณาการเป็นองค์รวมตามหลักวิชาการของการวัดและประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา สพฐ. สทศ. และ สมศ.ต้องยึดคุณภาพผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้นเป็นหลัก ทั้งทักษะ ความสามารถในการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

นอกจากนี้ ขอให้ช่วยกันคิดถึงการนำผลจากการประเมินระดับชาติมาใช้ในการสอบเลื่อนชั้น สอบประเมินผลช่วงชั้น หรือสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นปีแห่งคุณภาพอย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21811&Key=news1

ปฐมนิเทศผอ.เขตพื้นที่

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จ.นครปฐม
รมว.ศธ. กล่าวว่า การพัฒนาผู้ที่จะไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น เป็น ๑ใน ๔ หัวใจหลักของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง อันประกอบไปด้วย ๑) การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) การพัฒนาครูยุคใหม่ ๓) การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) การพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ ซึ่งมีแนวคิดที่ต้องยึดถือปฏิบัติคือ

- แนวคิดการบริหารจัดการยุคใหม่ จะต้องไม่มีการรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเหมือนที่ผ่านมา เน้นให้มีการกระจายอำนาจลงสู่โรงเรียนเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และระดมทรัพยากร ตัวอย่างเช่น โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ที่จะออกเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐ และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ในโอกาสต่อไป หรือโรงเรียนที่มีมาตรฐานและมีการแข่งขันสูง จะต้องเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐ และยกระดับให้เป็นนิติบุคคลทั้งหมด

- แนวคิดด้านคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของนักเรียนในสังกัด เช่น O-Net, A-Net จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

- แนวคิดด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เช่น กรรมการสถานศึกษา สมาคมผู้ปกครอง ฯลฯ ซึ่งภาคีเครือข่ายเหล่านี้จะต้องมีส่วนร่วมในด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน

สำหรับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาซึ่งจะได้รับการการบรรจุแต่งตั้งใหม่ จะต้องมีแนวคิดที่เป็นหนึ่งเดียวกันที่จะร่วมปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยต้องจัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเวียนไปโรงเรียนต่างๆ แทนการที่จะให้โรงเรียนเข้ามาหาเขตพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูได้ทำงานอยู่ในโรงเรียนเต็มเวลาอย่างแท้จริง ตามนโยบายคืนครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้กับโรงเรียน

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า การศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชากรของชาติ เนื่องจากผู้เรียนในวัยนี้อยู่ในช่วงของวัยรุ่น เป็นวัยที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง จึงต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพพร้อมที่จะก้าวสู่ระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาต่อไป สิ่งสำคัญนอกจากจะได้ผู้บริหารที่มีแนวคิดและการบริหารจัดการแบบใหม่แล้ว ยังต้องนำครูพันธุ์ใหม่มาสู่เขตพื้นที่มัธยมศึกษาให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นครูที่สร้างมาเพื่อรองรับการศึกษาในยุคใหม่ เพื่อร่วมมือกับผู้บริหารยุคใหม่ ในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสถานศึกษายุคใหม่ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21786&Key=news1

มติ ครม.

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ๔ เรื่อง
การถวายพระราชสมัญญา "พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน"

ครม.เห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา "พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน" เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ศธ.ได้รายงานว่า พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาการศึกษาไทย พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ส่งผลให้การพัฒนาการศึกษาของชาติมีความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายครอบคลุมทั้งในเมืองและในชนบทโดยทั่วถึง ในรัชสมัยของพระองค์การศึกษาของไทยพัฒนาก้าวหน้าครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและการศึกษาไทยที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทย โดยพระราชกรณียกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาในระบบโรงเรียนนั้น เริ่มจากใน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนจิตรลดาขึ้นสำหรับพระราชโอรสพระราชธิดา บุตรข้าราชบริพารในพระราชวัง ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคล ทั่วไปได้ร่วมเรียนด้วย ต่อมาเมื่อพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบริเวณชายแดนทุรกันดาร ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาการขาดแคลนที่เรียนของเด็กและเยาวชนจึงมีมีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา

