นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและสถานศึกษาคุณภาพพิเศษ

การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและสถานศึกษาคุณภาพพิเศษ เพื่อให้การดำเนินการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ ก.ค.ศ. จึงประกาศรายชื่อสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและสถานศึกษาคุณภาพพิเศษ สพม.31 1.โรงเรียนบุญวัฒนา 2.โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 3.โรงเรียนสุรนารีวิทยารายละเอียดฯลฯ สามารถเข้าดูได้ที่ http://202.143.174.11/personnel/news2011/upfiles/428.pdf

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผัวเมียเฮ -ศาลสั่ง แยกจ่ายภาษีได้!

ผัวเมียเฮ -ศาลสั่ง แยกจ่ายภาษีได้! "ผัว-เมีย"เฮ ลั่น ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สามี-ภรรยา แยกจ่ายภาษีเงินได้เหตุประมวลรัษฎากรขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ทั้งเรื่องความเสมอภาค-เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ชี้ให้มีผลในปี "56 รมช.คลังเผยเตรียมชง ครม.พิจารณาทันที หวังช่วยลดภาระคู่สามีภรรยา ด้านอธิบดีกรมสรรพากรชี้ควรแก้ไขประมวลรัษฎากร เหตุใช้มาตั้งแต่ 2481 แล้วบางมาตราไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 ก.ค. ที่สำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ประกอบมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรม นูญ พ.ศ.2550 มาตรา 43 ประกอบมาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่ นายพิมลกล่าวต่อว่า โดยศาลรัฐธรรม นูญวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีให้ถือเอาเงินได้ทั้งปีของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี พร้อมกำหนดให้ภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการเสียภาษีออกจากสามี เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ โดยไม่ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตามมาตรา 57 ตรีนั้น ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าสามีภริยา ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้ผู้หญิงที่มีสามี และมีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าผู้หญิงที่โสด อีกทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ชายหญิงไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระอัตราภาษีที่สูงขึ้น อีกทั้งผู้ที่สมรสกันแล้วก็ต้องวางแผนการเสียภาษี โดยบางรายถึงขั้นจดทะเบียนหย่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเงินได้ของทั้งสามีและภริยามารวมกันในการเสียภาษีที่ สูงขึ้น นายพิมลกล่าวอีกว่า ดังนั้น ศาลรัฐธรรม นูญจึงเห็นว่าบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรา ขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เนื่องจากมีความแตกต่างในเรื่องของสถานะบุคคล อีกทั้งไม่ได้เป็นมาตราที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้สามารถ ใช้สิทธิเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กรมสรรพากรก็ต้องไปดำเนินการในการจัดเก็บภาษีเงินได้ใหม่ เพื่อให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าสามีและภริยาจะสามารถแยกจ่ายภาษีเงินได้ในปี 2556 นายทนุ ศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลกรมสรรพากร กล่าวว่า ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่มีคำวินิฉัยเรื่องนี้ออกมา รัฐบาลเตรียมเสนอแก้ไขกฎหมายภาษีหรือประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว เพราะเห็นว่าการรวมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ระหว่างสามีและภรรยานั้นทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน การแยกเสียภาษีจะช่วยลดภาระของประชาชน นายทนุศักดิ์กล่าวอีกว่า ในเรื่องการแยกเสียภาษีระหว่างสามีและภรรยานั้น กระ ทรวงการคลังเตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 เพื่อให้ทันการต่อปีภาษี 2556 แต่ด้วยช่วงต้นปีประเทศไทยเพิ่งฟื้นตัวจากน้ำท่วม จึงชะลอการเสนอไปยังครม. เพราะกลัวว่าจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล แต่ล่าสุดจากการหารือระหว่างนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลังและรองนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารกรมสรรพากร มีข้อสรุปร่วมกันแล้วว่าให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อครม. เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาแก้กฎหมายในสภา ส่วนจะสามารถประกาศใช้ทันปีภาษี 2556 หรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่กระบวนการพิจารณาของแต่ละฝ่ายว่าจะเร็วแค่ไหน "รัฐบาล กำลังแก้กฎหมายในเรื่องการเสียภาษีระหว่างสามีและภรรยาอยู่แล้ว เพื่อช่วยลดรายจ่ายทางด้านภาษีของสามีและภรรยา เพราะปัจจุบันประเทศไทยเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแบบอัตราก้าวหน้า หากมีรายได้มากต้องจ่ายภาษีมาก ดังนั้น การรวมยื่นภาษีจึงทำให้ฐานรายได้ของสามีและภรรยาสูง การเสียภาษีจึงสูงกว่าคนโสด" นายทนุศักดิ์กล่าว ด้านนายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมเสนอเรื่องนี้ไปยังกระทรวงการคลังแล้ว กระบวนการจากกรมเรื่องการแยกยื่นภาษีระหว่างสามีและภริยานั้นจบแล้ว ดังนั้นคงอยู่ที่ฝ่ายการเมืองว่าจะนำเสนอครม.เมื่อใด โดยกรมเห็นว่าต้องแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้หญิงมีความเท่าเทียมกันกับผู้ชายและสามารถทำงานนอกบ้านหารายได้เป็น ของตัวเอง ซึ่งประมวลรัษฎากรใช้มาตั้งแต่ปี 2481 ดังนั้น บางมาตราอาจจะไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผ่านมากรมเสนอแก้ไขไปแล้วหลายเรื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคมปัจจุบัน นายสาธิตกล่าวอีกว่า ปัจจุบันสามีและภรรยาสามารถแยกยื่นภาษีเฉพาะที่เป็นรายได้จากเงินเดือน แต่ถ้าภรรยามีรายได้เสริมอื่นๆ อาทิ ภรรยาเป็นข้าราชการ และขายประกันเป็นรายได้เสริม จะถือว่าเงินรายได้จากการขายประกันนั้นเป็นของสามีต้องมารวมเสียภาษีกับสามี ส่วนรายได้จากเงินเดือนสามารถแยกยื่นได้ รายงานข่าวจากกระทรวงการ คลังแจ้งว่า ก่อนหน้านี้นายกิตติรัตน์ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายให้แยกยื่นภาษีระหว่าง สามีและภรรยา เนื่องจากจะทำให้กรมสรรพากรต้องสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี เงินได้สุทธิอยู่ระหว่าง 150,001-500,000 บาทต่อปี เสียภาษีอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ เงินได้สุทธิอยู่ระหว่าง 500,001-1,000,000 บาทต่อปี เสียภาษีอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ เงินได้สุทธิอยู่ระหว่าง 1,000,001-4,000,000 บาทต่อปี เสียภาษีอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ และเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุด 37 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ หากสามีและภรรยามีรายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายคนละ 4 แสนบาทต่อปี รวมแล้วมีรายได้ประมาณ 8 แสนบาทต่อปี ต้องเสียภาษีในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องเสียภาษี 160,000 บาท แต่ถ้าสามารถแยกยื่นภาษีจะทำให้ลดอัตราการเสียภาษีเหลือแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีรายได้ไม่เกิน 500,000 บาท หรือคิดเป็นภาษีคนละ 40,000 บาท รวม 2 คน ต้องภาษี 80,000 บาท เท่านั้น อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=1558

