นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ”

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิบูลย์ แช่มชื่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายศักดา บูรณ์พงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” เมื่อค่ำวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่สนามหญ้าหน้า ศธ. รมว.ศธ.กล่าวว่า การพูดภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยในวันนี้ คงเป็นความรู้สึกใหม่ที่คนไทยจะต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในช่วงที่ผ่านมาแม้คนไทยจะได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ทำให้การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันลดน้อยลง ขณะนี้คนไทยอาจจะยังขาดการฝึกฝนให้พูดภาษาอังกฤษตั้งแต่ในวัยเรียน การกระตุ้นให้นักเรียนได้พูดภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่ง ศธ.มีความมุ่งหวังให้คนไทยเกิดความกล้าที่จะพูด ไม่จำเป็นต้องพูดด้วยสำเนียงอังกฤษ ขอให้พูดได้ และกล้าพูด ก็ถือเป็นความสำเร็จของโครงการแล้ว สำหรับ ศธ.ได้กำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษของ ศธ.ที่จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการทักทาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกผิด แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันพูด ที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่าการพูดภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมดา จากนั้นอาจจะมีการขยายเวลาของการพูด จาก ๑ วันต่อสัปดาห์ เป็น ๒ วัน หรืออาจจะเพิ่มชั่วโมงขึ้นเรื่อยๆ การกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษในโรงเรียน เป็นการพูดทักทาย เพื่อทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคย และเพื่อติดต่อสื่อสารในสังคมอาเซียนและประชาคมโลก โดย ศธ.จะให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดมุมภาษาอังกฤษ การประกวดพูดภาษาอังกฤษ การจัดค่ายภาษาอังกฤษ การจัดทำสื่อและเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น โดยจะจัดให้มีกิจกรรมทั้งภายในโรงเรียน การประกวดแข่งขันระหว่างโรงเรียน ระหว่างภาค และในระดับประเทศต่อไป สำหรับการพิจารณาไม่ได้ดูที่ความเก่ง แต่จะดูจากการฝึกฝนให้นักเรียนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ให้สามารถพูดได้ จนกระทั่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ทั้งโรงเรียนหรือไม่ โครงการ “พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” เป็นความร่วมมือระหว่าง ศธ. กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือด้านการสอนภาษาต่างประเทศ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติ สถาบันสอนภาษาต่างประเทศ (บริติช เคาน์ซิล และเอ ยู เอ) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕ เพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ผลิตและพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมบนฐานรากของความรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยใน ๕ ภูมิภาคของโลก การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซีย สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การรณรงค์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีคนพูดถึงกว่า ๑,๐๐๐ ล้านคน หรือ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก นอกจากนั้นภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียนอีกด้วย โดยโครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องทุกๆ ปี แต่จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งคนไทยทั้งประเทศสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เป็นภาษาที่สอง ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ด่วนที่สุดจากก.ค.ศ.ที่ ศธ๐๒๐๖.๖/ว๒๒ลว.๒๘ธันวาคม๒๕๕๔ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาฯรองผอ.และผอ.สถานศึกษา

ก.ค.ศ.มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชกดารครูและบุึคลากรทางการศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาใหม่ ตามหลักเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการเดิมจึงทำให้ยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงด้วย การเทียบประสบการณ์จึงเป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ศธ ๐๒๐๖.๓/ว๒๓ลว. ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ พอสรุปได้ดังนี้ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี(ปริญญาตรี) และ ๒ ปี(ปริญญาโท) ฯ อ.๑ ๖ ปี หรือ อ.๒ ระดับ ๖ ฯลฯ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผอ. ๑ ปี ฯลฯ อ่านเอกสารเพิ่มเติมที่ http://203.146.15.33/webtcs/files/v22-54.pdf