ทั้งนี้ โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริและอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือทรงอุปถัมภ์ หรือทรงให้คำแนะนำมีจำนวน ๑๐๔ โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนประเภทต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา กลุ่มโรงเรียนราชวินิต โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนในพระบรมราชานุเคราะห์ กลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนวังไกลกังวล โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริ และอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ หรือองค์กรต่างๆ เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ส่วนการศึกษานอกระบบโรงเรียน ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพระดาบสขึ้น ด้วยความห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องการแสวงหาความรู้ แต่ขาดโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ ทำให้พลาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยโครงการพระดาบสได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ เปิดทำการสอนวิชาชีพแขนงต่างๆ เพื่อให้ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ตามแนวพระราชดำริ

นอกจากนี้ ได้ทรงริเริ่มโครงการที่ส่งเสริมการศึกษาและการจัดตั้งทุนการศึกษา โดยทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของชาติอย่างหลากหลาย อาทิ ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ทุนเล่าเรียนหลวง ทุนพระราชทานแก่นักเรียนชาวเขา ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------

เห็นชอบยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒– ๒๕๖๑

ครม.เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒– ๒๕๖๑ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ มีความสอดคล้องกับความต้องการและมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน” และกำหนดเป้าหมายปี ๒๕๓๔ ว่าจะต้องมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF) มีการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อการรับรองสมรรถนะความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ มีการขยายการศึกษาระบบทวิภาคี สหกิจศึกษา และการฝึกงานให้มากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนในระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษา เป็นร้อยละ ๓๐ ของผู้เรียนอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น ๖๐ : ๔๐ และมีกำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๕ และมีสมรรถนะทางวิชาชีพตามมาตรฐาน

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงานดังกล่าว จึงได้กำหนด ๙ ยุทธศาสตร์และมาตรการ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ปฏิรูปการเรียนรู้ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพ ประกอบด้วย ๑๐ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนาคุณภาพกำลังคนทุกระดับ ประกอบด้วย ๗ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ประกอบด้วย ๙ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาขาดแคลนและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ๘ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของกำลังแรงงาน ประกอบด้วย ๑๑ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : เสริมสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการผลิตและบริการที่เชื่อมโยงกับการพัฒนากำลังคน ประกอบด้วย ๗ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของครู คณาจารย์ และผู้บริหาร ประกอบด้วย ๑๐ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ๑๐ มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๙ : สร้างระบบความร่วมมือและเครือข่ายในการผลิตและพัฒนากำลังคน ประกอบด้วย ๑๐ มาตรการ

--------------------------------------------------------------------------------

เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามมาตรา ๗๗

ครม.เห็นชอบในหลักการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม ๒ ฉบับ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

- ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยกำหนดให้ครอบครัวของข้าราชการครูฯ ผู้ถึงแก่ความตายได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การครองชีพ การศึกษาหรือฝึกอบรม การสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ และสิทธิพิเศษการเข้าทำงานในสถานประกอบการของรัฐตามที่กำหนด และได้กำหนดวิธีการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน การแจ้งสิทธิ การได้รับสวัสดิการ การยื่นขอรับสิทธิ และให้การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

- ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ให้ได้รับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ และได้รับการพิจารณาพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยกำหนดให้บรรจุทายาทของครอบครัวของข้าราชการครูฯ ผู้ถึงแก่ความตายเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนตามที่กำหนด พร้อมทั้งกำหนดให้ครอบครัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การครองชีพ การศึกษาหรือฝึกอบรม การสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ และสิทธิพิเศษการเข้าทำงานในสถานประกอบการของรัฐตามที่กำหนด นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการจัดงบประมาณเป็นเงินช่วยเหลือแก่ทายาทของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถึงแก่ความตายตามที่ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

--------------------------------------------------------------------------------

อนุมัติกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. ....

ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ได้มีการกำหนดนิยามของคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พร้อมทั้งกำหนดผู้มีสิทธิขอรับเงินกองทุน หลักเกณฑ์การยื่นขอรับเงินกองทุน กำหนดขั้นตอนการพิจารณาแผนงานหรือโครงการ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาการกลั่นกรองทางวิชาการ การกลั่นกรองทางวิชาการ การพิจารณาแผนงานหรือโครงการที่เสนอขอรับเงินกองทุน และอำนาจในการอนุมัติเงินกองทุนของคณะกรรมการ รวมทั้งได้กำหนดให้งานจากโครงการที่ได้รับเงินจากกองทุนให้ตกเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21785&Key=news1

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันรัฐธรรมนูญ

๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก
อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

