นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แสดงความคิดเห็น แนะนำ เกี่ยวกับร่าง..พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ...

ขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ ร่าง..พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ... แสดงความคิดเห็น แนะนำ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว หากท่านต้องการแสดงความคิดเห็น แนะนำ กรุณาใช้บริการ “แสดงความคิดเห็น” ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔

ที่นี่เลยครับ
http://203.146.206.27/comment5408/comment5408_add.php

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ.เข้ารับตำแหน่ง

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ และนายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งพบผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
รมว.ศธ.ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การบริหารงานของ ศธ.ต่อจากนี้ จะเป็นรูปแบบของการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีงานทำ โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัด และการทำงานในหน่วยงานของ ศธ.จะต้องทำงานแบบบูรณาการ คือ ทั้งมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน. และโรงเรียนเอกชน จะต้องดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

- การบริหารงานแบบรายพื้นที่ จะทำให้ในหนึ่งจังหวัดมีมหาวิทยาลัยที่ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยวางแผน นำงานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้อาชีวศึกษา ทั้งในด้านการเกษตรที่จะต้องเพาะปลูกตามศักยภาพของจังหวัด เทคนิคการแปรรูปสินค้า การตลาดที่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในแต่ละจังหวัดของภูมิภาค จากนั้นมีการพัฒนาหลักสูตร และนำไปปรับพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาด้วย เมื่อดำเนินการดังนี้จะทำให้ผู้จบการศึกษามีแนวทางตั้งแต่ก่อนจบ จบมาแล้วมีงานทำ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ฝึกประสบการณ์อย่างแท้จริง และสำหรับผู้ที่มุ่งหวังจะเรียนวิชาการชั้นสูงในส่วนกลางนั้น ก็จะมีระบบคัดเลือกสอบกรองเพื่อเข้าเรียนตามสาขาวิชาที่ต้องการ ขณะนี้ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีในพื้นที่ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มุ่งเน้นการฝึกอาชีพมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการประกอบอาชีพระยะสั้น โดยจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) ให้เข้าไปดูแลในพื้นที่เพื่อซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร หากในพื้นที่ใดประสงค์จะให้ ศธ.ช่วยเหลือ ก็ขอให้แจ้งมา เพื่อ ศธ.จะลงไปช่วยเหลือดูแลได้ทันที

- การศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบของวัฒนธรรม ประเพณี และศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้รูปแบบการศึกษามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลให้คนในพื้นที่และจังหวัดตอบรับกับรูปแบบการศึกษาและมีส่วนร่วมมากขึ้น

- การใช้ Tablet เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนการสอน ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา และมัธยมศึกษา พิจารณาศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดว่า มีหลักสูตร เนื้อหาที่จะสอนให้คนมีงานทำได้อย่างไร จากนั้นจะประมวลผลการศึกษาเพื่อผลิตเนื้อหา (Content) โดยอาจจะดึงความรู้จากส่วนกลาง จากงานวิจัยต่างๆ มาใช้ด้วย และได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศึกษาคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ของ Tablet ที่จะให้นักเรียนใช้ พร้อมทั้งรายงานมายัง รมว.ศธ.อีกครั้งด้วย

- การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา จะจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้ดูแลในแต่ละพื้นที่มากกว่าการรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพราะพิจารณาเห็นว่าพื้นที่ควรจะมีอำนาจในการตัดสินใจและใช้ดุลยพินิจในการพัฒนาจังหวัดของตนเอง

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/aug/209.html

ประวัติและผลงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล


อ้างอิงจากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24566&Key=news_surapong

ประวัติและผลงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางบุญรื่น ศรีธเรศ


อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24565&Key=news_boonreon

ประวัติรมต.ศึกษาธิการคนใหม่

ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2502

ที่อยู่ติดต่อ 3/153 หรรษาเรสซิเด้นท์ ซ.มหาดเล็กหลวง 2
ถ.ราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

e-mail : woravat1@hotmail.com

ดาวน์โหลดไฟล์ภาพต้นฉบับของรัฐมนตรี

ประวัติการศึกษา ปริญญาโท : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ปริญญาตรี : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติการทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (9 ส.ค.2554 - ปัจจุบัน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (24 ก.ย.2551 - 19 ธ.ค.2551)

