นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ”

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิบูลย์ แช่มชื่น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายศักดา บูรณ์พงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” เมื่อค่ำวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่สนามหญ้าหน้า ศธ. รมว.ศธ.กล่าวว่า การพูดภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยในวันนี้ คงเป็นความรู้สึกใหม่ที่คนไทยจะต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในช่วงที่ผ่านมาแม้คนไทยจะได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ทำให้การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันลดน้อยลง ขณะนี้คนไทยอาจจะยังขาดการฝึกฝนให้พูดภาษาอังกฤษตั้งแต่ในวัยเรียน การกระตุ้นให้นักเรียนได้พูดภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่ง ศธ.มีความมุ่งหวังให้คนไทยเกิดความกล้าที่จะพูด ไม่จำเป็นต้องพูดด้วยสำเนียงอังกฤษ ขอให้พูดได้ และกล้าพูด ก็ถือเป็นความสำเร็จของโครงการแล้ว สำหรับ ศธ.ได้กำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษของ ศธ.ที่จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการทักทาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกผิด แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันพูด ที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่าการพูดภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมดา จากนั้นอาจจะมีการขยายเวลาของการพูด จาก ๑ วันต่อสัปดาห์ เป็น ๒ วัน หรืออาจจะเพิ่มชั่วโมงขึ้นเรื่อยๆ การกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษในโรงเรียน เป็นการพูดทักทาย เพื่อทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคย และเพื่อติดต่อสื่อสารในสังคมอาเซียนและประชาคมโลก โดย ศธ.จะให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดมุมภาษาอังกฤษ การประกวดพูดภาษาอังกฤษ การจัดค่ายภาษาอังกฤษ การจัดทำสื่อและเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น โดยจะจัดให้มีกิจกรรมทั้งภายในโรงเรียน การประกวดแข่งขันระหว่างโรงเรียน ระหว่างภาค และในระดับประเทศต่อไป สำหรับการพิจารณาไม่ได้ดูที่ความเก่ง แต่จะดูจากการฝึกฝนให้นักเรียนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ให้สามารถพูดได้ จนกระทั่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ทั้งโรงเรียนหรือไม่ โครงการ “พ.ศ.๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” เป็นความร่วมมือระหว่าง ศธ. กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือด้านการสอนภาษาต่างประเทศ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติ สถาบันสอนภาษาต่างประเทศ (บริติช เคาน์ซิล และเอ ยู เอ) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕ เพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ผลิตและพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมบนฐานรากของความรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยใน ๕ ภูมิภาคของโลก การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซีย สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การรณรงค์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีคนพูดถึงกว่า ๑,๐๐๐ ล้านคน หรือ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก นอกจากนั้นภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียนอีกด้วย โดยโครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องทุกๆ ปี แต่จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งคนไทยทั้งประเทศสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เป็นภาษาที่สอง ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ด่วนที่สุดจากก.ค.ศ.ที่ ศธ๐๒๐๖.๖/ว๒๒ลว.๒๘ธันวาคม๒๕๕๔ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาฯรองผอ.และผอ.สถานศึกษา

ก.ค.ศ.มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชกดารครูและบุึคลากรทางการศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาใหม่ ตามหลักเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการเดิมจึงทำให้ยกเลิกหนังสือที่อ้างถึงด้วย การเทียบประสบการณ์จึงเป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ศธ ๐๒๐๖.๓/ว๒๓ลว. ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ พอสรุปได้ดังนี้ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี(ปริญญาตรี) และ ๒ ปี(ปริญญาโท) ฯ อ.๑ ๖ ปี หรือ อ.๒ ระดับ ๖ ฯลฯ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผอ. ๑ ปี ฯลฯ อ่านเอกสารเพิ่มเติมที่ http://203.146.15.33/webtcs/files/v22-54.pdf

