นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๕๖/๒๕๕๖ ศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๙๗/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิรูปหลักสูตรและการพัฒนาตำราเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา สามารถดำเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ โดยได้แต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการรวม ๒ คณะ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ประกอบด้วย - คณะที่ ๑ คณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วางแนวทางระบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และให้ความเห็นชอบระบบการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องได้ทำการพัฒนาและยกร่าง - คณะที่ ๒ คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ.เป็นประธานคณะกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ ๑) ออกแบบระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะให้ประกาศใช้เป็นระบบการศึกษาของประเทศ โดยศึกษา วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของระบบการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่การศึกษามีคุณภาพสูง ๒) ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ทั้งระบบ ให้เป็นหลักสูตรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการของโลก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓) กำหนดรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร รวมทั้งเนื้อหารายวิชา รายละเอียดการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งลำดับขั้นในการเรียนรู้ของเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ที่เหมาะกับพัฒนาการของนักเรียนไทย โดยมุ่งให้เกิดระบบการจัดการศึกษาที่มีสัมฤทธิ์ผลสูง ๔) ดำเนินการโครงการ "ตำราเรียนแห่งชาติ" ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยการกำหนดโครงสร้างของตำราเรียนทุกรายวิชา เพื่อเป็นแนวทางการแต่งตำราเรียนของโรงเรียน ครูอาจารย์ สำนักพิมพ์ และนักวิชาการต่างๆ ทั้งตำราเรียนแบบสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕) พัฒนาระบบการอนุมัติต้นฉบับตำราเรียนที่มีประสิทธิภาพและมีหลักประกันด้านคุณภาพ ๖) ดำเนินการทดสอบหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ รวมทั้งตำราเรียน ในโรงเรียนนำร่องที่มีความเหมาะสม ๗) วางแผนการประกาศและใช้หลักสูตรใหม่ทั่วทั้งระบบการศึกษาของประเทศ ๘) มีอำนาจในการตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2013/feb/056.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น