นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปิดโครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีน ประจำปี พ.ศ.2555

นายสุชาติ ธาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในวันที่11 พ.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการ จะเปิดตัวโครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีน ประจำปี พ.ศ.2555 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทย – จีน เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ได้รับความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น และหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งอาสามัครจำนวน 1,200 คน มาช่วยสอนภาษาจีนให้นักเรียนไทยทุกสังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งจะจัดทำหนังสือสำหรับผู้เริ่มเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทำหลักสูตรภาษาจีน การให้ทุนการศึกษาภาษาจีนสำหรับครูไทย และการแลกเปลี่ยนเยาวชนไทย – จีน โดยนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าว อ้างอิงจาก http://www.enn.co.th/3029-%E0%B8%A8%E0%B8%98.%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.html

ผลการเสี่ยงทายวันพืชมงคล 2555

วันพืชมงคล ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ผลการเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง พระโคเสี่ยงทาย (พระโคฟ้า-พระโคใส) กินหญ้า พยากรณ์น้ำท่าบริบูรณ์พอควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี ผลการตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง) พระยาแรกนา หยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ วันพืชมงคล เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2555 วันพืชมงคล ตรงกับวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยในปี พ.ศ. 2554 พระโคเสี่ยงทาย (พระโคฟ้า-พระโคใส) กินหญ้า – เหล้า พยากรณ์น้ำท่าบริบูรณ์พอควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้ากับต่างประเทศดีขึ้น และ พระยาแรกนาเสี่ยงได้ผ้า 5 คืบ สองพระโคกินหญ้า-เหล้า โหรทำนายน้ำ-อาหารบริบูรณ์พอควร การค้าต่างประเทศดีขึ้น และในปี พ.ศ. 2555 วันพืชมงคล ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ผลการเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง พระโคเสี่ยงทาย (พระโคฟ้า-พระโคใส) กินหญ้า พยากรณ์น้ำท่าบริบูรณ์พอควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี ผลการตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง) พระยาแรกนา หยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ อ้างอิงจาก http://news.enterfarm.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-2555.html

ประกาศผลการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554

ประกาศผลการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554 บัดนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554 และส่งผลการคัดเลือกให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาตัดสินแล้วตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554 2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชมเชยในการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2554 อาศัยอ านาจตามความในข้อ 6 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 15 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย รางวัลพระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอประกาศ รายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจ าปีการศึกษา 2554 ดังต่อไปนี้ นักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2554 ระดับประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดที่ 11 เล็ก เด็กหญิงปริญญา ทองศรี โรงเรียนบ้านห้วยหุงเกลือ พระทองคำ นครราชสีมา สพฐ ใหญ่ เด็กหญิงปริยากร อาจกลาง โรงเรียนอนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย ห้วยแถลง นครราชสีมา สพฐ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เล็ก เด็กหญิงจรีรัตน์ โม้นอก โรงเรียนบ้านหนองแวง เทพารักษ์ นครราชสีมา สพฐ ใหญ่ เด็กหญิงทัตติยา วิษณุโยธิน โรงเรียนสุรนารีวิทยา เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา สพฐ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกลาง นายนพพล บาตรโพธิ์ โรงเรียนมหิศราธิบดี เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา สพฐ สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ก่อนประถมล็ก โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสวาย โนนไทย นครราชสีมา สพฐ. กลาง โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา สพฐ. ระดับประถมศึกษา ใหญ่ โรงเรียนเมืองนครราชสีมา เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา สพฐ. ระดับมัธยมศึกษา เล็ก โรงเรียนเรืองศรีวิทยา ปากช่อง นครราชสีมา สช.สป. ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ อ้างอิงจากและดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.obec.go.th/documents/19822 ยินดีกับนักเรียนและสถานศึกษาที่ประสบควสามสำเร็จในครั้งดี