ปฎิรูปการเงินเพื่อการศึกษา

รมว.ศธ. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา โดยศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา ดังนี้ ๑) ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง  ๒) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา  ๓) ยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วม  ๔) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความเข้มแข็งของสถานศึกษา โดยมีการกำหนดกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเงินเพื่อการศึกษา ได้แก่
๑. กลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยจัดทำแผนในการยุบรวม เลิก หรือการรวมกลุ่มสถานศึกษา (Cluster) ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดจำนวนและที่ตั้งสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำแผนขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและบุคลากรเพื่อรองรับการยุบ รวม เลิก หรือการรวมกลุ่มสถานศึกษาที่หมดความจำเป็นหรือต้นทุนต่อหน่วยสูงและด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรอุดหนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงการส่งเสริมสถานศึกษาที่มีศักยภาพ ความพร้อม ไปสู่สถานศึกษาที่มีรูปแบบเป็นองค์การมหาชน หรือเป็นนิติบุคคล เพื่อความเป็นอิสระ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ตลอดถึงการพัฒนาการศึกษาให้มีศักยภาพ มีความพร้อม และการดำเนินการออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในการบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ การจัดระบบการจัดสรรเงินอุดหนุนผ่านด้านอุปสงค์ หรือตัวผู้เรียน การจัดสรรเป็นเงินก้อนแก่สถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน การจัดสรรเงินผ่านด้านอุปทาน หรือสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
๒. กลไกการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการระดมทุนจัดการศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ การดำเนินการตามกฎหมายภาษีอากร สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ให้แก่บุคคลและสถาบันที่มีส่วนร่วมในเรื่องของการระดมทุน และสนองทุนเพื่อการศึกษาจากทุกภาคส่วน ให้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายจากการบริการการศึกษา
๓. กลไกการดำเนินงานตามหลักการและแนวทางการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม การออกแบบและการพัฒนาการเงินเพื่อการศึกษา ให้มีการทดลองนำร่องระบบบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระบบจัดสรรเงินผ่านด้านอุปสงค์ หรือตัวผู้เรียน ระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการรายงานและการตรวจสอบ
๔. กลไกการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา การออกแบบพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง ทันเวลา มีความโปร่งใส
๕. กลไกด้านกฎหมาย ปรับปรุงกฎกระทรวง ระเบียบวิธีปฏิบัติ ปรับปรุงกฎหมายเดิม รวมถึงการออกกฎกระทรวงในการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษา และเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยมุ่งวัตถุประสงค์ด้านการผลิตกำลังคน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เพื่อให้กองทุนมีความยั่งยืนในระยะยาว
๖. กลไกการผลักดันจากผู้บริหารระดับสูง เป็นกลไกที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบหลักการ แนวคิด ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาตามกรอบและแนวคิดดังกล่าว
รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา และจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ รวมถึงเสนอให้คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ได้รับทราบ ตามกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว กำหนดภารกิจให้ชัดเจน มีองค์กรในการตรวจสอบระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่มุ่งเน้นในการจัดการไปสู่สถานศึกษา เพื่อให้สะท้อนคุณภาพ และมีการระดมทรัพยากร ซึ่งจะมีการดำเนินการทำเป็นวาระพิเศษ เพื่อให้มีการระดมทรัพยากรให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษามีประเด็นสำคัญ ได้แก่
  • การให้สถานศึกษาได้มีงบประมาณการดำเนินการในการจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนงบประมาณกลางจากภาครัฐ และในส่วนที่ต้องระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน
  • ให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ ในการบริหารทรัพยากร รวมถึงมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
  • การตรวจสอบติดตามการใช้งบประมาณด้านการศึกษาให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการเสนอการจัดทำประมาณการด้านการเงิน การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เพื่อดำเนินการในการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และกลไกดังกล่าวต่อไป
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21614&Key=news1

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยินดีกับความสำเร็จของ UTQ

ยินดีกับทุกท่านกับโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
E-training สามารถดาวน์โหลดวุฒิบัตรได้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่
3 ธันวาคม 2553 ตามหลักสูตรที่ลง ผมก็ได้ดำเนินการแล้ว
เป็นความภาคภูมิใจสำหรับการอบรมครั้งนี้ สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ลง
ทะเบียนเรียนก็เตรียมสมัครในรุ่นที่ 2  ครับ
http://www.utqonline.in.th/

