นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 12/2554 โดย ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

อัตราจ้าง ปัจจุบัน สพฐ.มีอัตราจ้างทั้งที่อยู่บน สพฐ. สพท.และโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 65,172 อัตรา กลุ่มใหญ่ที่สุดก็คือ ธุรการ กับพี่เลี้ยงเด็กพิการเรียนร่วม ซึ่งมีจำนวน 14,532 คน และ 14,341 คน ตามลำดับ ที่ผ่านมาเป็นความพยายามที่จะทำให้อัตราจ้างทุกคน มีความมั่นคงในการทำงานและมีรายได้ที่พอเพียงในการดำรงชีพ งานกับเงินค่าตอบแทนมีความสมดุลกัน ความพยายามที่จะทำให้เป็นตำแหน่งถาวร ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะเป็นพนักงานราชการ หรือข้าราชการ แต่ที่แน่ๆก็คือ ถึงเดือนกันยายนแล้ว ไม่ต้องมานั่งใจหายใจคว่ำว่าจะได้ทำงานต่อหรือเปล่า ขณะนี้ก็ยังไม่สำเร็จ แต่ก็ยังไม่ละความพยายามครับ เราไม่สามารถกำหนดอัตราต่างๆได้ตามอำเภอใจ ต้องไปเกี่ยวข้องกับ ก.ค.ศ. และ คปร.(คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ) ขณะนี้กำลังจะตั้งงบประมาณปี 2556 ขณะที่งบประมาณปี 2555 ก็ยังไม่เรียบร้อย สนผ.มีความคิดว่าจะตั้งงบประมาณสำหรับธุรการ ประมาณ 19,000 คน โดยจะลดภาระงานสำหรับน้องๆที่ดูแลโรงเรียนตั้งแต่ 300 คนลงมา (25,327 โรง) ให้เหลือ 1 คนต่อ 2 โรงเรียน ที่เหลือ 301 คนขึ้นไป(6,097 โรง) โรงเรียนละ 1 คน สำหรับตำแหน่งอื่นๆก็พยายามดูแลเรื่องค่าตอบแทนรายเดือน ค่าตอบแทนที่ต่ำสุดขณะนี้เดือนละ 5,700 บาท ถูกหักประกันสังคมอีก 285 บาท เหลือ 5,415 บาท ซึ่งเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานที่น้อยมาก อย่าคิดจะไปเลี้ยงคนอื่นเลย เฉพาะตัวเองก็ยังไม่ค่อยอิ่มท้องเลย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากและผู้ที่เกี่ยวข้องคงต้องหาทางช่วยเหลือโดยด่วน และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการค้นหาหนังสือการโอนเงินค่าตอบแทนรายเดือน สนผ.ได้ไปขอเลขที่หนังสือการโอนเงินจาก สคส.และนำมาลงไว้ในหน้าเว็บไชด์นี้แล้ว การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ขณะนี้ภัยที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมทุเลาลงแล้ว เหลือไว้ไห้เห็นแต่เพียงร่องรอยความเสียหาย และภัยจากความหนาวเย็นกำลังคืบคลานเข้ามาในหลายจังหวัด สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยนั้น สพฐ. ได้รับงบประมาณมาแล้ว 898 ล้าน จำแนกเป็น 1. งบลงทุน สำหรับปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน/อาคารประกอบ 716 โรงเรียน 442 ล้าน 2. งบดำเนินงาน สำหรับปรับปรุงซ่อมแซม วงเงินต่ำกว่า 50,000 บาท และค่าวัสดุ อุปกรณ์ 1,370 โรงเรียน 219 ล้าน 3. งบอุดหนุน สำหรับจัดซื้อหนังสือเรียน เสื้อผ้า และอุปกรณ์การเรียน สำหรับนักเรียน 269,008 คน จาก 1,356 โรงเรียน 237 ล้าน ซึ่งขณะนี้ สพฐ. กำลังจัดสรรและโอนงบประมาณให้เขตพื้นที่ และโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ยังมีผู้ประสบวาตภัย/อุทกภัย ซึ่งตกค้างอยู่เมื่อต้นปี 2554 อีก 184 โรงเรียนจาก 56 เขตพื้นที่ งบประมาณ 70 ล้านเศษ ก็กำลังโอนงบประมาณเช่นเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่ส่งประมาณการความเสียหายมารอบหลังอีก 1,900 โรง จาก 120 เขตพื้นที่ใน 53 จังหวัด งบประมาณ 1,353 ล้าน สพฐ. กำลังเสนอของบประมาณเพิ่มเติมให้แล้วครับ การจัดสรรงบประมาณช่วยเหลืออุทกภัย เป็นการจัดสรรตามคำของบประมาณของโรงเรียน รายการใดที่ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย รายการนั้นๆก็จะไม่ได้รับงบประมาณ บัญชีจัดสรรดังกล่าวนี้ นอกจากเขต/โรงเรียนจะทราบจาก สพฐ.