นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" Inclusive Education, Inclusive Thailand เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ตึกสันติไมตรี จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นวันสำคัญที่จะได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์อันแน่วแน่ เพราะนอกจากประเทศไทยจะเดินหน้าตามปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงประชาทั้งมวล (Education for All) และให้ความสำคัญกับปวงประชาทั้งมวลเพื่อการศึกษา (All for Education) แล้ว ยังมีความเชื่อมั่นว่าถ้าทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทุกองค์กร ร่วมกันพัฒนาสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล เด็กและประชาชนทุกคนในประเทศไทย จะได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง การศึกษาเพื่อปวงประชาทั้งมวล เป็นข้อตกลงของประเทศสมาชิกองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งได้ริเริ่มในประเทศไทย ณ หาดจอมเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยทุกประเทศมีความเห็นพ้องกันว่าการศึกษาเป็นสิทธิ์อันพึงมีของประชาคมโลก เพราะการศึกษาจะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนและสังคมโลกอย่างเข้มแข็ง โดยประเทศสมาชิกต้องถือว่าเป็นภารกิจของรัฐบาลต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จภายในปี ๒๕๕๘ นโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และการดำเนินการตามปฏิญญาดังกล่าว รวมทั้งยังมีเจตนารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยมุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คนทั้งมวลเพื่อการศึกษาและพัฒนาทั้งวงจร ดังจะเห็นได้จากนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ที่ได้กล่าวถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษา รัฐบาลยังได้ประกาศเพื่อเน้นย้ำอย่างชัดเจนอีกครั้งเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ ว่ารัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นในด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ ที่เพียงพอ เพื่อดำเนินตามนโยบายการศึกษาที่ครอบคลุม และประกันโอกาสอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มุ่งพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านตามวัย สร้างความเชื่อมั่นและมั่นคงในชีวิตให้เด็กทุกคนนับตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงการพัฒนาชีวิตแห่งการเรียนรู้ไปสู่พลังเด็กและเยาวชน ผู้สร้างอนาคตและสังคมไทย นโยบายของรัฐบาลจะช่วยแก้ไขปัญหาปัจจุบันที่เด็กไทยยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาประมาณ ๓ ล้านคน หรือ ๑ ใน ๕ ของประชากรเด็ก เยาวชนไทยทั้งระบบ เด็กเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาความยากจน ถูกบังคับใช้แรงงาน อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ไร้สัญชาติ ถูกดำเนินคดีในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมทั้งพิการ และมีความบกพร่องในการเรียนรู้จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญ คือ การดูแล และพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่รากฐาน โดยผลการศึกษาวิจัยทั้งในระดับสากล และในประเทศ พบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ปฐมวัย จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เด็กที่ได้รับอาหาร ดูแลสุขภาพที่ดี ในช่วงแรกของชีวิต จะมีทักษะทางกายภาพ และสติปัญญาที่ดีกว่า มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษาที่สูงกว่า สามารถลดโอกาสการซ้ำชั้นหรือการออกกลางคัน และเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ จึงเป็นการพัฒนาคนที่ยั่งยืน คุ้มค่า และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว รมว.ศธ.ได้กล่าวขอบคุณ UNICEF ที่ได้ร่วมส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาเด็กและเยาวชนตลอด ๕๐ ปีที่ผ่านมา ขอขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย สกศ.ที่ได้วิจัยพบว่า การช่วยเร่งรัดพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ด้อยโอกาส จะช่วยให้เด็กเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ทันเด็กส่วนใหญ่ เพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นปัญหารากฐาน คณะทำงานส่งเสริมสังคมการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ที่ริเริ่มนวัตกรรมครูเด็กรายกรณี มีแนวทาง ผู้ใกล้ชิด และชุมชนที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและดูแลเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ที่จะกลายเป็นกลุ่มด้อยโอกาสตั้งแต่เยาว์วัย ขอบคุณตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับเยาวชนที่มาร่วมในงานวันนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่ารัฐบาลและผู้ใหญ่ทุกคน ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการศึกษาเพื่อปวงชน และปวงประชาทั้งมวลเพื่อการศึกษา ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริง ประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" Inclusive Education, Inclusive Thailand รั ฐ บ า ล จ ะ ดำ เ นิ น ก า ร ใ น เ รื่ อ ง ดั ง ต่ อ ไ ป นี้ ๑. เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย จะได้รับการดูแลอย่างดี ทั้งอาหารและการเลี้ยงดูครอบครัว จนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึง ๒ ปี ๒. เด็กแรกเกิดจนถึง ๕ ปี ต้องได้รับโอกาสเข้าศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาขั้นปฐมวัยที่มีคุณภาพ ด้วยงบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ๓. เด็กทุกคนที่อยู่ในวัยชั้นประถม สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพทุกแห่งและได้รับอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัยอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและภาคเอกชนทั่วกัน อ้่างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/mar/084.html

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

การทำข้อตกลงโรงเรียนมหิศราธิบดีกับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา

การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง โรงเรียนมหิศราธิบดี กับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น.