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ผู้แทครูมัธยมศึกษา" ยื่นหนังสือเร่งรัดการอ่านและอนุมัติผลงาน คศ.3

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 สมาพันธ์ผู้แทนครูมัธยมศึกษาใน อ.ค.ก.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย โดยการประสานงานของนายสงกรานต์ จันทร์น้อย ผู้แทนครู ใน กคศ. นายสมยศ เทพนิมิตร ประธานสมาพันธ์ฯ , นายวัฒนา ไตรยราช เลขาประธานสมาพันธ์ ได้จัดประชุมสัมมนา และได้เข้าพบและยื่นหนังสือ กับ นายวิศร์ อัครสันตติกุล ก.ค.ศ. , นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขา ก.ค.ศ. และนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการอ่านผลงานและอนุมัติผลทางวิชาการที่ครูได้ส่งผลงาน ซึ่งในขณะนี้มีความล่าช้า และได้ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการย้ายของข้าราชการครู ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางสมาพันธ์ผู้แทนครูมัธยมศึกษา จะติดตามและเร่งรัดให้ดำเนินการต่อไป อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/main/board01_/shows.php?Category=find&No=359

ประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.

ประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.
กลุ่มสอบคัดเลือก จำนวน 11 ตำแหน่ง และ
กลุ่มคัดเลือก จำนวน 12 ตำแหน่ง
สมัคร 6-8 ธันวาคม 2553 สำนักงาน ก.ค.ศ.ชั้น 5 อาคารรัชดาภิเษกกระทรวงศึกษาธิการ เวลา 08.30-16.30 น.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก 10 ธ.ค. 2553สอบคัดเลือกกลุ่มสอบคัดเลือก ภาค ก สอบข้อเขียน 12 ธ.ค. 2553 เวลา 09.00-115.30 น.                              ภาค ข ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร 17 ธ.ค. 2553 09.00-16.30 น.                              ภาค ค ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง 18 ธ.ค. 2553 09.00-16.30 น.กลุ่มคัดเลือก   ภาค ก 16 ธ.ค. 2553 09.00-16.30 น.                        ภาค ข 18 ธ.ค. 2553 ประกาศผลการคัดเลือก 20 ธ.ค. 2553
อ่านเพิ่มเติมที่ http://203.146.15.33/webtcs/files/691-53.pdf


วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชื่อเขตพื้นที่ที่เป็นภาษาอังกฤษ

ชื่อเขตพื้นที่ที่เป็นภาษาอังกฤษ (ดร.รังสรรค์  มณีเล็ก)
- เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา    Primary Educational Service Area (PESA)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
   Primary Educational Service Area Office (PESAO)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่    Krabi Primary Educational Service Area Office
- เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา                      
   Secondary Educational Service Area (SESA)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1  
   Secondary Educational Service Area Office 1 (SESAO)
อ้างอิงจาก http://210.246.188.61/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=497&filename=index_plan

หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา การกำหนดคุณสมบัติอื่น วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ. อนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2553

หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา การกำหนดคุณสมบัติอื่น
วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ.
อนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2553
อ่านเพิ่มเติมที่

http://203.146.15.33/webtcs/files/53_6_617_3.pdf

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การย้ายข้าราชการครูสายงานการสอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)

การย้ายข้าราชการครูสายงานการสอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)
ตามหนังสือ ที่ ศธ 040009/ว7075 ลว. 25 พฤศจิกายน 2553 ประกอบไปด้วย
1. มติ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ในคราวประชุมครั้งทีี่ 7/2553
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553
2. แนวทางการพิจารณาย้ายข้าราชการครูสายงานการสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ตามเอกสาร
http://personel.obec.go.th/ewtadmin/ewt/personal_obec/download/article/article_20101129065336.pdf

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว "วันวชิราวุธ" ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อเช้าวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓


สนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ- นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เป็นประธานพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว "วันวชิราวุธ" ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อเช้าวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
รมว.ศธ.กล่าวว่า วันนี้เป็นวันสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดกิจการลูกเสือไทย พวกเราจึงได้มาร่วมพร้อมใจน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความกตัญญูกตเวทิตา ด้วยการมาร่วมกันถวายพวงมาลาและถวายราชสดุดี ณ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ อีกทั้งได้เชิญชวนลูกเสือ เนตรนารี มาประกอบพิธีโดยพร้อมเพียงกัน และร่วมปฏิบัติกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในวันนี้ เพื่อถวายสักการะ แด่พระองค์ท่าน ซึ่งได้ถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบเนื่องเป็นประจำทุกปี
ทุกท่านที่มาอยู่ ณ ที่นี้ล้วนมีความศรัทธาต่อขบวนการลูกเสืออย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการบ่มเพาะความมีวินัย ความรัก ความสามัคคี และกล่อมเกลาเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เพื่อจะได้เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติสืบไปในอนาคตสมดังพระราชปณิธานของพระองค์ ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยที่ได้ทรงมุ่งหมายไว้ว่า ลูกเสือ เนตรนารี เป็นผู้มีระเบียบวินัย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น และที่สำคัญคือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา และใจ ปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือทั้ง ๑๐ ข้อ รวมทั้งคติพจน์ของลูกเสือไทยที่ว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์"
ซึ่งหากลูกเสือ เนตรนารีทุกคน ตั้งมั่นพยายามที่จะบำเพ็ญกิจดังพระราชประสงค์ และประพฤติปฏิบัติได้ตามคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ ก็จะเป็นผลดีต่อตนเอง สังคม ตลอดจนประเทศชาติ อันเป็นที่รักยิ่งของเรา
รมว.ศธ. กล่าวถึง การดำเนินงานของ ศธ. เพื่อสนองตอบต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาลูกเสือไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนกิจการลูกเสือ เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ต้องการมุ่งเน้นพัฒนาเด็กไทยให้มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ศธ. จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้กิจการลูกเสือมาเป็นกิจกรรมในการจัดโครงสร้างเวลาในการเรียนการสอน ร้อยละ ๗๐ : ๓๐ โดยร้อยละ ๓๐ เป็นกิจกรรมหลัก ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป และเนื่องในปี ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ครบรอบ ๑๐๐ ปี การลูกเสือไทย ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศธ. จะได้ดำเนินการพัฒนากิจการลูกเสือ ๓ เรื่อง ดังนี้

. สร้างอาคารวชิราวุธ
เป็นอาคารหลักในการดำเนินการพัฒนากิจการลูกเสือให้มีความก้าวหน้าต่อไป

๒.
จัดกิจกรรมชุมนุมลูกเสือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งจะระดมลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือวิสามัญ ลูกเสือรุ่นใหญ่ ลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ    มาร่วมกันจัดงานชุมนุมลูกเสือ เพื่อสานปณิธาน ปฏิบัติตามกฎของลูกเสืออย่างต่อเนื่อง

๓. การปรับปรุงหลักสูตร
โดยให้สถานศึกษาทุกแห่งมีกองลูกเสือในทุกพื้นที่ มีการจัดกิจกรรม เข้าค่ายลูกเสือ รวมทั้งยังมีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อการนำกฎของลูกเสือมาเป็นจุดเน้นในการพัฒนาเยาวชนต่อไป

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2010/nov/405.html

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กำหนดการตรวจเยี่ยมช่วยเหลือโรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

กำหนดการตรวจเยี่ยมช่วยเหลือโรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม
จังหวัดนครราชสีมา

โดย ฯพณฯชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และผู้บริหารระดับสูง

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553
เวลา 09.45 น. - รมว.ศธ. และคณะเดินทางถึงโรงเรียนสวนหม่อน
         10.20 น. - รมว.ศธ. และคณะ เดินทางถึงโรงเรียนชุมชนบ้านประโดก-
                          โคกไผ่ พบผู้บริหารทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
                           ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน สักกัด สกอ., สพฐ., กศน.,และ
                           สช. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่้น
                         - ชมการแสดง ฯลฯ
                         - รมว.ศธ. กล่าวแสดงความรู้สึก พร้อมให้กำลังใจ และ
                            ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือ ร่วมใจกันฟื้นฟูช่วยเหลือฯ
                            มอบเงินช่วยเหลือพร้อมสื่อการเรียนการสอน
                            และสิ่งบรรเทาทุกข์แก่นักเรียนและประชาชนแถลงข่าว/ตรวจเยี่ยม
            13.30 น. - รมว.ศธ. ตรวจเยี่ยม โรงเรียนชุมชนบ้านกระเบื้องใหญ่
                             อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
           15.25 น.  - รมว.ศธ.ตรวจเยี่ยม ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี
                             อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

