นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2556 วันที่ 22 มี.ค.2556

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุม โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ การพิจารณาการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รมช.ศธ. แถลงข่าวถึงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นผลการสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่เชื่อว่าการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งได้สอบคัดเลือกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว๑๒ ที่พบหลักฐานมีการทุจริตจริงใน ๔ เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต ๓, สพป.อุดรธานี เขต ๓, สพป.ยโสธร เขต ๑ และ สพป.นครราชสีมา เขต ๒ เพื่อให้ ศธ.ยกเลิกการสอบ รวมทั้งกรณี สพป.นครปฐม เขต ๑ กรณีนายภานุวัฒน์ฯ ซึ่งสอบได้ลำดับที่ ๑ ของ สพป.ศรีสะเกษ เขต ๓ แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ที่ประชุมมีมติให้ส่งเรื่องที่เป็นข้อมูลพื้นฐานและหลักฐานการทุจริตให้ ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต ๓ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ) เขตพื้นที่การศึกษา เนื่องจากเป็นอำนาจของเขตพื้นที่การศึกษาที่จะต้องไปพิจารณาว่าบุคคลที่กระทำการทุจริต ไม่ควรได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ โดยผลการสืบสวนก็ได้ชี้มูลในเบื้องต้นว่ามีการทุจริตในการสอบ ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.ต้องไปสืบสวนและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป กรณีผู้สอบได้ที่ สพป.นครปฐมเขต ๑ ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งไปแล้ว ก็จะส่งเรื่องให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าวพิจารณาเช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ ศธ.ได้ชี้มูลว่ามีการทุจริตไปแล้ว โดยอำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.สามารถใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณายกเลิกการบรรจุแต่งตั้งโดยให้พ้นจากการเป็นข้าราชการได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ตามมาตรา ๓๐ (๗) (๑๓) มาตรา ๔๙ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้แจ้งไปยัง ๑๒๙ เขตพื้นที่การศึกษา ใน ๖๘ จังหวัดที่จัดสอบ เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ ไปตรวจสอบผู้ที่มีคะแนนสูงผิดปกติ ซึ่งขณะนี้มีจำนวน ๕๑๔ คนว่ามีการทุจริตหรือไม่อย่างไร โดยให้พิจารณาจากข้อมูลของ DSI และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ ศธ. ซึ่งจะส่งไปพร้อมกับข้อมูลคะแนนของผู้ที่ผ่านการสอบ โดย สพฐ.จะส่งข้อมูลไปยังเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ดังกล่าวภายใน ๓ วัน และให้เขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ดังกล่าวพิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน ทั้งนี้ ศธ.จะแต่งตั้งผู้ตรวจราชการไปติดตามและให้คำปรึกษาด้วย ส่วนเขตใดที่ดำเนินการเสร็จสิ้นก่อน ๑๕ วัน สามารถรายงานกลับมาได้ทันที รมช.ศธ. อธิบายถึงเหตุผลที่มอบให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาดำเนินการว่า ก.ค.ศ.ไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เขตพื้นที่การศึกษาสั่งยกเลิกการสอบ เพราะตามกฎหมายระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาที่จะเป็นผู้พิจารณา โดย ก.ค.ศ.มีอำนาจเพียงกำกับดูแลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ ศธ.ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลต่อไป หากพบข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็จะส่งให้กับเขตพื้นที่การศึกษาได้ใช้พิจารณาต่อไปเพราะอาจจะพบหลักฐานอื่นๆ เพิ่มอีกก็ได้ นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า หากผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ขัดแย้งหรือไม่ตรงตามความเป็นจริงกับข้อมูลที่ ก.ค.ศ.ส่งให้ไป ทาง ก.ค.ศ.ก็มีอำนาจสั่งการให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ไปดำเนินการให้ถูกต้อง แต่หากละเว้นหรือไม่ดำเนินการ ทาง ก.ค.ศ.ก็มีอำนาจที่จะถอดถอน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาได้ ซึ่งกรณีผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นอกจากจะต้องโดนถอดถอนแล้ว จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยด้วย ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการ ทาง ก.ค.ศ.คงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้นอกจากการถอดถอน การพิจารณาหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งคาดว่าจะจัดสอบในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมเหมือนเดิม (ขณะนี้มีอัตราว่าง ๖๖๖ อัตรา ใน ๘๓ เขตพื้นที่การศึกษา แยกเป็น สพป.๕๕ เขต และ สพม.๒๘ เขต) แต่จะแตกต่างจากการสอบครั้งที่ผ่านมา โดยจะให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษารวมกลุ่มกันดำเนินการจัดสอบ แบ่งเป็น ๑๒ กลุ่มตามเขตตรวจราชการ โดยให้ผู้ตรวจราชการ ศธ. ประสานและกำกับดูแลในการจัดสอบด้วย พร้อมทั้งกำหนดหลักสูตรการสอบแข่งขันที่จะให้มีการสอบสัมภาษณ์ด้วย แต่ที่ประชุมเห็นว่าผลต่างคะแนนสอบสัมภาษณ์แต่ละรายไม่ควรเกิน ๕ คะแนน และให้สอบพร้อมกันทั้ง ๓ ภาค คือ ภาค ก. ข. และ ค. โดยจะให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบ จัดส่งข้อสอบ ตรวจกระดาษคำตอบ และประมวลผลการสอบ และให้สมัครสอบได้เพียงเขตพื้นที่การศึกษาเดียวเท่านั้น ไม่ให้สมัครสอบซ้ำ หากตรวจพบว่าไปสมัครสอบหลายแห่งจะถูกตัดสิทธิ์ในการบรรจุแต่งตั้ง อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า ที่ประชุมอนุมัติตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้งและมีคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด จำนวน ๔ ราย เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ ๑. นายกุลชร เหลืองสุดใจชื้น เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ ๒. นายมนต์ชัย จันทนะกูล เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ ๓. นายแสนสุข ชัยสวัสดิ์ เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓ ๔. นายเมธี วงษ์หอย เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๗ อนุมัติตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ ที่ประชุมอนุมัติตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ จำนวน ๒ ราย ดังนี้ ๑. รศ.ทวี เชื้อสุวรรณทวี เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ เกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒. นายออน กาจกระโทก เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ จำนวน ๓ คณะ คือ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ เกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ, อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ เกี่ยวกับการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคล อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2013/mar/102.html