แล้ว ก็ยังจะได้รับแจ้งจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดอีกทางหนึ่งด้วย งบประมาณปี 2555 ขณะนี้งบประมาณปี 2555 ของ สพฐ. ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการงบประมาณเรียบร้อยแล้ว สพฐ. ขอไป 269,827.7697 ล้านบาท ถูกตัดงบประมาณไป 1,057.1728 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เราได้งบแปรญัตติ (งบเพิ่มเติม) อีก 4,459 ล้านบาท สรุป ปี 2555 สพฐ. ได้งบประมาณทั้งสิ้น 273,229.5969 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2554 จำนวน 26,402.9265 ล้านบาท (ปี 2554 ได้รับ 246,826.6704 ล้านบาท) งบประมาณดังกล่าวนี้ จะต้องนำเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาวาระ 2-3 และวุฒิสภาอีกครั้งหนึ่ง จะจบสมบูรณ์ประมาณปลายเดือนมกราคม 2555 ครับ ในส่วนของงบแปรญัตติจะมี 2 รายการ รายการแรกเป็นการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม อาคารเรียน/อาคารประกอบ 3,947 ล้านบาท รายการที่สองเป็นเครื่องทำน้ำเย็น/เครื่องกรองน้ำ 512 ล้านบาท รวม 4,459 ล้านบาท การจัดสรรงบแปรญัตติดังกล่าวจะจัดสรรแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ กระบวนการงบประมาณก็เหมือนเดิมครับ กล่าวคือโรงเรียนจะเสนอของบประมาณผ่านเขตพื้นที่ไปยัง สพฐ. สิ่งที่ต้องขอความร่วมมือจากเขตพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มนโยบายและแผน ก็คือ ช่วยแนะนำโรงเรียนถึงวิธีการวิเคราะห์ความขาดแคลน และวิธีเสนอของบประมาณ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ปรารถนาดีมาช่วยชี้แนะว่าต้องขอเรื่องนั้น เรื่องนี้ ขอให้โรงเรียนนั้น โรงเรียนนี้ หากโรงเรียนดังกล่าวไม่มีความขาดแคลน ก็คงต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปรารถนาดีเหล่านั้น ว่าต้องเปลี่ยนเป้าหมาย เพราะหากจัดสรรงบประมาณให้กับจุดที่ไม่มีความต้องการ หรือเกินความจำเป็น สพฐ.คงตอบคำถามสังคม โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลนแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณลำบากมาก อย่าลืมนะครับว่างบแปรญัตติ ปี 2555 นี้มีเพียง 2 รายการเท่านั้น ดังนั้นหากส่งรายการที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ สพฐ. จะส่งกลับคืนให้มาให้เขตเพื่อขอเปลี่ยนแปลงจากผู้ว่าราชการจังหวัดเอง และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวเดียวกัน ต้น ๆ มกราคม สพฐ. จะส่งแบบฟอร์มและรายละเอียดในการของบประมาณแปรญัตติมาให้เขตพื้นที่ ขณะนี้หลายเขตส่งคำของบแปรญัตติไปให้ สพฐ.แล้ว ซึ่งยังไม่เป็นประโยชน์อันใดและหลายเขตก็ขอออกนอกกรอบที่กล่าวมา ซึ่งผมกำลังให้น้องๆส่งกลับคืน งบประมาณทั้งงบปกติและงบแปรญัตติคงได้รับเร็วที่สุดก็กลางๆกุมภาพันธ์ 2555 ครับ อนึ่งในรอบปีที่ผ่านมาได้มีผู้แอบอ้างว่าเป็นคนของ สพฐ. บ้าง เป็นคนของ สนผ. บ้าง ลงมาแนะนำให้ของบประมาณเรื่องนั้น เรื่องนี้ แล้วจะไปช่วยประสานงานกับผู้ใหญ่เพื่อให้ได้งบประมาณ ผมขอเรียนให้ทราบว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการแอบอ้างหาผลประโยชน์ทั้งสิ้น ต้องขอบคุณพี่น้องชาวแผนที่โทรไปถามข้อเท็จจริง ช่วยถ่ายรูปและช่วยให้เบาะแส เพื่อกำจัดคนพวกนี้ให้หมดไป อ้างอิงข้่อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น