           16.45 น. -  รมว.ศธ. พร้อมคณะเดินทางกลับ
อ้างอิงจาก http://202.143.140.60/eoffice53/viewtopic.php?f=46&t=1540&sid=ae7cd5dfee05a6d15ad46edfe4371c30

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลอดเกณฑ์ประเมิน "คงวิทยฐานะ" ปี 54

นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ.2547 เปิดเผยว่า

ขณะนี้คณะทำงานได้ยกร่างหลักเกณฑ์ประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะใกล้แล้วเสร็จ โดยมีหลักการสำคัญคือ จะประเมินด้านความรู้ ความสามารถ และด้านผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าผู้ดำรงอยู่ในแต่ละวิทยฐานะมีความรู้ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญอย่างไร โดยคณะทำงานจะยกร่างทำแบบฟอร์มและคู่มือการประเมินให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะนำร่างหลักเกณฑ์ประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะเข้าสู่การพิจารณาของคณะ กรรมการ ก.ค.ศ. ซึ่งมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้พิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้ คาดว่าจะประกาศใช้และเริ่มประเมินการคงอยู่ของวิทยฐานะได้ตั้งแต่ปี 2554
อ้างอิงจาก
http://www.kruthai.info/main/board03_/shows.php?Category=newsedu&No=1221

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทน สพป.นม. เขต 1

เรียน ผอ.โรงเรียนในสังกัดทุกโรง


ตามที่ได้แจ้งรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนฯ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ขณะนี้ สพป.นม. เขต 1 ได้โอนเงินให้กับข้าราชการครูตามที่ได้แจ้งรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 จะตรวจสอบยอดเงินจากธนาคารได้เวลาประมาณ 16.00 น.

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

โสภิดา วิไลพรหม/ผู้แจ้ง 089-8451749
อ้างอิงจาก http://202.143.140.60/eoffice53/viewtopic.php?f=46&t=1485&sid=80df028c696d3a2389b059b27359cd39
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ก.ค.ศ.ปลดครูลอกผลงานพ้นราชการ

- ชี้ลดปัญหาแม่พิมพ์จ้างทำงานด้านวิชาการ
          - เร่งวางเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์
          เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน นายพิษณุ ตุลสุขรองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่าจากกรณีที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะครูโดยให้เน้นการประเมินผลงานเชิงประจักษ์ แต่จะไม่เน้นเรื่องเอกสารทางวิชาการนั้นขณะนี้สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ตั้งคณะทำงานมาดำเนินการกำหนดแนวทางการประเมินแล้ว ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ทันตามนโยบายของนายชินวรณ์ เพื่อใช้ประเมินวิทยฐานะในช่วงต้นปี2554 โดยหลักการที่จะช่วยข้าราชการครูที่มีผลงานดีเด่นให้ผ่านการประเมิน และได้รับวิทยฐานะนั้น ต้องกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกว่าข้าราชการครูที่มีผลงานดีเด่นนั้น ควรเป็นระดับใด เช่นมีผลงานดีเด่นระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับประเทศ เป็นต้น และต้องกำหนดด้วยว่าจะมีครูกลุ่มไหนที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวได้บ้าง เช่น ครูต้นแบบ ครูดีเด่น เป็นต้น ซึ่งคนที่ผ่านการคัดเลือกต้องเป็นที่ยอมรับได้ว่ามีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ สำหรับการคัดเลือก น่าจะมี 2 แนวทาง คือ อาจให้เขตพื้นที่ฯหรือ ก.ค.ศ.ดำเนินการคัดเลือก
          "สำหรับขั้นตอนการประเมิน ยังมีกรรมการประเมินเช่นเดียวกับการประเมินวิทยฐานะทั่วไปแต่จะปรับรูปแบบการประเมินใหม่ โดยที่ผู้ขอประเมินต้องมีผลงานชิ้นหนึ่งเพื่อยืนยันว่าเป็นผลการปฏิบัติงานจริง ที่เป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะทำให้ครูที่มีผลงานดีเด่น ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีครูที่เก่งๆ จำนวนมาก ไม่ได้ขอเลื่อนประเมินวิทยฐานะ ทั้งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ จึงเป็นที่น่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะทำงานได้จัดทำแนวทางการประเมินเสร็จแล้ว จะเร่งเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายน" นายพิษณุกล่าว
          นายพิษณุกล่าวว่า สำหรับปัญหาการคัดลอกและว่าจ้างทำผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนประเมินวิทยฐานะนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ก.ค.ศ.มีมติลงโทษข้าราชการครู 1 ราย ที่ถูกร้องเรียนว่าคัดลอกผลงานวิชาการของผู้อื่นมายื่นประเมินวิทยฐานะโดยให้ปลดออกจากราชการแล้ว ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้แจ้งเรื่องไปยังเขตพื้นที่ฯ ให้ดำเนินการตามมติแล้ว อย่างไรก็ตาม คิดว่าการที่มีข้าราชการครูถูกลงโทษจากกรณีดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้การคัดลอกผลงาน และการจ้างทำผลงานลดลง ทั้งนี้หากใครมีข้อมูลให้แจ้ง หรือร้องเรียนมาได้ที่ก.ค.ศ.เพื่อแก้ปัญหาให้หมดไป