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2555

“พืชมงคล” พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สร้างกำลังใจ เสริมความเชื่อมั่น ธำรงวิถีชีวิต “เกษตรกร” ผู้ผลิตอาหารหลักของโลก “ศรัทธา-ความเชื่อ เป็นพืชพันธุ์ข้าวปลูกของเรา ตบะ-ความเพียร เผาบาป เป็นเมล็ดฝน ปัญญา-ความรอบรู้เป็นแอกและไถ หิริ-ความละอายใจ เป็นงอนไถ เป็นเชือกถัก สติ-ความระลึกได้ เป็นผาลและปฏัก เราจะระวังกาย ระวังวาจา และสำรวม ระวังในอาหาร ทำความสัตย์ให้เป็นท่อไขน้ำ เป็นพาหนะนำไปสู่ที่อันเกษม จากเครื่องผูกพันที่ไปไม่กลับ ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถของเราเช่นนี้มีผลเป็นอมตะมิรู้ตาย บุคคลมาประกอบการไถเช่นว่านี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์สิ้นทุกประการ” เป็นคาถาภาษาบาลีพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ที่ได้ยกพระคาถาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงการทำนาของพระองค์แก่กสิภารทวาชพราหมณ์ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำอธิษฐานในประกาศพระราชพิธีพืชมงคล เพื่อสร้างสิริมงคลให้แก่การทำนา และให้พืชผลที่เพาะปลูกของประเทศไทยเกิดความเจริญงอกงาม อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ แก่เกษตรกร หรือชาวนา ผู้ที่มีอาชีพปลูกข้าว อาชีพที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ ในสังคมเกษตรกรรม ฉะนั้นเมื่อฤดูกาลเพาะปลูกข้าวเวียนมาถึง ประเทศไทยโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์จะให้ความสำคัญต่อช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และกำหนดให้จัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา พิธีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา จนเป็นประเพณีที่สำคัญและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แต่มีเหตุให้งดจัดงานระหว่าง ปี พ.ศ.2480-2502 เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในความไม่สงบ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ (รัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดเพิ่มขึ้น) และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ จึงมีชื่อเรียกรวมกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยพระราชพิธีพืชมงคลจะประกอบพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพิธีการทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน ฯลฯ เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ดังกล่าว ปลอดจากโรคภัย และให้เจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ดี สำหรับพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนา หว่านเมล็ดข้าว เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ถึงความมุ่งหมายที่เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้น ว่า“การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมที่มีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีทรงเลี้ยงตัวไหม ส่วนในประเทศสยามก็มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้อยู่เสมอไม่มีว่างเว้น ด้วยการที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมุ่งมั่นในการทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่น และความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายศุภชัย ปานพับทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะพระยาแรกนา พร้อมด้วยเทพีคู่หาบเงิน หาบทอง และข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมซ่อมใหญ่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2555 ณ บริเวณสนามหลวง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์ สำหรับเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวศิริลักษณ์ สมสกุล นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการกรมชลประทาน และนางสาวเจษฎาภรณ์ สถาปัตยานนท์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวสุมาลี จำเริญ นิติกรปฏิบัติการ กรมปศุสัตว์ และนางสาวสุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร คู่เคียงมีจำนวน 16 ราย และผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคฟ้า และพระโคใส พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเทิด และพระโคทูน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี เพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร ให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลทำนา พระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้ เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตรเทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติในกระทรวงเกษตร ในปีต่อมาจนถึงปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนาได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับ ๓ – ๔ คือชั้นโทขึ้นไป