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และผู้บริหารระดับสูง ศธ. ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มประเทศทางเลือกใหม่อีก ๑๗ ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชิลี เม็กซิโก บราซิล เบลเยียม ฮังการี โปรตุเกส ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย และแอฟริกา ซึ่งจากเดิม ๑๘ ประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และไทย) ทำให้นักเรียนรุ่นที่ ๓ มีประเทศทางเลือกให้ไปเรียนทั้งหมด ๓๕ ประเทศ ที่เน้นใน ๕ กลุ่มสาขาวิชา คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ บริหารจัดการและวิชาชีพเฉพาะ โดยประเทศทางเลือกใหม่เป็นประเทศเป้าหมายที่จะเป็นคู่ค้าสำคัญกับไทยในอนาคต และยังเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยระดับโลก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถอบรมและให้ความรู้ตามความถนัดของแต่ละประเทศได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รมว.ศธ.เปิดเผยถึงปฏิทินการดำเนินงานโครงการฯ รุ่นที่ ๓ ด้วยว่า ได้กำหนดเปิดรับสมัครผู้ขอรับทุนและผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้ทุนส่วนตัว ในวันที่ ๙-๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ โดยผู้สมัครจะต้องมีคะแนนเฉลี่ย ๓.๐๐ ขึ้นไป สามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สถานศึกษาตั้งอยู่ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และกำหนดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งคณะกรรมการจัดทำข้อสอบจะกำหนดให้มีการทดสอบนักเรียนในทุกด้าน จากนั้นคาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนของอำเภอ/เขต และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ภายในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/dec/347.html

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2555

ดร.องค์กร อมรสิรินันท์ กล่าวว่า จากการจัดการประกวดคำขวัญวันครู พ.ศ. 2555 เพื่อเชิญชวนให้ประชาชน ครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน ส่งคำขวัญเข้าประกวดเพื่อร่วมกันเชิดชูเกียรติคุณครูและระลึกถึงพระคุณครู ขณะนี้ได้คำขวัญที่ชนะการประกวดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรางวัลชนะเลิศและกำหนดให้เป็นคำขวัญวันครู พ.ศ. 2555 ได้แก่ บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์"ภูมิพล" ของนางสาวขนิษฐา อุตรโส จังหวัดนครปฐม อ้างอิงจาก http://www.ksp.or.th/ksp2009/th/news/detail.php?NewsID=2660&Key=informationnews# ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/informationnews/files/2660-2454.pdf

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สวดมนต์ข้ามปี

กำลังจะก้าวขึ้นสู่ปีใหม่ 2555 อีกแล้ว หลายคนก็ถือเอาช่วงเวลาดี ๆ แบบนี้ ไปเข้าวัดเข้าวาทำบุญ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง และในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ หากใครเคยไปร่วมนับถอยหลังฉลองปีใหม่ตามสถานที่ต่าง ๆ ดูแล้ว ลองเปลี่ยนบรรยากาศใช้โอกาสปีใหม่นี้ไปร่วมกิจกรรม "สวดมนต์ข้ามปี" ดูกันสักทีดีไหมครับ เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ เป็นมงคล แล้วยังให้คุณประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านด้วยนะครับ สวดมนต์ข้ามปีดีอย่างไร สำหรับการสวดมนต์ข้ามปีนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ แถมยังให้คุณประโยชน์ต่อจิตใจ และสุขภาพอีกด้วย และนี่คือประโยชน์ของการสวดมนต์ข้ามปี 1.ช่วยให้จิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น 2.เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปลรู้ความหมายก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ ปัญญาความรู้ 3.เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน 4.เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร 5. สามารถไล่ความขี้เกียจได้ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น 6.เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการ ปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=golddiamond&month=24-12-2011&group=6&gblog=48