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และผู้บริหารระดับสูง ศธ. ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มประเทศทางเลือกใหม่อีก ๑๗ ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชิลี เม็กซิโก บราซิล เบลเยียม ฮังการี โปรตุเกส ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย และแอฟริกา ซึ่งจากเดิม ๑๘ ประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สเปน ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อียิปต์ และไทย) ทำให้นักเรียนรุ่นที่ ๓ มีประเทศทางเลือกให้ไปเรียนทั้งหมด ๓๕ ประเทศ ที่เน้นใน ๕ กลุ่มสาขาวิชา คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ บริหารจัดการและวิชาชีพเฉพาะ โดยประเทศทางเลือกใหม่เป็นประเทศเป้าหมายที่จะเป็นคู่ค้าสำคัญกับไทยในอนาคต และยังเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยระดับโลก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถอบรมและให้ความรู้ตามความถนัดของแต่ละประเทศได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รมว.ศธ.เปิดเผยถึงปฏิทินการดำเนินงานโครงการฯ รุ่นที่ ๓ ด้วยว่า ได้กำหนดเปิดรับสมัครผู้ขอรับทุนและผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้ทุนส่วนตัว ในวันที่ ๙-๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ โดยผู้สมัครจะต้องมีคะแนนเฉลี่ย ๓.๐๐ ขึ้นไป สามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สถานศึกษาตั้งอยู่ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และกำหนดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งคณะกรรมการจัดทำข้อสอบจะกำหนดให้มีการทดสอบนักเรียนในทุกด้าน จากนั้นคาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนของอำเภอ/เขต และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ภายในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/dec/347.html

คำขวัญวันครู พ.ศ. 2555

ดร.องค์กร อมรสิรินันท์ กล่าวว่า จากการจัดการประกวดคำขวัญวันครู พ.ศ. 2555 เพื่อเชิญชวนให้ประชาชน ครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน ส่งคำขวัญเข้าประกวดเพื่อร่วมกันเชิดชูเกียรติคุณครูและระลึกถึงพระคุณครู ขณะนี้ได้คำขวัญที่ชนะการประกวดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรางวัลชนะเลิศและกำหนดให้เป็นคำขวัญวันครู พ.ศ. 2555 ได้แก่ บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์"ภูมิพล" ของนางสาวขนิษฐา อุตรโส จังหวัดนครปฐม อ้างอิงจาก http://www.ksp.or.th/ksp2009/th/news/detail.php?NewsID=2660&Key=informationnews# ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/informationnews/files/2660-2454.pdf

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สวดมนต์ข้ามปี

กำลังจะก้าวขึ้นสู่ปีใหม่ 2555 อีกแล้ว หลายคนก็ถือเอาช่วงเวลาดี ๆ แบบนี้ ไปเข้าวัดเข้าวาทำบุญ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง และในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ หากใครเคยไปร่วมนับถอยหลังฉลองปีใหม่ตามสถานที่ต่าง ๆ ดูแล้ว ลองเปลี่ยนบรรยากาศใช้โอกาสปีใหม่นี้ไปร่วมกิจกรรม "สวดมนต์ข้ามปี" ดูกันสักทีดีไหมครับ เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ เป็นมงคล แล้วยังให้คุณประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านด้วยนะครับ สวดมนต์ข้ามปีดีอย่างไร สำหรับการสวดมนต์ข้ามปีนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ แถมยังให้คุณประโยชน์ต่อจิตใจ และสุขภาพอีกด้วย และนี่คือประโยชน์ของการสวดมนต์ข้ามปี 1.ช่วยให้จิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น 2.เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปลรู้ความหมายก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ ปัญญาความรู้ 3.เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน 4.เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร 5. สามารถไล่ความขี้เกียจได้ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น 6.เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการ ปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=golddiamond&month=24-12-2011&group=6&gblog=48