พระราชพิธีพืชมงคล ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าหน้าที่เชิญพระปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันพระพุทธคันธารราษฎร์ของรัชกาลที่ ๑ พระพุทธรูปปางสมาธิทรงภาวนาให้ต้นข้าวเกิดงอกงามรอบพุทธบัลลังก์ รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ พระคันธารราษฎร์ขอฝนแบบจีน พระบัวเข็ม เทวรูปพระพลเทพ พระโคอุศุภราช ตั้งบนม้าหมู่ในธรรมาสน์ศิลาหน้าฐานชุกชีพุทธบัลลังก์บุษบก พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ใต้ธรรมาสน์ศิลาตั้งกระบุงทอง กระบุงเงินอย่างละคู่บรรจุข้าวเปลือกพันธุ์ดีที่เป็นของพระราชทานจากนาทดลอง และมีถุงบรรจุพันธุ์พืชต่าง ๆ คือ ผักกาดกวางตุ้งดอก ผักกาดหอม ข้าวโพดขาว ผักกาดขาวปลี แตงกวา พริกชี้ฟ้า แตงกวาผสม ละหุ่ง ผักกาดหัว บวบเหลี่ยม มะระจีน คะน้าใบ ผักกาดขาวกวางตุ้ง คะน้ายอด มะเขือเทศสีดา แตงร้าน แตงโม ฟักทอง พริกขี้หนู มันแกว แตงไทย ผักบุ้งจีน ผักกาดขาวใหญ่ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ตั้งโอ๋ น้ำเต้า ข้าวโพดเกษตร ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เมล็ดงา ผักปวยเล้ง กระเจี๊ยบ ขึ้นฉ่าย ชุนฉ่าย ฟักเขียว ผักกาดขาวปลี ผักชี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง แฟง ผักขมจีน เผือก มัน แล้ววงสายสิญจน์จากพระพุทธรูปสำคัญโยงไปถวายพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการพุ่มพานดอกไม้ธูปเทียนไว้พร้อม ก่อนเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระยาแรกนาแต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เทพีทั้ง ๔ แต่งกายชุดไหมไทยห่มสไบผ้าไหมประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุดธูปเทียนสักการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปนั่งเก้าอี้ที่เฝ้าฯ ตามลำดับ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวังเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงจุดเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ แล้วประทับพระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์กรมการศาสนาอาราธนาศีล พระราชคณะถวายศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศีล เมื่อทรงศีลแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปที่ธรรมาสน์ศิลาทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์และพระพุทธรูปสำคัญแล้วทรงประพรมพืชต่าง ๆ ทรงโปรยดอกไม้มีดอกมะลิและกลีบกุหลาบ แล้วถวายพวงมาลัยที่พระพุทธรูปทุกองค์โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนพระคันธารราษฎร์ ๒ คู่ และทรงจุดเทียนที่พระคันธารราษฎร์จีนอีก ๑ เล่ม ทรงกราบอธิษฐานขอความสมบูรณ์แห่งพืชผลของราชอาณาจักรแล้วประทับพระราชอาสน์หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล เมื่อหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคลจบ พระสงฆ์ ๑๑ รูป มีพระราชาคณะวัดระฆัง-โฆษิตารามเป็นประธานสงฆ์ และพระเปรียญ ๙ ประโยคจากวัดต่างๆ อีก ๑๐ รูปรวมเป็น ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาพืชมงคล จบ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาแรกนา เข้าไปเฝ้าฯ คุกเข่าถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานรดที่ศีรษะทรงเจิมแป้งกระแจะที่หน้าผาก พระราชทานใบมะตูมทัดที่ซอกหูขวาและพระราชทานธำมรงค์นพเก้าสำหรับสวมที่มือขวา ๑ วง ที่มือซ้าย ๑ วงแล้ว พระราชทานพระแสงปฏักที่จะถือใช้วันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้วลุกขึ้นถวายคำนับ กลับไปนั่งเฝ้าฯ ที่เดิมต่อจากนี้ข้าราชการสตรีในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเทพี ๔ คน ถวายความเคารพ เดินเข้าไปหมอบเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานรดที่ศีรษะ ทรงเจิม พระราชทานใบมะตูมทัดที่ซอกหูขวาตามลำดับ ขณะที่พระยาแรกนาและเทพีรับพระราชทานน้ำสังข์นั้น พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาจนเสร็จการพระราชทานน้ำสังข์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมซึ่งบรรจุในถาดมีคนโทแก้วบรรจุน้ำฝนด้วย เป็นราชประเพณีที่จะต้องจัดภาชนะบรรจุน้ำฝนถวายพระสงฆ์เฉพาะงานพระราชพิธีมงคลตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก แล้วออกจากพระอุโบสถ เมื่อพระสงฆ์ออกจากพระอุโบสถแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ รงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินกลับ หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินกลับแล้ว คณะพราหมณ์เชิญเทวรูปสำคัญที่ตั้งในมณฑลพิธี คือ พระพลเทพ พระโคอุศุภราช ไปเข้าเบญจาพิธีมณฑล ณ โรงพิธีพราหมณ์ที่ท้องสนามหลวงที่แท่นมลฑลพิธีนี้ พราหมณ์ได้เชิญเทวรูปสำคัญจากเทวสถานเสาชิงช้ามาตั้งเข้าพิธีคือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระอุมา พระพรหม และพระพิฆเนศวร์ พร้อมด้วยกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกที่ได้เข้าพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามรวมทั้งพืชพันธุ์ต่าง ๆ และเครื่องพิธีตามลัทธิธรรมเนียมของพราหมณ์ คณะพราหมณ์ประกอบพิธีกรรมสวดบูชาพระเวทย์ตลอดคืน วันนี้แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เวลาประมาณ ๖ นาฬิกา พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีแต่งกายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระยาแรกนาสวมสนับเพลาปลายขอบปักดิ้นทอง ถุงเท้าขาว รองเท้าหุ้มส้นสีดำไม่ผูกเชือกมีกรอบทำด้วยโลหะสีทองติดคล้ายโบ นุ่งผ้าเยียรบับชายพกพับจีบ ไม่จีบโจง ใช้เชือกสายแถบรัดเอวสวมเสื้อเยียรบับพื้นเขียวลายทองแขนยาวแบบราชการ กระดุม ๕ เม็ด สวมสายสะพายและประดับราชอิศริยาภรณ์คาดเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองรัดเอวนอกเสื้อ สวมเสื้อครุยผ้าโปร่งปักดิ้นทองแล้วกลัดดวงตราปักอักษรย่อ จจจ. เครื่องราช-อิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ส่วนเทพีนุ่งจีบหน้านางผ้าเยียรบับหรือผ้าไหมไทยทอยกดอกลายสีทองพื้นสีตามความเหมาะสม สวมเสื้อไหมไทยรัดรูปแขนยาวคาดเข็มขัดทำด้วยโลหะเป็นเกลียวเกี่ยวขัดสีทอง ห่มผ้าสไบปักทองแล่ง ประดับอาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน สวมถุงเท้าสีเนื้อ รองเท้าหนังหุ้มส้นสีทองปลายงอน เสร็จแล้วพระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงออกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เทพีและข้าราชการ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศประดับราชอิสริยาภรณ์) เชิญเครื่องยศขึ้นรถตามเป็นกระบวน เมื่อเข้าสู่พระอุโบสถแล้วพระยาแรกนาและเทพีจุดธูปเทียนถวายนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปที่ปราสาทพระเทพบิดรถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชแล้วไปขึ้นรถยนต์หลวง เป็นกระบวนออกจากจัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังท้องสนามหลวง เวลา ๗ นาฬิกา เจ้าพนักงานจัดตั้งริ้วกระบวนอิสริยยศตามประเพณีโบราณรับพระยาแรกนา พระยาแรกนาลงจากรถยนต์หลวงแล้วสวมลอมพอกเดินเข้าประจำที่ในกระบวนพร้อมด้วยคู่เคียง ๒ ข้าง ๆ ละ ๘ นาย ผู้เชิญเครื่องยศและเทพีจัดเป็นรูปกระบวนยาตราไปยังโรงพิธีพราหมณ์ ประโคมกลองชนะ สังข์ แตร ตลอดทาง พระโคเสี่ยงทายมี 7 สิ่ง ถ้าพระโคกินสิ่งใดจะมีคำทำนายตามนั้น - ถ้าพระโคกินข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี - ถ้ากินถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี - ถ้ากินน้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า จะสมบูรณ์พร้อม - ถ้าพระโคกินเหล้าพยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวก การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง ผ้านุ่งเสี่ยงทายมี ๓ ผืน ขนาดกว้าง ๔ คืบ ๕ คืบ ๖ คืบ มีคำพยากรณ์ ดังนี้ - ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ - ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลสมบูรณ์และผลาหาร สังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ - ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่ในที่ดอนอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ อ้างอิงจาก 1.http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?qID=&wi=&hnl=&ob=&asc=&q=%C7%D1%B9%BE%D7%AA%C1%A7%A4%C5&select=2 2.http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=120490:-2555-&catid=143:2011-01-26-05-35-57&Itemid=597 3.http://www.banmuang.co.th/2012/05/%E2%80%9C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E2%80%9D%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4-2/ ขอบคุณรูปภาพจากhttp://xn--42cfi3dzat4aj4gwc.sabuyblog.com/%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-2555/