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประกาศแล้วผลโอเน็ตเร็วกว่ากำหนดหนึ่งวัน พบ ป.6 ม.3 ส่วนใหญ่คะแนนต่ำกว่าครึ่ง

วันนี้ (14 มี.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทศ.ได้ประกาศผลการทดสอบทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2555 เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดจะประกาศวันที่ 15 มีนาคม โดย สทศ.ได้ทำการวิเคราะห์ผลคะแนน ดังนี้ ป.6 ภาษาไทยจำนวนผู้เข้าสอบ 773,016 คน คะแนนเฉลี่ย 45.68 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0 สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม จำนวนผู้เข้าสอบ 772,977 คน คะแนนเฉลี่ย 44.22 สูงสุด 96.00 ต่ำสุด 0.00 ภาษาอังกฤษ จำนวนผู้เข้าสอบ 773,015 คน คะแนนเฉลี่ย 36.99 สูงสุด 100.00 ต่ำสุด 0.00 คณิตศาสตร์ จำนวนผู้เข้าสอบ 772,914 คน คะแนนเฉลี่ย 35.77 สูงสุด 100.00 ต่ำสุด 0.00 วิทยาศาสตร์ จำนวนผู้เข้าสอบ 773,009 คน คะแนนเฉลี่ย 37.46 สูงสุด 94.50 ต่ำสุด 0.00 สุขศึกษาและพลศึกษาจำนวนผู้เข้าสอบ 773,011 คน คะแนนเฉลี่ย 54.84 สูงสุด 100.00 ต่ำสุด 0.00 ศิลปะจำนวนผู้เข้าสอบ 772,666 คน คะแนนเฉลี่ย 52.27 สูงสุด 100.00 ต่ำสุด 15.00 การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวนผู้เข้าสอบ 772,633 คน คะแนนเฉลี่ย 53.85 สูงสุด ต่ำสุด 0.00 สำหรับระดับชั้น ม.3 ดังนี้ ภาษาไทยจำนวนผู้เข้าสอบ 754,149 คน คะแนนเฉลี่ย 54.48 สูงสุด 92.00 ต่ำสุด20.00 สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมจำนวนผู้เข้าสอบ 753,358 คน คะแนนเฉลี่ย 47.12 สูงสุด 98.00 อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031666