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศธ.เตรียมจัดงานอนาคตการศึกษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมจัดงาน "อนาคตการศึกษาไทย" (Future of Thai Education) ระหว่างวันที่ ๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อแสดงความก้าวหน้าอนาคตทางการศึกษาของไทย ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงรายละเอียดการจัดงานดังกล่าว โดยมีรายละเอียดเนื้อหาการจัดนิทรรศการความก้าวหน้าอนาคตการศึกษาไทย ใน ๑๑ หัวข้อ ดังนี้๑) คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต จะแสดงถึงนโยบายและการบริหารจัดการที่จะแจกให้นักเรียน ป.๑ และ ม.๑ ทุกคน โดยส่วนหนึ่งจะรับบริจาคจากภาคเอกชน รวมทั้งการบรรจุ e-Content ที่ทันสมัยลงในแท็บเล็ต ไม่ใช่เป็นไฟล์ PDF หรือเป็นเพียงสื่อหน้ากระดาษแบนๆ ๒) หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน โดยเฉพาะรุ่นที่ ๓ ที่จะมีการให้ความรู้ต่างๆ ก่อนที่จะคัดเลือกนักเรียนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ๓๕ ประเทศ จำนวน ๙๒๘ ทุน และทุนส่วนตัว ๔๖๔ คน ๓) กองทุนตั้งตัวได้ จะแสดงถึงนโยบายและขั้นตอนการดำเนินงาน จำนวนนักศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไปแล้ว รวมทั้งกลุ่มอาชีพหรือสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศที่รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนเป็นเงินทุนสำหรับนักศึกษาที่ต้องการสร้างธุรกิจส่วนตัว ๔) ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก จะเน้นถึงการเปิดเสรีบริการทางการศึกษา บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศด้านการศึกษา และบทบาทของโรงเรียนเอกชนนานาชาติ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ ๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ๕) การปฏิรูปครู ที่ได้ดำเนินการในการสร้างขวัญกำลังใจครู วิทยฐานะครู ใบประกอบวิชาชีพครู ก.พ.๗ แบบใหม่ การแก้ปัญหาหนี้สินครู ความก้าวหน้าครูคืนถิ่น ครูคลังสมอง ครูพันธุ์ใหม่ การปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพครู ๖) ยกระดับการศึกษาของประชาชนให้จบ ม.๖ ซึ่งจะเสนอถึงแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบ เพื่อต้องการให้ประชาชนอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป สามารถเทียบโอนความรู้ประสบการณ์อาชีพให้สามารถจบ ม.๖ อย่างมีคุณภาพได้ภายใน ๘ เดือน ๗) คุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของ ศธ.ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน ทั้งโรงเรียนคุณภาพต้นแบบ และการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดกลุ่มสถานศึกษา การสอนวิทย์/คณิต/เทคโนโลยี การสอบ O-Net การส่งเสริมการอ่าน ปฏิรูปหลักสูตร การเทียบโอนวุฒิการศึกษา เป็นต้น ๘) โทรทัศน์และสื่อเพื่อการศึกษา แสดงถึงเทคโนโลยีความก้าวหน้าในการดำเนินงานของ ETV, Teachers Channel และ R-radio ๙) ศักยภาพการศึกษาไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา และปฏิทินชีวิต ซึ่งจะแสดงถึงทิศทางการศึกษา ความร่วมมือ การบูรณาการ การกระจายโอกาสทางการศึกษา การแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจการลูกเสือ ข้อมูล วิจัย บทวิเคราะห์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของ ศธ. รวมทั้งเรื่องปฏิทินชีวิต ซึ่งแสดงถึงกิจกรรมในแต่ละช่วงชีวิตของคน ๑๐) การศึกษาเพื่ออาชีพและหลักสูตรเฉพาะทาง ที่เน้นถึงหลักสูตรเพื่อการมีงานทำ รวมทั้ง ๗ กลุ่มวิชาสู่ ๕ กลุ่มอาชีพ ตลอดจนหลักสูตรเฉพาะทาง ๑๑) การประชุมสัมมนาวิชาการ โดยมีกิจกรรมการประชุมสัมมนาอภิปรายตลอดระยะเวลาการจัดงาน อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/feb/063.html