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โอเน็ตไม่ถึง 50 % อดต่อ ม. 4 ที่เก่า

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.3 ของโรงเรียนดังแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เกรดเฉลี่ย 3.70 แต่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อชั้น ม. 4 โรงเรียนเดิมได้ ว่า ต้องเข้าใจว่าโรงเรียนดังมีที่นั่งเรียนและมีแผนการรับ ชั้น ม.4 จำนวนจำกัด ซึ่งทุกปีก็จะเกิดปัญหานักเรียน ที่จบชั้น ม.3 มีจำนวนมากเกินกว่าแผนรับชั้น ม.4 เพราะโรงเรียนที่เปิดสอน ทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลาย ต้องรับนักเรียนจาก 2 ส่วน คือ รับนักเรียนเดิมไม่เกิน 80% และ นักเรียนทั่วไป 20% อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า หากเด็กจบ ม.3 เกินกว่าแผนการรับก็ให้พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยสะสม หรือ จีพีเอ โดยไล่ตามคะแนนตั้งแต่เกรดเฉลี่ย 4.00 ลงไป ส่วนนักเรียนชั้น ม.3 ที่ได้คะแนนเฉลี่ย 3 กว่าไม่สามารถเรียนต่อชั้น ม.4 ได้เนื่องจากทำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ได้ไม่ถึง 50 % นั้น เป็นสิทธิของโรงเรียนที่ไปกำหนดหลักเกณฑ์เอง ซึ่งสามารถทำได้ แต่โรงเรียนต้องประกาศหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ให้นักเรียนและผู้ปกครองรับทราบก่อน ดร.พชรพงศ์ ตรีเทพา ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง กล่าวว่า โรงเรียนหอวังมีนักเรียนชั้น ม.3 ทั้งหมด 637 คน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ ศธ.ให้ใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อ ชั้น ม.4 ทางโรงเรียนจึงใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเด็กเก่าเข้าเรียน โดยเด็กต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระ หรือ จีพีเอ 2.50 ขึ้นไป โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย และต้องทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ต่ำกว่า 50% ซึ่งจากการสอบโอเน็ตที่ผ่านมามีเด็กหอวังทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ต่ำกว่า 50 % ประมาณ 500 กว่าคน และได้คัดเลือกนักเรียนเก่าไว้ 417 คน ทั้งนี้ ในการประชุมผู้ปกครองเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมาโรงเรียนก็ได้ประกาศหลักเกณฑ์ให้ผู้ปกครองได้รับทราบแล้ว แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่ยอมมาประชุมจึงอาจจะไม่ทราบเรื่อง ส่วนที่นักเรียนบางคนมีคะแนนจีพีเอถึง 3.97 แต่ทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ถึง 50 % นั้น อาจจะเป็นเพราะเด็กไม่ตั้งใจสอบโอเน็ต อย่างไรก็ตามตนพร้อมให้ตรวจสอบหลักฐานทุกอย่าง ด้าน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ความผิดพลาดไม่ได้เกิดขึ้นที่ตัวนักเรียน และแม้ว่าปีการศึกษานี้ จะเป็นปีแรกที่ประกาศให้ใช้คะแนนโอเน็ต แต่ก็สามารถยืดหยุ่นได้. อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=799

สพม.31 จัดประชุมโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ( PISA )

สพม.31 จัดประชุมโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ( PISA ) นางอ่องจิต เมธยะประภาส ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดประชุม โครงการความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และ สสวท. ในการประชุมผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ PISA ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 เป็นผู้กล่าวรายงาน โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ( Programme for International Student Assessment ) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบว่าเยาวชนวัยจบการศึกษาภาคบังคับ หรือวัยอายุ 15 ปี มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิต อันเนื่องมาจากการสะสมสาระความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน อีกทั้งโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเรียนรู้จึงมีแนวความคิดกว้างขวางขึ้น การประเมินมุ่งการประเมินสมรรถนะนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการประเมินความรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยมีการประเมินต่อเนื่องทุก ๆ 3 ปี แต่ละครั้งจะประเมินครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ PISA มาแล้ว 4 ครั้ง คือเมื่อปี พ.ศ. 2543 ,2546 , 2549, 2552 สำหรับปี พ.ศ. 2555 เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งจะมีการประเมินผล PISA ในเดือนสิงหาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นความสำคัญและถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่โรงเรียนในสังกัดจะต้องเห็นความสำคัญและรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการสอบ PISA และเข้าสู่การประเมินผล PISA ด้วยความมั่นใจ สพฐ.จึงได้มอบหมายให้ สพม.31 จัดประชุมในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการสอบ PISA รวมทั้งมีความตระหนักและเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาครูให้เข้าใจข้อสอบตามแนว PISA สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนได้ ตลอดจนกระตุ้นให้ครูสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีสมรรถนะการอ่านที่สูงขึ้น มีกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จากเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์ และ สุรินทร์ จำนวน 700 คน อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2165:31-pisa-&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มที่ 1 กลุ่มทั่วไป และกลุ่มที่ 2 กลุ่มประสบการณ์

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มที่ 1 กลุ่มทั่วไป และกลุ่มที่ 2 กลุ่มประสบการณ์ ประกาศรับสมัครสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา รายละเอียดอ้างอิงจาก http://www.obec.go.th/documents/19544