นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์ by prasitporn 1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก
2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร
3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง 4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน ดาวนิวตรอน (Neutron star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมาก มีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยกฎของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน
5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก
6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซึ่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน
7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง
8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแ สงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า
9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย 10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์
11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต 12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร 13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต
14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน 15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน 16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี 17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์ 18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน 19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน
20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่ อ้างอิงจาก http://blog.school.net.th/blogs/prasitporn.php/2009/05/25/science

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“วรวัจน์” ชูแนวคิด 1 จังหวัด 1 เขตมัธยม 1 เขตประถม

“วรวัจน์” ชูแนวคิด 1 จังหวัด 1 เขตมัธยม 1 เขตประถม สั่ง สพฐ.ทบทวนการแบ่งเขตพื้นที่มัธยมและประถมใหม่ ชี้ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวขึ้น ระบุ การแบ่งที่ผ่านมาไม่เหมาะสม เพราะได้ดูแลขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ไม่เท่ากันส่งผลต่อการบริหาร นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาที่ผ่านมาที่แบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 42 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 175 เขต พบปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะ สพม.นั้น มีหลายเขตพื้นที่การศึกษาที่มีการบริหารจัดการบริหารจัดการคร่อมกันอยู่หลายเขต ทำให้จังหวัดเล็กหรือจังหวัดที่ไม่เป็นที่ตั้งของสำนักงานอาจจะถูกละเลย ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงมีแนวคิดว่าควรจะปรับปรุงการแบ่งเขตโดยเฉพาะ สพม.จากที่มี 42 เขต อาจจะปรับโดยให้ยึดเขตจังหวัด ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดูว่าจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเหล่านี้ และการทำงานเกิดความคล่องตัวได้ โดยให้ไปดูในเรื่องของการเพิ่มเขตหรือแบ่งเขตให้เหมาะสมที่สุด “เช่นเดียวกัน ในส่วนของ สพป.ก็ให้ไปดูว่าเขตพื้นที่ใดที่มีพื้นที่การดูแลที่กว้างใหญ่เกินไปจนเกิดความไม่เหมาะสม ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ทาง สพฐ.ก็สามารถเสนอขอปรับลดหรือเพิ่มเขตพื้นที่มาได้ ซึ่งที่ผ่านมา มีความพยายามจะให้ทบทวนเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด เช่น ใน 1 จังหวัด มี สพป.เขต 1-2 อาจจะให้เหลือเพียงเขตเดียว หรือในส่วน สพม.จากที่กำหนดว่า 2 จังหวัดถือเป็น 1 เขตพื้นที่ อาจจะปรับให้เป็น 1 จังหวัดต่อ 1 เขตพื้นที่เพื่อให้เกิดการกระจายของทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ” นายวรวัจน์ กล่าว เมื่อถามว่า โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือโรงเรียนขนาดเล็กจะเดินทางมา ติดต่อทางเขตพื้นที่ได้ลำบากมากขึ้นหรือไม่นั้น นายวรวัจน์ ชี้แจงว่า เนื่องจากขณะนี้การแบ่งเขตพื้นที่ฯยังไม่มีความเหมาะสมจนทำให้เกิดปัญหา เรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งคิดว่าเมื่อปรับโดยให้ยึดตามเขตจังหวัดน่าจะมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงเดิมทุกประการ เช่นเดียวกับจำนวนโรงเรียน จำนวนบุคลากรที่มีอยู่ในพื้นที่เดิมก็ไม่เปลี่ยน เพียงแต่ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อดูแลโรงเรียนที่ถูกทอดทิ้งได้อย่างทั่วถึง อ้่างอิงจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126932