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่10/2554

เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครู ตามโครงการครูคืนถิ่น ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ หลักเกณฑ์ ๑. คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ได้กำหนดให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยต้องเป็นข้าราชการครูที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง คู่สมรส หรือบิดามารดาของตนเองเท่านั้น โดยต้องดำรงตำแหน่งสายงานการสอนในสถานศึกษาที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ดังกล่าว ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๒. เกณฑ์การพิจารณา ให้พิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ๑) ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาฯ ๒) ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ หรือวิชาเอกตามที่สถานศึกษาต้องการ ๓) เหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการ เช่น สพฐ.เป็นผู้กำหนดรายละเอียดองค์ประกอบในการพิจารณาตามเกณฑ์ข้อ ๑-๓ และจัดทำเป็นประกาศของส่วนราชการด้วย ๓. การพิจารณาการย้ายกลับภูมิลำเนา ให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญ โดยสถานศึกษาที่รับย้ายควรมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ทั้งนี้การคิดคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา ให้นำเกณฑ์การคิดคำนวณอัตรากำลังที่ ก.ค.กำหนดไว้เดิมมาใช้โดยอนุโลม หากสถานศึกษาใดมีอัตรากำลังครบตามเกณฑ์หรือเกินเกณฑ์ แต่ยังขาดอัตรากำลังในกลุ่มสาระการเรียนรู้/สาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอน ให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป วิธีการ ๑. การยื่นคำร้องขอย้าย ให้ยื่นที่สถานศึกษาภายในวันที่ ๑-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และให้สถานศึกษาส่งคำร้องขอย้ายดังกล่าวพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ๒. ให้ สพท.นำคำร้องขอย้าย พร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หากเห็นชอบให้ สพท.ส่งคำร้องพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ไปยัง สพฐ.เพื่อพิจารณาดำเนินการ ๓. ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด ตั้งคณะกรรมการ เพื่อกลั่นกรองการย้าย ๔. ให้คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย นำคำร้องขอย้ายของผู้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทุกราย มาพิจารณาตามองค์ประกอบ ๕. ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด ส่งผลการพิจารณากลั่นกรองการย้าย ไปยัง สพท.ที่คณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายเห็นสมควรให้ย้าย เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา ๖. ให้ สพท.นำคำร้องขอย้ายของผู้ที่ได้รับการพิจารณา จากคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย ไปขอความเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ สพท.ส่งคำร้องให้สถานศึกษา หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วมิได้รับความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ถือว่าคณะกรรมการสถานศึกษานั้นไม่ประสงค์จะให้ความเห็นประกอบการพิจารณาย้าย ๗. ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา นำความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายและความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาประกอบการพิจารณาย้าย โดยคำนึงถึงนโยบายของ ศธ.เป็นสำคัญ ๘. เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งแต่งตั้งข้าราชการครูผู้นั้น ทั้งนี้กรณีรับย้ายครูจากต่างเขตพื้นที่การศึกษา ให้ สพท.ที่รับย้ายประสานกับ สพท.ต้นสังกัดของผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งแต่งตั้ง และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว ๙. การแต่งตั้งครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด เสนอ ก.ค.ศ.พิจารณา ๑๐. เมื่อออกคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และ สพฐ. จำนวน ๒ ชุด ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง ทั้งนี้ เลขาธิการ กพฐ.กล่าวในที่ประชุมด้วยว่า ได้จัดทำปฏิทินการดำเนินงานในส่วนของ สพฐ.ดังนี้ ๑๗-๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ จะวิเคราะห์การย้ายในภาพรวมทั้งประเทศ ๑-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สพฐ.จะตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองระดับภูมิภาค ๗ คณะ แต่มาทำงานที่ส่วนกลาง และจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายส่วนกลางพิจารณาของ ๗ คณะอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะมีการย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษาด้วย ภายใน ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ สพฐ.จะสรุปผลกลั่นกรองการย้าย ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการต่อไป ภายใน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ สพฐ.