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่10/2554

เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครู ตามโครงการครูคืนถิ่น ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ หลักเกณฑ์ ๑. คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ได้กำหนดให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยต้องเป็นข้าราชการครูที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง คู่สมรส หรือบิดามารดาของตนเองเท่านั้น โดยต้องดำรงตำแหน่งสายงานการสอนในสถานศึกษาที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ดังกล่าว ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๒. เกณฑ์การพิจารณา ให้พิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ๑) ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนาฯ ๒) ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ หรือวิชาเอกตามที่สถานศึกษาต้องการ ๓) เหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการ เช่น สพฐ.เป็นผู้กำหนดรายละเอียดองค์ประกอบในการพิจารณาตามเกณฑ์ข้อ ๑-๓ และจัดทำเป็นประกาศของส่วนราชการด้วย ๓. การพิจารณาการย้ายกลับภูมิลำเนา ให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญ โดยสถานศึกษาที่รับย้ายควรมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ทั้งนี้การคิดคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา ให้นำเกณฑ์การคิดคำนวณอัตรากำลังที่ ก.ค.กำหนดไว้เดิมมาใช้โดยอนุโลม หากสถานศึกษาใดมีอัตรากำลังครบตามเกณฑ์หรือเกินเกณฑ์ แต่ยังขาดอัตรากำลังในกลุ่มสาระการเรียนรู้/สาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอน ให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป วิธีการ ๑. การยื่นคำร้องขอย้าย ให้ยื่นที่สถานศึกษาภายในวันที่ ๑-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และให้สถานศึกษาส่งคำร้องขอย้ายดังกล่าวพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ๒. ให้ สพท.นำคำร้องขอย้าย พร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หากเห็นชอบให้ สพท.ส่งคำร้องพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ไปยัง สพฐ.เพื่อพิจารณาดำเนินการ ๓. ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด ตั้งคณะกรรมการ เพื่อกลั่นกรองการย้าย ๔. ให้คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย นำคำร้องขอย้ายของผู้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทุกราย มาพิจารณาตามองค์ประกอบ ๕. ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด ส่งผลการพิจารณากลั่นกรองการย้าย ไปยัง สพท.ที่คณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายเห็นสมควรให้ย้าย เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา ๖. ให้ สพท.นำคำร้องขอย้ายของผู้ที่ได้รับการพิจารณา จากคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย ไปขอความเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ สพท.ส่งคำร้องให้สถานศึกษา หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วมิได้รับความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ถือว่าคณะกรรมการสถานศึกษานั้นไม่ประสงค์จะให้ความเห็นประกอบการพิจารณาย้าย ๗. ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา นำความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายและความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาประกอบการพิจารณาย้าย โดยคำนึงถึงนโยบายของ ศธ.เป็นสำคัญ ๘. เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งแต่งตั้งข้าราชการครูผู้นั้น ทั้งนี้กรณีรับย้ายครูจากต่างเขตพื้นที่การศึกษา ให้ สพท.ที่รับย้ายประสานกับ สพท.ต้นสังกัดของผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งแต่งตั้ง และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว ๙. การแต่งตั้งครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ สพฐ.หรือส่วนราชการต้นสังกัด เสนอ ก.ค.ศ.พิจารณา ๑๐. เมื่อออกคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และ สพฐ. จำนวน ๒ ชุด ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง ทั้งนี้ เลขาธิการ กพฐ.กล่าวในที่ประชุมด้วยว่า ได้จัดทำปฏิทินการดำเนินงานในส่วนของ สพฐ.ดังนี้ ๑๗-๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ จะวิเคราะห์การย้ายในภาพรวมทั้งประเทศ ๑-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สพฐ.จะตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองระดับภูมิภาค ๗ คณะ แต่มาทำงานที่ส่วนกลาง และจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายส่วนกลางพิจารณาของ ๗ คณะอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะมีการย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษาด้วย ภายใน ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ สพฐ.จะสรุปผลกลั่นกรองการย้าย ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการต่อไป ภายใน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ สพฐ.จะประกาศผลการย้าย เพื่อให้ครูมีเวลาเตรียมตัวการย้ายก่อนเปิดภาคเรียน ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน ก.ค.ศ.ใหม่ ๒ ราย ที่ประชุมรับทราบผลการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. แทนตำแหน่งที่ว่างเดิมซึ่งเกษียณอายุราชการ จำนวน ๒ ราย คือ ๑) นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ซึ่งเป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ๒) นายอังกูล สมคะเนย์ ซึ่งเป็นผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบตั้งให้บุคคลทั้งสองราย เป็นอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา อนุมัติให้ ผอ.สพป. ๑๓ ราย รับเงินเดือน ค.ศ.๔ ที่ประชุมอนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑๓ ราย รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ.๔ในอัตราเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่เดิม หากอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิมไม่มีกำหนดไว้ในอันดับ ค.ศ.๔ ให้ได้รับในอันดับใกล้เคียงที่สูงกว่า ทั้งนี้ไม่ก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ตามรายชื่อดังนี้ · นายนวรัตน์ ต่วนชะเอม ผอ.สพป.แพร่ เขต ๒ · นายบวร เทศารินทร์ ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต ๒ · นายนิคม เขียวฉ่ำ ผอ.สพป.พะเยา เขต ๒ · นายลั่นฤทธิ์ วิเศษศักดิ์ ผอ.สพป.อุดรธานี เขต ๔ · นายสุวรรณ นรพักตร์ ผอ.สพป.ลำปาง เขต ๓ · นายเสนอ ทองจีน ผอ.สพป.สกลนคร เขต ๓ · นายสมบูรณ์ เชื้อตระกูล ผอ.สพป.