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษา ปี ๒๕๕๖

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารฝ่ายการเมืองของกระทรวงศึกษาธิการ คือ นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประแสง มงคลศิริ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษาในปี ๒๕๕๖ ● ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน รมว.ศธ. กล่าวว่าเรื่องของหลักสูตรมีผู้รู้จำนวนมาก และมีความคิดเห็นที่หลากหลาย จึงต้องการให้มีส่วนร่วมอย่างมากตั้งแต่ต้น เพราะหากในช่วงต้นมีส่วนร่วมน้อย ช่วงท้ายจะมีความคิดเห็นต่างกันมาก แต่หากมีส่วนร่วมอย่างมากและกว้างขวางในช่วงต้น จะเกิดการตกผลึกและจะประสบความสำเร็จเร็วขึ้น เพราะต้องการพัฒนาการศึกษาของคนไทยทุกคน ดังนั้นในปี ๒๕๕๖ จะเดินหน้าปรับปรุงหลักสูตรและปรับการเรียนการสอนให้แล้วเสร็จ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานหลายชุดขึ้นมาขับเคลื่อนและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ออกแบบระบบ โดยนำระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จมาร่วมศึกษาวิเคราะห์ เช่น ระบบ Outcome-based Education ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดยจะกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อใช้ตำราเรียนนั้นเป็นเช่นไร ด้านตำราซึ่งจะต้องถอดรหัสหลักสูตรเพื่อออกแบบตำรา แต่ไม่ใช่การเขียนตำรา อย่างไรก็ตามจะรักษาระบบตำราไทยที่เป็นตลาดเสรีไว้ เพราะสำนักพิมพ์ในปัจจุบันทั้ง ๑๗ แห่ง สามารถแข่งขันกันสร้างตำราที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอยู่แล้ว นอกจากนี้ นโยบายการใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา นับว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ ดังเช่น Microcontent ของสหรัฐอเมริกา โดยในปี ๒๕๕๖ ศธ.จะเร่งดำเนินการ Cyber Home ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลให้แล้วเสร็จ เพื่อเชื่อมโยงกับการเรียนรู้จากแท็บเล็ตของนักเรียน จากนั้นจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องให้หลากหลายที่สุด โดยเชิญผู้รู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มาช่วยระดมสมองให้มากที่สุด ซึ่งการที่จะให้คนมีส่วนร่วมมากตั้งแต่ต้นจะทำให้การปรับหลักสูตรเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และเสียเวลาน้อยกว่าการที่ไม่เปิดรับฟังความเห็นจากคนหมู่มาก อย่างไรก็ตามการปรับหลักสูตรจะครอบคลุมตั้งแต่การทบทวนใหม่อีกครั้งว่าหลักสูตรควรจะแบ่งเป็น ๘ กลุ่มสาระเช่นเดิมหรือไม่ เนื้อหาในแต่ละวิชาจะต้องปรับอย่างไรให้เข้ากับความรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก เพราะในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา เกิดแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนมากขึ้น รวมทั้งต้องมีการทบทวนเรื่องโครงสร้างเวลาเรียนด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าเวลาเรียนในห้องเรียนควรจะลดลง เพราะเวลาเรียนในห้องเรียนของเด็กไทยมากเกินไป จนไม่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์จะเกิดจากการทำกิจกรรมมากกว่า และเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน ขณะที่วิธีจัดการเรียนการสอนก็ต้องปรับให้ทันสมัยขึ้นด้วย นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทั้งหมด ๔ ชุดใหญ่ ชุดแรก เป็นกรรมการที่จะมาออกแบบระบบการศึกษาของไทยใหม่ กรรมการออกแบบหลักสูตรในภาพรวม หาคำตอบให้ได้ว่าหลักสูตรควรจะเป็นกี่กลุ่มสาระวิชา เพราะมีแนวคิดหนึ่งว่าควรจะลดสาระวิชาลง แต่กำหนดให้ชัดเจนว่าในสาระวิชานั้นๆ จะแยกย่อยเป็นรายวิชาใดบ้าง เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ไม่มีชื่อรายวิชาย่อย ทำให้ผู้เรียนยังไม่รู้ว่ากำลังเรียนวิชาใดอยู่ หรือบางรายวิชาที่มีประโยชน์ เช่น วิชาเรียงความ หรือย่อความหายไป ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกจับใจความไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อกรรมการชุดใหญ่ออกแบบหลักสูตรในภาพรวมแล้ว จะเชิญผู้รู้มาเป็นกรรมการแยกย่อยในแต่ละวิชาอีก เพื่อทำหน้าที่ยกร่างหลักสูตรแต่ละวิชา นอกจากนี้จะมีกรรมการออกแบบตำราเรียน กรรมการชุดนี้จะออกแบบว่าคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อใช้ตำราเรียนนั้นเป็นเช่นไร แล้วให้สำนักพิมพ์แต่ละแห่งทั้งรัฐและเอกชนไปสร้างตำราเรียนตามคุณลักษณะนั้น ส่วนชุดสุดท้ายจะเป็นกรรมการที่สร้างความเข้าใจ เพราะการจะนำระบบการศึกษาและหลักสูตรใหม่มาใช้ จำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อม ในฝ่ายต่างๆ ทั้งโรงเรียน นักเรียน ครู ● เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ สำหรับการศึกษาด้านอาชีวศึกษานั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้มีสัดส่วนการเรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญ เพิ่มขึ้นเป็น ๕๐:๕๐ ในปี ๒๕๕๙ และเพื่อรองรับสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งนักศึกษาสามารถไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ และเมื่อจบการศึกษาก็มีการรับประกันการมีงานทำ เพราะ ศธ.จะร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อผลิตบุคลากรในสาขาที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการ จากนั้นระหว่างที่กำลังศึกษานักศึกษาจะได้ฝึกและปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการนั้นๆ โดยสถาบันการอาชีวศึกษาจะเน้นที่คุณภาพ ในช่วงแรกของการเปิดการเรียนการสอนจึงจะรับนักศึกษาจำนวนไม่มากนัก สำหรับการแต่งตั้งนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการสถาบันการอาชีวศึกษาเป็นเรื่องสำคัญต่อสถาบันใหม่ และเป็นการแต่งตั้งครั้งแรกเพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทางซึ่งมีกติกามาก รมว.ศธ.มีหน้าที่พิจารณาตามคำเสนอแนะของเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยจะพิจารณาผู้ที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมที่สุด ● อัตรากำลังคนภาครัฐ ในปัจจุบันกำลังคนภาครัฐ จะมีทั้งข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้าง ซึ่งจะต้องมีงบประมาณในส่วนของเงินเดือนและสวัสดิการจำนวนมาก ซึ่งมีความพยายามที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มาเป็นเวลา ๑๐ ปีแล้ว แต่ควบคุมได้ในบางจุด เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในส่วนของศาลและองค์กรอิสระไม่สามารถควบคุมได้ ในขณะนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คนที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คนส่วนใดเกินก็ให้ไปช่วยเสริมในส่วนที่ขาด มีหลายกระทรวงขาดบุคลากรด้านการบริการประชาชน แต่จะมีบุคลากรไปกระจุกตัวอยู่ในหน่วยงานกลางเป็นจำนวนมาก สำหรับด้านการศึกษา ศธ.มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า ๖๐ คน ซึ่งมีปัญหาเรื่องคุณภาพการเรียนการสอน จึงมีแนวทางในการบริหารจัดการโดยการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในละแวกเดียวกัน เข้าด้วยกัน หมายเหตุ มีนโยบายต่างๆ กรุณาติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2013/jan/001.html

แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๕๖/๒๕๕๖ ศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๙๗/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิรูปหลักสูตรและการพัฒนาตำราเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา สามารถดำเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ โดยได้แต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการรวม ๒ คณะ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ประกอบด้วย - คณะที่ ๑ คณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วางแนวทางระบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และให้ความเห็นชอบระบบการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องได้ทำการพัฒนาและยกร่าง - คณะที่ ๒ คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ.เป็นประธานคณะกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ ๑) ออกแบบระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะให้ประกาศใช้เป็นระบบการศึกษาของประเทศ โดยศึกษา วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของระบบการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่การศึกษามีคุณภาพสูง ๒) ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ทั้งระบบ ให้เป็นหลักสูตรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการของโลก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓) กำหนดรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร รวมทั้งเนื้อหารายวิชา รายละเอียดการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งลำดับขั้นในการเรียนรู้ของเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ที่เหมาะกับพัฒนาการของนักเรียนไทย โดยมุ่งให้เกิดระบบการจัดการศึกษาที่มีสัมฤทธิ์ผลสูง ๔) ดำเนินการโครงการ "ตำราเรียนแห่งชาติ" ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยการกำหนดโครงสร้างของตำราเรียนทุกรายวิชา เพื่อเป็นแนวทางการแต่งตำราเรียนของโรงเรียน ครูอาจารย์ สำนักพิมพ์ และนักวิชาการต่างๆ ทั้งตำราเรียนแบบสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕) พัฒนาระบบการอนุมัติต้นฉบับตำราเรียนที่มีประสิทธิภาพและมีหลักประกันด้านคุณภาพ ๖) ดำเนินการทดสอบหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ รวมทั้งตำราเรียน ในโรงเรียนนำร่องที่มีความเหมาะสม ๗) วางแผนการประกาศและใช้หลักสูตรใหม่ทั่วทั้งระบบการศึกษาของประเทศ ๘) มีอำนาจในการตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2013/feb/056.html

