นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี
จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้ประเมิน นายประเสริฐ ศรีแสนปาง

บทคัดย่อ

การรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี
จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต เปรียบเทียบด้านผลผลิตก่อนและหลังการดำเนินโครงการ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงาน ตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 694 คนจากประชากร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 59 คน กำหนดนักเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ประชากรทั้งหมดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 31 ห้องเรียน ทำการสุ่ม
อย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก ห้องเรียนละ 10 คน ได้นักเรียน จำนวน 310 คน ผู้ปกครองได้มาจาก
การเจาะจงที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน
ปีการศึกษา 2550
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม แบบประเมิน
ด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินด้านผลผลิตและแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมโครงการ
ส่งเสริมคุณภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี โดยความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ แผนงาน โครงการของโรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาด้านสุขภาพ และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
2) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อปัจจัยนำเข้า โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง
ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน น่าสนใจสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู ที่มีต่อกระบวนการดำเนินงาน
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
ในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนที่มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการและความเหมาะสมของวิธีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
4) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อผลผลิตก่อนดำเนินงานตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ผู้ประเมิน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะและเพียงพอ มีการควบคุมป้องกันโรคให้กับนักเรียน และนักเรียนหลีกเลี่ยงการพนัน/เที่ยวกลางคืน
5) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อผลผลิตหลังดำเนินงานตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน กรรมการสถานศึกษามีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อพิจารณา
ในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนหลีกเลี่ยงสารเสพติด หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โรงเรียนมีการควบคุมป้องกันโรคให้กับนักเรียน และโรงเรียนมีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
6) เปรียบเทียบผลผลิตก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ผลการเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อด้านผลผลิตก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนมหิศราธิบดี จังหวัดนครราชสีมา โดยค่าเฉลี่ย
หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการทุกรายการ
7) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อความพึงพอใจการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่ม
ผู้ประเมินทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูและนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
เมื่อพิจารณาในข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ ครูมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงาน นักเรียนมีการพัฒนาการเจริญเติบโตตามวัย รู้จักป้องกันและรักษาสุขภาพของตนเอง มีสุขนิสัยที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้