สุรินทร์ เขต ๒ · นางเยาวลักษณ์ คงพูล ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต ๓ · นายชนาธิป สำเริง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๗ · นายศักดา จันทร์ฝอย ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๓ · นายไพบูลย์ ศรีสุธรรม ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต ๔ · นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ · นายวิชัย พวงภาคีศิริ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๒ n อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑๙ เขตพื้นที่การศึกษา · นายวีระชัย ศรีเมือง สพป.สุรินทร์ เขต ๓ · นายโชติ บุยเรือง สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๒ · พ.ต.ท.เกษม วงศ์ทอง สพป.สระแก้ว เขต ๑ · นายณรงค์ วงษ์รัตนะ สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๓ · นายพินิจ จันทร์กระจ่าง สพป.พิษณุโลก เขต ๒ · นายวิรัช พฤฑฒิกุล สพป.กาญจนบุรี เขต ๔ · นายเสถียร ศรีธรรมวงศ์ สพป.อุดรธานี เขต ๒ · นายจงกล ชมพันธุ์ สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒ · นายชูเวทย์ อิสระวิสุทธิ์ สพป.มหาสารคาม เขต ๒ · นายจำนงค์ เชาว์ชอบ สพป.หนองคาย เขต ๒ · นายสุรินทร์ สุวรรณรัตน์ สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๔ · นายบุญส่ง เนาวรัตน์ สพป.นครปฐม เขต ๒ · นายบุญทวี วงศ์ฝั้น สพป.ลำพูน เขต ๒ · นายเกรียงศักดิ์ เศรษฐเมธีกุล สพป.ระยอง เขต ๒ · ว่าที่ ร.ต.ภักดี ชูหวาน สพม.เขต ๑๒ (นครศรีธรรมราชและพัทลุง) · นายอาวุธ วรรณชาติ สพม.เขต ๑๖ (สงขลาและสตูล) · นายอรรถสิทธิ์ ศรีเชียรสาย สพม.เขต ๑๙ (เลยและหนองบัวลำภู) · นางจุฑารัตน์ ดรศรีโยเพชร สพม.เขต ๒๖ (มหาสารคาม) · นายชูศักดิ์ หมั่นสระเกศ สพม.เขต ๓๑ (นครราชสีมา) อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา · สพป.ยะลา เขต ๓ - นายระเด่น สะมะแอ, นายวิเชียร เลี้ยงพันธุ์สกุล, นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายทวัฒน์ จุลเสวก · สพป.ปัตตานี เขต ๓ - นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายนิทัศน์ ภัทราธิกุล, นายอาหมัดบูรฮัน ติพอง, นายสุรศักดิ์ นิลจันทร์ · สพป.นราธิวาส เขต ๓ - นายดาโต๊ะสุธิพันธ์ ศรีริกานนท์, นายซอแล๊ะ โต๊ะเช็ง, นายสุกรี ยา, นายกอซี เนตรไมตรี · สพป.บึงกาฬ - นายปกครอง พงษ์ญาติ, นายอาทิตย์ ชัยมานันท์, นายบุญเลิศ สุวรรณไตร, นายโกวิท เชื้อเวียง n อนุมัติตั้งผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา · สพป.ยะลา เขต ๓ - นายวิชัย อรชร, นายชูกีพลี ตาเย๊ะ, นายจักรพงศ์ ถีราวุฒิ · สพป.ปัตตานี เขต ๓ - นายเจอะรอซารี ยูโซะ, นายสุกรี ดะมุ, นางนันทิยา การาแม · สพป.นราธิวาส เขต ๓ - นายสะอารี ดอเลาะตาเฮ, นายรำรี สะมารา, นายนัฎพงศ์ แก่นบุญ · สพป.บึงกาฬ - นายกันหา สุวรรณวงศ์, นายวีระ กองบุตร, นายสุริยงค์ พิมวรรณ · สพป.ชลบุรี เขต ๒ - นายประสงค์ ชูสกุลเกรียง · สพป.ราชบุรี เขต ๒ - นางสุดใจ ศรีสมพงษ์ · สพป.ลำปาง เขต ๓ -นายนคร แก้วจันทร์หล้า · สพป.ตาก เขต ๒ - นายวรรณชัย เหล่าทรัพย์, นายวัลลภ โสประดิษฐ์ · สพป.พิจิตร เขต ๑ - นายไพบูลย์ อยู่สุข · สพป.หนองคาย เขต ๒ - นายสุรชัย ทินกระโทก · สพป.อุตรดิตถ์ เขต ๑ - นายจักรา วาทหงษ์ · สพป.สระบุรี เขต ๑ - นายเรวัฒน์ แจ่มจบ · สพม.เขต ๓๔ (เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน) - นายพิชิตพล สุทธิสานนท์ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/dec/342.html