อ้างอิงจาก  http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21105&Key=hotnews

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่อง : การแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผอ.สพท.และ รองผอ.สพท.

คำสั่ง สพฐ.แต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผอ.สพท.และ รองผอ.สพท. จำนวน 8 ฉบับ ที่ 1546-1553 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ดังแนบ
สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 (นครราชสีมา)
ขอแสดงความยินดีกับ



ดร.ชูเกียรติ  วิเศษเสนา                   
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษ
าประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 
ได้รับแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน
เขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
ประวัติผอ.สพม.31

และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ทั้ง 3  ท่าน คือ

ท่านมังกร  กมลวัทน์         รองผอ.สพป.นม. 1
ปฏฺบัติหน้าที่รองผอ.สพม.31

ท่านสิงห์ศักดิ์  แก้งคำ        รองผอ.สพป.นม. 6
ปฏฺบัติหน้าที่รองผอ.สพม.31

ท่านธีรวุฒิ  ทองโอษฐ์       รองผอ.สพป.นม. 7
ปฏฺบัติหน้าที่รองผอ.สพม.31



หนังสือด่วนที่สุดที่ศธ 04009/2635 ลว 29 ตุลาคม 2553
คำสั่งสพฐ.ที่ 1546/2553 ย้ายและแต่งตั้ง ผอ.สพม. จำนวน 19 ราย
คำสั่งสพฐ.ที่1549/2553 รองผอ.สพป. ไปปฏิบัติหน้าที่ รองผอ.สพม. จำนวน 79 ราย
คำสั่งสพฐ.ที่1552/2553 ย้ายและแต่งตั้งรองผอ.สพป.
อ้างอิงจาก  http://www.obec.go.th/

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาครู (e-Training) ผ่านระบบ UTQ Online

การพัฒนาครู e-Training เป็นการพัฒนาครูทั้งระบบ
ตามกลุ่มสาระ กลุ่มสนใจ ซึ่งคุณครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ได้พัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีรูแบบการลงทะเบียนเรียน
โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน รหัสผ่านใช้เลขประจำประชาชน 6 ตัวสุดท้าย
เพื่อไม่ให้ลืม(หรือจะใช้เลขอะไรก็ได้ 2 ตัว) จากการเข้าไปเรียนรู้พัฒนา
ผู้เขียนเลือกลง UTQ101 หลักสูตรและการวัดผลประเมินผล ขณะนี้ก็ได้
เรียนจนจบและทดสอบครบแล้ว 100% แต่ต้องรอการอนุมัติการจบหลักสูตรก่อน
จึงจะไปลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรต่อไป สำหรับคุณครูกลุ่มสาระต่างๆต้องลงหลักสูตร
บังคับตามกลุ่มสาระที่สอนก่อน จึงไปเรียนหลักสูตรที่สนใจต่อไป การเข้าเรียนสนุกมากครับ
วันใดเข้าได้ก่อนก็โชคดีไป วันใดผู้เข้าเรียนมาก ๆ ก็ช้าหรือเข้าไม่ได้ ก็ไปรอรอบต่อไป
แต่ก็พยายามครับ สื่อก็มีให้ได้อ่าน หากมีระบบการเรียนแบบนี้ในระยะต่อเนื่องต่อไป
ผู้เขียนคิดว่า จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาอย่างหลากหลาย และเป็นการเรียนรู้
โดยลดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนตามสถานบัน และยังเป็นการพัฒนาครู อย่างต่อเนื่อง
สามารถเก็บเป็นชั่วโมงในการพัฒนาตนเอง ตามการประเมินที่คุณครูทุกคนจะต้องมีการพัฒนา
ขอชื่นชมครับ