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความเคลื่อนไหวการประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC_AWARDS)

ความเคลื่อนไหวการประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC_AWARDS) ต้องติดตามข่าวสารข้อมูลตลอดเวลา มีการปรับเปลี่ยนแปลง เวลา สถานที่ตลอดเวลา ทุกท่านต้องเข้าไปดูในหนังสือราชการ จากสพร. ที่ http://202.143.174.11/personnel/news2011/allbook_spr.php จะได้ไม่พลาดการไปนำเสนอผลงานครับ
อ้างอิงจาก สพร. ที่ http://202.143.174.11/personnel/news2011/allbook_spr.php

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์และได้รับการคัดเลือกให้ยืนยันสิทธิ์ โดยวิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา 2556

อ้างอิงดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://reg2.kku.ac.th/eregistration/2556/passedexam.pdf

ปรับแบบพิมพ์ระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.๑)

เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป หนังสือนำประถมมัธยม.pdf
คำสั่งปพ..pdf
แบบพิมพ์ปพ.pdf คำอธิบายการกรอกปพ..pdf
รายละเอียด ดูได้ที่ http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/212 อ้างอิงจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานกาานศึกษา สพฐ.

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวแทนภาคเข้าแข่งขันระดับประเทศ OBEC AWARDS ระดับชาติที่เมืองทองธานี 13-15 ก.พ. 56

ตรวจสอบรายชื่อตัวแทนระดับภาคที่ สพฐ. เชิญเข้าร่วมประกวด OBEC AWARDS ระดับชาติที่เมืองทองธานี 13-15 ก.พ. 56 (ปรับปรุงข้อมูลภาคใต้ล่าสุด) โทร. 02-2885651 สำหรับประสานงาน (โดย : สพร.3)
ด่วน! ขอให้ตัวแทนระดับภาค จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดในแบบประเมิน ความยาวไม่เกิน 50 หน้า รวมภาคผนวก จำนวน 3 ชุด เพื่อจัดส่งให้กรรมการประเมิน ครั้งที่ 1 ก่อน และเตรียมนำเสนอ 10 นาที ซักถาม 5 นาที โต๊ะแสดงผลงาน ขนาด 1x2 เมตร ที่อยู่สำหรับส่งเล่มสรุปผลงานฯ จำนวนไม่เกิน 50 หน้า 1 เล่ม เพื่อให้กรรมการประเมิน ก่อนล่วงหน้า ที่เหลืออีก 2 เล่ม ขอให้นำไปในวันประกวดระดับชาติ ที่เมืองทองธานี 13-15 ก.พ.56 ส่ง EMS ถึงผู้รับ ภายในวันที่ 22 ม.ค.56 นี้ ผู้รับ คุณนาฏสุดา หริตวร โรงแรมอเล็กซานเดอร์ เลขที่ 1 ซอยรามคำแหง 83/3 ถนนรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กทม.10240 (การประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS) ผู้ส่ง ชื่อ..............นามสกุล............................... โรงเรียน..................................................สังกัด................................................ รางวัล/ประเภทที่ส่ง..........................................................ระดับ.................... กลุ่มสาระ(สำหรับครู)............................................................. ด้าน....................................................................... อ้างอิงจาก หนังสือราชการจาก สพร. http://202.143.174.11/personnel/news2011/allbook_spr.php