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2555

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2555 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 ม.ค.55 ว่า "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี" นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการจะสื่อสารให้เด็ก ๆ รู้จักรักสามัคคี ต้องใฝ่หาความรู้ ร่วมทั้งหาความสมดุลระหว่างความเป็นไทยและเทคโนโลยีด้วย พร้อมกับบอกให้คนไทยทุกคนทราบว่า อยากเห็นรอยยิ้มของคนไทย ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้ พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี พ.ศ.2553 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม พ.ศ.2554 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ พ.ศ.2555 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี" ขอบคุณข้อมูล อ้างอิงจากhttp://hilight.kapook.com/view/17298 ภาพประกอบจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เงินเดือนตันทะลุแท่งได้

ตามที่ ก.ค.ศ.ได้ออกกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 ส่งผลให้ข้าราชการครูฯ ที่เงินเดือนเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 สามารถข้ามไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ได้ เพียงแต่ยังคงได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเหมือนเดิม นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่มีความชัดเจน ว่า กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 หรือไม่ ทำให้ผู้ที่เงินเดือนเพิ่งจะเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 และ 1 ตุลาคม 2554 ไม่ได้รับเงินเดือนทะลุไปรับในแท่งอันดับ คศ.4 ในขณะที่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนทะลุแท่งไปก่อนหน้านี้ยังคงได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ต่อไป เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เว็บครูไทย ได้รับฟังข้อมูลจาก ท่านสนอง ชาระมาตย์ ผู้แทนครูใน ก.ค.ศ. ได้พูดไว้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ที่จังหวัดสกลนคร เกี่ยวกับเงินเดือนเต็มขั้นทะลุแท่งได้ ว่า กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. 2553 ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่ต้องรอเข้า ครม.ก่อน เมื่อผ่าน ครม.แล้ว จะทำให้ข้าราชการครูฯ ที่เงินเดือนเต็มขั้นในอันดับ คศ.3 สามารถทะลุแท่งไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 ได้ แต่ยังคงได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเหมือนเดิม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำลังเร่งดำเนินการนำเข้า ครม.อยู่ ขอให้อดใจรอ อ้างอิงจาก http://webboard.kruthai.info/index.php/topic,971.0.html

สพม.31 แนะนำผู้บริหารสถานศึกษาที่ย้ายเข้ามาใหม่ จำนวน 8 ราย

แนะนำผู้บริหารสถานศึกษาที่ย้ายเข้ามาใหม่ จำนวน 8 ราย ดังนี้ 1.นายวินัย วิริยะประทีป ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองกราดวัฒนา 2. นายพงษ์มิตร สิทธินอก ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบัวละครวิทยา 3.นายไกรศร ทองมูลชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบึงพะไล 4.นางมะลิวัน ศรีโคตร ผู้อำนวยการโรงเรียนแก้งสนามนางพิทยาคม 5.นายสุพล จอกทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนมิตรภาพวิทยา 6.นายบันเทิง ทรงประโคน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพาลัย 7.นายธนวัฒน์ สุขเกษม ผู้อำนวยการโรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม 8.นายนิสิทธิ์ ส่งสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม
ยินดีกับทุกท่านที่จะร่วมกันพัฒนาการศึกษาของสพม.31ครับ ขอขอบคุณภาพจากสพม.31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1544:2011-12-08-17-23-10&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผอ.สพม.31ได้รับคัดเลือกเป็น " พ่อตัวอย่างแห่งชาติ " ประจำปี 2554

ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 ได้รับการคัดเลือกเป็น " พ่อตัวอย่างแห่งชาติ " ประจำปี 2554 โดยได้เข้ารับเกียรติบัตรจากผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เวลา 14.00 น. ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2554 ครั้งที่ 32 ซึ่งสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งเพื่อเทิดทูนพระคุณและยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม ตลอดจนให้ลูกได้แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ สำหรับปีนี้ มีพ่อจากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหมด จำนวน 346 คน ประกอบด้วยพ่อจากส่วนกลางซึ่งคณะกรรมการจัดงานเป็นผู้เสนอชื่อ จำนวน 165 คน พ่อตัวอย่างจากแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 37 คน และ พ่อตัวอย่างจากส่วนภูมิภาค จำนวน 144 คน ในการนี้ มี ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 รวมอยู่ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากสพม.31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1528:31-q--q--2554&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ร.ร.กวดวิชาสะพัด3หมื่นล้าน โตพรวด200% แห่เรียนพิเศษ7-8วิชา/คน อึ้ง! ฮิตเรียน"ภาษาไทย"