คุณครูที่มีปัญหาในการใช้งานระบบ ติดต่อ Call Center
084-0298257 หรือ 086-5751891
ในเวลาทำการ ช่วง 08.00 - 20.00 น.
หรือทางอีเมล์ utqsupport@outputstream.net

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาครูด้วยระบบ e-Trainning

สพฐ.จัดสรรงบประมาณให้ สพป. และ สพม. จำนวน 55,000 บาท
เพื่อดำเนินการ
1.บริหารการจัดการอบรม

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตามหนังสือ สพฐ.ที่040009/ว.6466 ลว.27 ตุลาคม 2553
เรื่องการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ปีงบประมาณ 2554 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่เป็นหน๋วยเบิก ดำเนินการ
1.เบิกจ่ายเงินค่าวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนให้กับผู้เกษียณอายุปกติ/เกษียณก่อนกำหนด
ในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 และถึงแก่กรรม ที่ต้องได้รับเงินตกเบิกให้เสร็จสิ้นภายใน 10 พฤศจิกายน 2553
2.เบิกจ่ายเงินค่าวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับผู้ที่ได้รับวิทยฐานะที่ผู้มีอำนาจลงนามคำสั่งตั้งแต่วันที่
1 เมษายน 2552- 30 พฤศจิกายน 2552 ทุกวิทยฐานะ ให้เสร็จสิ้นภายใน 10 พฤศจิกายน 2553
3. สำหรับ ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้มีวิทยฐานะที่มีผู้มีอำนาจลงนามคำสั่งแต่งตั้งวันที่ 1 ธันวาคม 2552 เป็นต้นมา
ให้ชะลอการเบิกจ่ายไว้ก่อนจนกว่าสพฐ.จะได้รับงบประมาณ
อ่านรายละเอียดเพ่ิมเติมได้ที่ http://personel.obec.go.th/ewtadmin/ewt/personal_obec/download/article/article_20101027094354.pdf

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี
จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้ประเมิน นายประเสริฐ ศรีแสนปาง

บทคัดย่อ

การรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี
จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต เปรียบเทียบด้านผลผลิตก่อนและหลังการดำเนินโครงการ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงาน ตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 694 คนจากประชากร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 59 คน กำหนดนักเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ประชากรทั้งหมดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 31 ห้องเรียน ทำการสุ่ม
อย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก ห้องเรียนละ 10 คน ได้นักเรียน จำนวน 310 คน ผู้ปกครองได้มาจาก
การเจาะจงที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน
ปีการศึกษา 2550
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม แบบประเมิน
ด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินด้านผลผลิตและแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมโครงการ
ส่งเสริมคุณภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี โดยความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ แผนงาน โครงการของโรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาด้านสุขภาพ และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
2) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อปัจจัยนำเข้า โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง
ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน น่าสนใจสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อกระบวนการดำเนินงาน
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
ในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนที่มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการและความเหมาะสมของวิธีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
4) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อผลผลิตก่อนดำเนินงานตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ผู้ประเมิน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะและเพียงพอ มีการควบคุมป้องกันโรคให้กับนักเรียน และนักเรียนหลีกเลี่ยงการพนัน/เที่ยวกลางคืน
5) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อผลผลิตหลังดำเนินงานตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน กรรมการสถานศึกษามีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อพิจารณา
ในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนหลีกเลี่ยงสารเสพติด หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โรงเรียนมีการควบคุมป้องกันโรคให้กับนักเรียน และโรงเรียนมีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
6) เปรียบเทียบผลผลิตก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ผลการเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อด้านผลผลิตก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี จังหวัดนครราชสีมา โดยค่าเฉลี่ย
หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการทุกรายการ
7) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อความพึงพอใจการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ผู้ประเมินทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูและนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ ครูมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงาน นักเรียนมีการพัฒนาการเจริญเติบโตตามวัย รู้จักป้องกันและรักษาสุขภาพของตนเอง มีสุขนิสัยที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้