จะประกาศผลการย้าย เพื่อให้ครูมีเวลาเตรียมตัวการย้ายก่อนเปิดภาคเรียน ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน ก.ค.ศ.ใหม่ ๒ ราย ที่ประชุมรับทราบผลการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. แทนตำแหน่งที่ว่างเดิมซึ่งเกษียณอายุราชการ จำนวน ๒ ราย คือ ๑) นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ซึ่งเป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ๒) นายอังกูล สมคะเนย์ ซึ่งเป็นผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบตั้งให้บุคคลทั้งสองราย เป็นอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา อนุมัติให้ ผอ.สพป. ๑๓ ราย รับเงินเดือน ค.ศ.๔ ที่ประชุมอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑๓ ราย รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ.๔ในอัตราเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่เดิม หากอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิมไม่มีกำหนดไว้ในอันดับ ค.ศ.๔ ให้ได้รับในอันดับใกล้เคียงที่สูงกว่า ทั้งนี้ไม่ก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ตามรายชื่อดังนี้ · นายนวรัตน์ ต่วนชะเอม ผอ.สพป.แพร่ เขต ๒ · นายบวร เทศารินทร์ ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต ๒ · นายนิคม เขียวฉ่ำ ผอ.สพป.พะเยา เขต ๒ · นายลั่นฤทธิ์ วิเศษศักดิ์ ผอ.สพป.อุดรธานี เขต ๔ · นายสุวรรณ นรพักตร์ ผอ.สพป.ลำปาง เขต ๓ · นายเสนอ ทองจีน ผอ.สพป.สกลนคร เขต ๓ · นายสมบูรณ์ เชื้อตระกูล ผอ.สพป.สุรินทร์ เขต ๒ · นางเยาวลักษณ์ คงพูล ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต ๓ · นายชนาธิป สำเริง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๗ · นายศักดา จันทร์ฝอย ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๓ · นายไพบูลย์ ศรีสุธรรม ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต ๔ · นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ · นายวิชัย พวงภาคีศิริ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๒ n อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑๙ เขตพื้นที่การศึกษา · นายวีระชัย ศรีเมือง สพป.สุรินทร์ เขต ๓ · นายโชติ บุยเรือง สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๒ · พ.ต.ท.เกษม วงศ์ทอง สพป.สระแก้ว เขต ๑ · นายณรงค์ วงษ์รัตนะ สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๓ · นายพินิจ จันทร์กระจ่าง สพป.พิษณุโลก เขต ๒ · นายวิรัช พฤฑฒิกุล สพป.กาญจนบุรี เขต ๔ · นายเสถียร ศรีธรรมวงศ์ สพป.อุดรธานี เขต ๒ · นายจงกล ชมพันธุ์ สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒ · นายชูเวทย์ อิสระวิสุทธิ์ สพป.มหาสารคาม เขต ๒ · นายจำนงค์ เชาว์ชอบ สพป.หนองคาย เขต ๒ · นายสุรินทร์ สุวรรณรัตน์ สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๔ · นายบุญส่ง เนาวรัตน์ สพป.นครปฐม เขต ๒ · นายบุญทวี วงศ์ฝั้น สพป.ลำพูน เขต ๒ · นายเกรียงศักดิ์ เศรษฐเมธีกุล สพป.ระยอง เขต ๒ · ว่าที่ ร.ต.ภักดี ชูหวาน สพม.เขต ๑๒ (นครศรีธรรมราชและพัทลุง) · นายอาวุธ วรรณชาติ สพม.เขต ๑๖ (สงขลาและสตูล) · นายอรรถสิทธิ์ ศรีเชียรสาย สพม.เขต ๑๙ (เลยและหนองบัวลำภู) · นางจุฑารัตน์ ดรศรีโยเพชร สพม.เขต ๒๖ (มหาสารคาม) · นายชูศักดิ์ หมั่นสระเกศ สพม.เขต ๓๑ (นครราชสีมา) อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา · สพป.ยะลา เขต ๓ - นายระเด่น สะมะแอ, นายวิเชียร เลี้ยงพันธุ์สกุล, นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายทวัฒน์ จุลเสวก · สพป.ปัตตานี เขต ๓ - นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายนิทัศน์ ภัทราธิกุล, นายอาหมัดบูรฮัน ติพอง, นายสุรศักดิ์ นิลจันทร์ · สพป.นราธิวาส เขต ๓ - นายดาโต๊ะสุธิพันธ์ ศรีริกานนท์, นายซอแล๊ะ โต๊ะเช็ง, นายสุกรี ยา, นายกอซี เนตรไมตรี · สพป.บึงกาฬ - นายปกครอง พงษ์ญาติ, นายอาทิตย์ ชัยมานันท์, นายบุญเลิศ สุวรรณไตร, นายโกวิท เชื้อเวียง n อนุมัติตั้งผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา · สพป.ยะลา เขต ๓ - นายวิชัย อรชร, นายชูกีพลี ตาเย๊ะ, นายจักรพงศ์ ถีราวุฒิ · สพป.ปัตตานี เขต ๓ - นายเจอะรอซารี ยูโซะ, นายสุกรี ดะมุ, นางนันทิยา การาแม · สพป.นราธิวาส เขต ๓ - นายสะอารี ดอเลาะตาเฮ, นายรำรี สะมารา, นายนัฎพงศ์ แก่นบุญ · สพป.บึงกาฬ - นายกันหา สุวรรณวงศ์, นายวีระ กองบุตร, นายสุริยงค์ พิมวรรณ · สพป.ชลบุรี เขต ๒ - นายประสงค์ ชูสกุลเกรียง · สพป.ราชบุรี เขต ๒ - นางสุดใจ ศรีสมพงษ์ · สพป.ลำปาง เขต ๓ -นายนคร แก้วจันทร์หล้า · สพป.ตาก เขต ๒ - นายวรรณชัย เหล่าทรัพย์, นายวัลลภ โสประดิษฐ์ · สพป.พิจิตร เขต ๑ - นายไพบูลย์ อยู่สุข · สพป.หนองคาย เขต ๒ - นายสุรชัย ทินกระโทก · สพป.อุตรดิตถ์ เขต ๑ - นายจักรา วาทหงษ์ · สพป.สระบุรี เขต ๑ - นายเรวัฒน์ แจ่มจบ · สพม.เขต ๓๔ (เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน) - นายพิชิตพล สุทธิสานนท์ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/dec/342.html