ร.ร.กวดวิชาสะพัด3หมื่นล้าน โตพรวด200% แห่เรียนพิเศษ7-8วิชา/คน อึ้ง! ฮิตเรียน"ภาษาไทย" ยอด ร.ร.กวดวิชาโต 200% เงินสะพัด 3 หมื่นล้าน/ปี เผยเทรนด์ใหม่แห่กวด′ภาษาต่างประเทศ′ พ่อแม่ลงทุนควักกระเป๋า 2-5 หมื่นบาท/เทอม เตรียมพร้อมลูกสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสองภาษา ปธ.สวนดุสิตโพลชี้′ภาษาไทย′วิชาม้ามืดที่นักศึกษาฮิตเรียน หลังข้อสอบมหา′′ลัยเน้นวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า สวนดุสิตโพลกำลังเก็บข้อมูลสำรวจทิศทางและแนวโน้มอนาคตของตลาดกวดวิชา โดยเก็บข้อมูลจากสถาบันกวดวิชาทั่วประเทศ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า การกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 อยู่ในระดับที่สูงเท่าเดิม จากการสอบถามพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้กวดวิชาเพราะอยากเพิ่มเติมความรู้ในส่วนที่ขาด แต่กวดวิชาเพราะอยากเข้าเรียนในคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเท่านั้น หากนักเรียนเน้นกวดวิชาเพื่อเป้าหมายดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดปัญหาการออกกลางคันในอนาคต "นอกจากนี้ ยังสำรวจการกวดวิชาของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีวิชาม้ามืดที่นิสิต นักศึกษานิยมเรียนรองจากวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ คือ วิชาภาษาไทย เพราะขณะนี้รูปแบบข้อสอบเปลี่ยนไปจากการท่องจำ เป็นเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์มากขึ้น จึงทำให้นักศึกษาตื่นตัว จากเดิมที่วางใจและคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของภาษา" นายสุขุมกล่าว นายสุขุมกล่าวว่า ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ยังพบมิติใหม่ในวงการกวดวิชา เมื่อผู้ปกครองนิยมส่งลูกเข้าเรียนกวดวิชาภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนสองภาษา หรือ Bi-lingual หรือโรงเรียนที่จะพัฒนาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยผู้ปกครองจะเริ่มส่งลูกเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเสียค่าใช้จ่ายภาคเรียนละ 20,000-50,000 บาท "ผู้ปกครองที่อยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จะนิยมส่งลูกไปเรียนกวดวิชาดังกล่าวมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา เป็นต้น ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ส่วนภาคกลางจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ลูกสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าวได้ เพราะส่วนใหญ่จะสอนเป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้ง ผู้ปกครองยังต้องการให้ลูกมีความสามารถด้านภาษาโดยที่ไม่ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงๆ เพื่อเรียนในโรงเรียนนานาชาติ" นายสุขุมกล่าว นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ช่องทางการเข้ามหาวิทยาลัยทำให้เด็กต้องสอบมากขึ้น ทั้งรับตรงผ่านโควตาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ระบบบริหารจัดการระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์ นอกจากนี้ยังมีการให้ค่าน้ำหนักคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต และคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร หรือ GPAX มาเป็นองค์ประกอบในการแอดมิสชั่นส์ ดังนั้น นักเรียนจึงต้องมุ่งเรียนพิเศษทุกวิชา โดยขณะนี้พบว่า โรงเรียนกวดวิชาเจริญเติบโตจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วถึง 200% มีเงินหมุนเวียนในกลุ่มโรงเรียนกวดวิชาสูงประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยเฉลี่ยขณะนี้ นักเรียนเรียนพิเศษคนละ 7-8 วิชา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำให้นักเรียนสอบมากขึ้น "ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องกลับมาคิดว่า การให้เด็กสอบมากๆ มีผลดีต่อคุณภาพการศึกษาหรือไม่ และระบบการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยจะมีการปรับระบบย่อยทุกปี และในทุก 3 ปี จะปรับองค์ประกอบครั้งใหญ่อีก ทำให้ผู้ปกครองและเด็กเกิดความสับสน ถ้าจะแก้ปัญหานี้คงต้องแก้ที่ระบบแอดมิสชั่นส์ โดยทำให้ระบบนิ่งและต้องเพิ่มช่องทางการเข้ามหาวิทยาลัยช่องทางอื่น เช่น ใช้คะแนนกิจกรรม คะแนนความดี หรืออื่นๆ ให้มากขึ้น ไม่ใช่ใช้เฉพาะคะแนนสอบอย่างเดียว" นายสมพงษ์กล่าว อ้างอิงจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313313048&grpid=01&catid&subcatid

