นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เห็นชอบในหลักการ "การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ (TPK Model)"

เห็นชอบในหลักการ "การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ (TPK Model)" ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอต่อที่ประชุม โดยให้ ก.ค.ศ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สพฐ. สอศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับครูสังกัดต่างๆ และให้เสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า การประเมินแบบใหม่จะประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วนที่สำคัญ คือ ๑) ประเมินสมรรถนะครู ทั้งสมรรถนะด้านการสอน และสมรรถนะทางวิชาการ เพราะสองส่วนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินคุณภาพของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อนำไปสู่การเลื่อนวิทยฐานะแบบใหม่ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วนที่จะช่วยให้เกิดพลังในการพัฒนาครูเป็นอย่างมาก คือ Teacher Training Institute หรือสถาบันการผลิตและพัฒนาครู เช่น คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์แห่งประเทศไทย สถาบันทางวิชาการ ๘ กลุ่มสาระ หรือแม้แต่หน่วยงานสอนภาษา เช่น AUA British Council สถาบันขงจื่อ ฯลฯ ก็จะเข้ามามีบทบาทในการผลิตและพัฒนาครูอย่างมีคุณภาพมากขึ้น Certifying Body หรือสถาบันรับรองสมรรถนะครู เช่น สสวท. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการรับรองสมรรถนะครูผู้สอนในสาขาวิชาต่างๆ Awarding Body หรือสำนักงาน ก.ค.ศ. จะเป็นหน่วยงานในการประเมินสมรรถนะครู ๒) ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยดูจากคะแนนความก้าวหน้าของผลการสอบ O-Net หรือ National Test เช่น อาจพิจารณาจากคะแนน Percentile ที่ 50 เป็นจุดตัด (เปอร์เซ็นไทล์ เป็นคะแนนที่บ่งบอกให้ทราบว่าผู้เรียนคนนั้นๆ อยู่ในระดับที่เท่าใดเมื่อเทียบจาก ๑๐๐ คน) หากกลุ่มโรงเรียนใดได้คะแนน Green Zone เช่นอาจจะมากกว่า ๗๐ ขึ้นไป ครูควรได้รับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือเชี่ยวชาญได้ โดยอาจจะจัดทำเพียงสาระนิพนธ์ประมาณ ๕๐ หน้า ซึ่งบ่งบอกถึงวิธีการทำให้ Percentile นักเรียนสูงขึ้น ในขณะเดี่ยวกันกลุ่มที่ได้ Percentile ต่ำกว่า ๕๐ ถือเป็นกลุ่ม Red Zone ที่ต้องได้รับการดูแลและพัฒนา ตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณา เช่น ระดับการพิจารณาสมรรถนะทางวิชาการ (Academic Competency) อาจจะพิจารณาให้ครูเลื่อนเป็นชำนาญการโดยดูจากค่า Percentile ที่ ๕๐, ชำนาญการพิเศษ ได้ค่า Percentile ที่ ๖๐, เชี่ยวชาญ ได้ค่า Percentile ที่ ๗๐ เป็นต้น อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/sep/263.html