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2555

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2555 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 ม.ค.55 ว่า "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี" นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการจะสื่อสารให้เด็ก ๆ รู้จักรักสามัคคี ต้องใฝ่หาความรู้ ร่วมทั้งหาความสมดุลระหว่างความเป็นไทยและเทคโนโลยีด้วย พร้อมกับบอกให้คนไทยทุกคนทราบว่า อยากเห็นรอยยิ้มของคนไทย ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้ พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี พ.ศ.2553 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม พ.ศ.2554 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ พ.ศ.2555 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี" ขอบคุณข้อมูล อ้างอิงจากhttp://hilight.kapook.com/view/17298 ภาพประกอบจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เงินเดือนตันทะลุแท่งได้

ตามที่ ก.ค.ศ.ได้ออกกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 ส่งผลให้ข้าราชการครูฯ ที่เงินเดือนเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 สามารถข้ามไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ได้ เพียงแต่ยังคงได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเหมือนเดิม นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่มีความชัดเจน ว่า กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 หรือไม่ ทำให้ผู้ที่เงินเดือนเพิ่งจะเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 และ 1 ตุลาคม 2554 ไม่ได้รับเงินเดือนทะลุไปรับในแท่งอันดับ คศ.4 ในขณะที่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนทะลุแท่งไปก่อนหน้านี้ยังคงได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ต่อไป เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เว็บครูไทย ได้รับฟังข้อมูลจาก ท่านสนอง ชาระมาตย์ ผู้แทนครูใน ก.ค.ศ. ได้พูดไว้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ที่จังหวัดสกลนคร เกี่ยวกับเงินเดือนเต็มขั้นทะลุแท่งได้ ว่า กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่ต้องรอเข้า ครม.ก่อน เมื่อผ่าน ครม.แล้ว จะทำให้ข้าราชการครูฯ ที่เงินเดือนเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 สามารถทะลุแท่งไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ได้ แต่ยังคงได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเหมือนเดิม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำลังเร่งดำเนินการนำเข้า ครม.อยู่ ขอให้อดใจรอ อ้างอิงจาก http://webboard.kruthai.info/index.php/topic,971.0.html

สพม.31 แนะนำผู้บริหารสถานศึกษาที่ย้ายเข้ามาใหม่ จำนวน 8 ราย

แนะนำผู้บริหารสถานศึกษาที่ย้ายเข้ามาใหม่ จำนวน 8 ราย ดังนี้ 1.นายวินัย วิริยะประทีป ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองกราดวัฒนา 2. นายพงษ์มิตร สิทธินอก ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบัวละครวิทยา 3.นายไกรศร ทองมูลชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบึงพะไล 4.นางมะลิวัน ศรีโคตร ผู้อำนวยการโรงเรียนแก้งสนามนางพิทยาคม 5.นายสุพล จอกทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนมิตรภาพวิทยา 6.นายบันเทิง ทรงประโคน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพาลัย 7.นายธนวัฒน์ สุขเกษม ผู้อำนวยการโรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม 8.นายนิสิทธิ์ ส่งสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม
ยินดีกับทุกท่านที่จะร่วมกันพัฒนาการศึกษาของสพม.31ครับ ขอขอบคุณภาพจากสพม.31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1544:2011-12-08-17-23-10&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผอ.สพม.31ได้รับคัดเลือกเป็น " พ่อตัวอย่างแห่งชาติ " ประจำปี 2554

ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 ได้รับการคัดเลือกเป็น " พ่อตัวอย่างแห่งชาติ " ประจำปี 2554 โดยได้เข้ารับเกียรติบัตรจากผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เวลา 14.00 น. ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2554 ครั้งที่ 32 ซึ่งสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งเพื่อเทิดทูนพระคุณและยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม ตลอดจนให้ลูกได้แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ สำหรับปีนี้ มีพ่อจากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหมด จำนวน 346 คน ประกอบด้วยพ่อจากส่วนกลางซึ่งคณะกรรมการจัดงานเป็นผู้เสนอชื่อ จำนวน 165 คน พ่อตัวอย่างจากแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 37 คน และ พ่อตัวอย่างจากส่วนภูมิภาค จำนวน 144 คน ในการนี้ มี ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 รวมอยู่ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากสพม.31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1528:31-q--q--2554&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ร.ร.กวดวิชาสะพัด3หมื่นล้าน โตพรวด200% แห่เรียนพิเศษ7-8วิชา/คน อึ้ง! ฮิตเรียน"ภาษาไทย"