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

10 ประเทศ "อาเซียน" ลงมติ ใช้หลักสูตร "แกนกลาง" ร่วมกัน

10 ประเทศ "อาเซียน" ลงมติ ใช้หลักสูตร "แกนกลาง" ร่วมกัน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่เมืองยอร์ก ยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนครั้งที่ 7 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบกรอบความร่วมการจัดการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการเทียบโอนหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา ที่สามารถถ่ายโอนไปเรียนในประเทศสมาชิกได้ รวมถึงจัดทำเอกสาร asean curriculum sourcebook ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรอาเซียนทุกรายวิชา และประเทศไทยเสนอเป็น เจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน "การประชุมครั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเน้นไปที่การจัดการศึกษาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานให้สามารถทำงานข้ามพรมแดนได้ ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละประเทศจะมีการเตรียมพร้อมให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเทศอาเซียนแก่เด็ก เพื่อให้มีความเข้าใจพื้นฐานวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกัน" นายสุชาติกล่าว นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะนำ asean curriculum sourcebook ซึ่งถือเป็นเกณฑ์กลางเพื่อให้ 10 ประเทศอาเซียนนำไปปรับการเรียนการสอนทั้งในส่วนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา โดยในส่วนของประเทศไทย ที่ผ่านมา สพฐ.ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนเพื่อ ปูพื้นความรู้เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนให้ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาผ่านการจัดกิจกรรม รูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกันในส่วนของหลักสูตรส่วนใหญ่เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศอาเซียน จะสอดแทรกอยู่ในแต่ละวิชา ดังนั้น คาดว่าคงจะมีการปรับเพิ่มเพียงเล็กน้อย แต่ในบางรายวิชาอาจต้องเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน อาทิ ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียนเข้าไปให้มากขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจริงๆ อยากให้นักเรียนมีความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นพลเมืองอาเซียน ไม่ใช่ประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหลักสูตรเกณฑ์กลางดังกล่าว จะกำหนด 5 กรอบ ได้แก่ 1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน 2.คุณค่าและความหลากหลาย 3.การติดต่อทั้งภายในภูมิภาคและประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก 4.การส่งเสริมด้านความถูกต้องและยุติธรรม และ 5.การทำงานร่วมกันเพื่อความร่วมมืออันดีในอนาคต โดยจะมุ่งพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ บุคลากร สถานที่ นโยบาย และความคิดสร้างสรรค์ อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/view.php?article_id=1553