ประธานคณะอนุกรรมการธิการพิจารณางบประมาณด้านการฝึกอบรมสัมมนาประชาสัมพันธ์,
ค่าจ้างที่ปรึกษาการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ของสภาผู้แทนราษฎร

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม

เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

ผลงาน
ด้านการเมือง 24 พ.ย. 2539 - 27 มิ.ย. 2543 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

6 ม.ค. 2544 - 6 ม.ค. 2548 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

6 ก.พ. 2548 - 6 ก.พ. 2549 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

26 ม.ค. 2551 - 2554 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 1

ปัจจุบัน : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

เครื่องราช
อิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2551

อ้างอิงจากhttp://www.moe.go.th/websm/minister/woravat.htm

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่
ความหมาย
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

อ้างอิงจาก http://webserv.kmitl.ac.th/~s7035655/index4.html

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔

ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ที่ประชุมอนุมัติตั้งบุคคล ๙ ราย เป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง
การบรรจุบุคคลกลับเข้ารับราชการ
ที่ประชุมอนุมัติให้บรรจุ นายสุริยนต์ วะสมบัติ กลับเข้ารับราชการ จากการที่ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ วิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ โดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ค.ศ.และขั้นเงินเดือนเดิม

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ

ที่ประชุมอนุมัติให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค.(๒) ตามหลักสูตรที่กำหนด เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตที่ดำเนินการสอบแข่งขันในครั้งนี้ใช้ในการสอบ

การขยายเวลาการยื่นคำขอประเมินวิทยฐานะ

ที่ประชุมรับทราบมติของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นคำขอประเมินวิทยฐานะ จากเดิมที่กำหนดให้ส่วนราชการต่างๆ เสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ มีมติให้ส่วนราชการต่างๆ เสนอรายชื่อและเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/jul/204.html

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์ย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.

เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ โดยมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
จากการที่ ก.ค.ศ.ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. โดยเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายวิธีการและคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง สพฐ.ได้ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ในประเด็นต่างๆ คือ ๑) กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายระดับ สพฐ. เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายของผู้ขอย้ายที่จะไปดำรงตำแหน่งในกลุ่มสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ ๒) กำหนดความหมายของกลุ่มสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ โดยให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการประกาศรายชื่อสถานศึกษา ๓) กำหนดให้สามารถพิจารณาย้ายผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง ๓ กลุ่มได้ทั้งที่มีคำร้องขอย้ายและไม่ต้องมีคำร้องขอย้าย นั้น

ต่อมาได้มีการนำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาเสนอลงบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ.เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีผู้เห็นด้วยกับร่างฯ ดังกล่าวโดยไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ ๔๓.๑๖ และมีข้อเสนอแนะบางประการอีกร้อยละ ๕๖.๘๔ จากนั้นสำนักงาน ก.ค.ศ.จึงได้ดำเนินการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ตามความเห็นของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล พร้อมทั้งเสนอเข้าที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาในครั้งนี้

ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ เช่น ได้กำหนดขนาดสถานศึกษาเป็น ๔ ขนาด คือ ๑) ขนาดเล็ก นักเรียน ๔๙๙ คนลงมา ๒) ขนาดกลาง นักเรียน ๕๐๐-๑,๔๙๙ คน ๓) ขนาดใหญ่ นักเรียน ๑,๕๐๐-๒,๔๙๙ คน ๔) ขนาดใหญ่พิเศษ นักเรียน ๒,๕๐๐ คนขึ้นไป มีการจัดสถานศึกษาเป็น ๔ ประเภท คือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและสถานศึกษาคุณภาพพิเศษ (ซึ่งคาดว่าจะมีสถานศึกษาคุณภาพพิเศษในกรุงเทพฯ เพียง ๘ โรงเรียน และนำร่องในส่วนภูมิภาคๆ ละ ๑ โรงเรียนก่อนเท่านั้น เพื่อคุณภาพของสถานศึกษาอย่างแท้จริง)

ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. โดยในปี ๒๕๕๔ เห็นชอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกาศรายชื่อสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ และให้ สพฐ.ประกาศรายชื่อสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ และสถานศึกษาคุณภาพพิเศษ ภายในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ พร้อมทั้งเห็นชอบให้ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปี ๒๕๕๔ ในระหว่างวันที่ ๙-๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/jul/203.html