ร.ร.กวดวิชาสะพัด3หมื่นล้าน โตพรวด200% แห่เรียนพิเศษ7-8วิชา/คน อึ้ง! ฮิตเรียน"ภาษาไทย" ยอด ร.ร.กวดวิชาโต 200% เงินสะพัด 3 หมื่นล้าน/ปี เผยเทรนด์ใหม่แห่กวด′ภาษาต่างประเทศ′ พ่อแม่ลงทุนควักกระเป๋า 2-5 หมื่นบาท/เทอม เตรียมพร้อมลูกสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสองภาษา ปธ.สวนดุสิตโพลชี้′ภาษาไทย′วิชาม้ามืดที่นักศึกษาฮิตเรียน หลังข้อสอบมหา′′ลัยเน้นวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า สวนดุสิตโพลกำลังเก็บข้อมูลสำรวจทิศทางและแนวโน้มอนาคตของตลาดกวดวิชา โดยเก็บข้อมูลจากสถาบันกวดวิชาทั่วประเทศ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า การกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 อยู่ในระดับที่สูงเท่าเดิม จากการสอบถามพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้กวดวิชาเพราะอยากเพิ่มเติมความรู้ในส่วนที่ขาด แต่กวดวิชาเพราะอยากเข้าเรียนในคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเท่านั้น หากนักเรียนเน้นกวดวิชาเพื่อเป้าหมายดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดปัญหาการออกกลางคันในอนาคต "นอกจากนี้ ยังสำรวจการกวดวิชาของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีวิชาม้ามืดที่นิสิต นักศึกษานิยมเรียนรองจากวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ คือ วิชาภาษาไทย เพราะขณะนี้รูปแบบข้อสอบเปลี่ยนไปจากการท่องจำ เป็นเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์มากขึ้น จึงทำให้นักศึกษาตื่นตัว จากเดิมที่วางใจและคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของภาษา" นายสุขุมกล่าว นายสุขุมกล่าวว่า ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ยังพบมิติใหม่ในวงการกวดวิชา เมื่อผู้ปกครองนิยมส่งลูกเข้าเรียนกวดวิชาภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนสองภาษา หรือ Bi-lingual หรือโรงเรียนที่จะพัฒนาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยผู้ปกครองจะเริ่มส่งลูกเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเสียค่าใช้จ่ายภาคเรียนละ 20,000-50,000 บาท "ผู้ปกครองที่อยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จะนิยมส่งลูกไปเรียนกวดวิชาดังกล่าวมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา เป็นต้น ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ส่วนภาคกลางจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ลูกสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าวได้ เพราะส่วนใหญ่จะสอนเป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้ง ผู้ปกครองยังต้องการให้ลูกมีความสามารถด้านภาษาโดยที่ไม่ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ เพื่อเรียนในโรงเรียนนานาชาติ" นายสุขุมกล่าว นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ช่องทางการเข้ามหาวิทยาลัยทำให้เด็กต้องสอบมากขึ้น ทั้งรับตรงผ่านโควตาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ระบบบริหารจัดการระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ นอกจากนี้ยังมีการให้ค่าน้ำหนักคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร หรือ GPAX มาเป็นองค์ประกอบในการแอดมิสชั่นส์ ดังนั้น นักเรียนจึงต้องมุ่งเรียนพิเศษทุกวิชา โดยขณะนี้พบว่า โรงเรียนกวดวิชาเจริญเติบโตจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วถึง 200% มีเงินหมุนเวียนในกลุ่มโรงเรียนกวดวิชาสูงประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยเฉลี่ยขณะนี้ นักเรียนเรียนพิเศษคนละ 7-8 วิชา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำให้นักเรียนสอบมากขึ้น "ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องกลับมาคิดว่า การให้เด็กสอบมากๆ มีผลดีต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่ และระบบการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยจะมีการปรับระบบย่อยทุกปี และในทุก 3 ปี จะปรับองค์ประกอบครั้งใหญ่อีก ทำให้ผู้ปกครองและเด็กเกิดความสับสน ถ้าจะแก้ปัญหานี้คงต้องแก้ที่ระบบแอดมิสชั่นส์ โดยทำให้ระบบนิ่งและต้องเพิ่มช่องทางการเข้ามหาวิทยาลัยช่องทางอื่น เช่น ใช้คะแนนกิจกรรม คะแนนความดี หรืออื่นๆ ให้มากขึ้น ไม่ใช่ใช้เฉพาะคะแนนสอบอย่างเดียว" นายสมพงษ์กล่าว อ้างอิงจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313313048&grpid=01&catid&subcatid