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สพม.31 จัดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเฉลิมฉลอง 100 ปี การลูกเสือไทย

นายศุภกร วงศ์ปราชญ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี ของสพม.31 โดย ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 เป็นผู้กล่าวรายงาน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ณ ค่ายลูกเสืออ่างห้วยยาง ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา สพม.31 จัดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเฉลิมฉลอง 100 ปี การลูกเสือไทย โดยได้เชิญชวนลูกเสือ เนตรนารี จากโรงเรียนในสังกัด สพม.31 เข้าร่วมชุมนุม ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2554 ณ ค่ายลูกเสืออ่างห้วยยาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย พร้อมเป็นการส่งเสริมให้กองลูกเสือโรงเรียนในสังกัด ใช้กระบวนการลูกเสือร่วมกันคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกันให้บังเกิดผลตามอุดมการณ์ของลูกเสือ ตลอดทั้งเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1490:31-&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธีถวายราชสดุดีวันวชิราวุธ

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เป็นประธานพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันวชิราวุธ” ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อเช้าวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่สนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเช้า รมว.ศธ.ได้นำกล่าวคำสดุดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีลูกเสือเนตรนารีจากหน่วยงานสังกัดต่างๆ เข้าร่วมพิธีประมาณ ๕๐๐ คน ข้าฯ ลูกเสือ เชื้อไทย ใจเคารพ ขอน้อมนบ บาทบง พระทรงศรี พระบาท มงกุฎเกล้า จอมเมาลี ทรงปราณี ก่อเกื้อ ลูกเสือมา ทรงอุตสาห์ อบรม บ่มนิสัย ให้มีใจ รักชาติ ศาสนา ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา เป็นอาภา ผ่องพุทธ วุฒิไกร ดังดวงจัน ทราทิตย์ ประสิทธิแสง กระจ่างแจ้ง แจ่มภพ สบสมัย พระคุณนี้ จะสถิต สนิทใน ดวงหทัย ทวยราษฎร์ ไม่คลาดเอย รมว.ศธ.กล่าวว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งของบรรดาลูกเสือ เนตรนารี และพสกนิกรชาวชาวไทยทั้งปวง เนื่องจากวันวชิราวุธ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย บรรดาลูกเสือทุกหน่วยเหล่า ได้น้อมรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ด้วยการมาร่วมวางพวงมาลาในนาม “คณะลูกเสือแห่งชาติ” และถวายราชสดุดี กับทั้งได้เชิญชวนลูกเสือเนตรนารีทั่วทั้งประเทศมาปฏิบัติกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระองค์ท่าน ซึ่งนับเป็นประเพณีของลูกเสืออันดีงาม ที่ปฏิบัติมาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/313.html

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๓๐๔/๒๕๕๔ ประชุมหารือกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม สพฐ.

รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบแนวคิดและนโยบายในการจัดการศึกษาตาม ๙ ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือ ๑) การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ๒) การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้ ๓) การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ ๔) การพัฒนาครูทั้งระบบ ๕) การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ๖) การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ ๗) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ๘) การส่งเสริมการมีงานทำ ๙) การบริหารจัดการกลยุทธ์ของ ศธ. นอกจากนี้ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ร่วมกัน โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ เช่น มองการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นธรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับงบประมาณมาจำนวนเท่าใดก็จะหารเท่ากันหมด จึงได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อต้องการให้ดูแลกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา หรือเด็กยากจนมากขึ้น โดยจะพัฒนาระบบการจัดการศึกษาพิเศษ ให้เป็นระบบและสอดคล้องกับตัวเด็กเองมากขึ้น เช่น เด็กหูหนวก ซึ่งไม่ไ่ด้รับผลกระทบทางด้านเสียงนั้น หากมีความต้องการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถจัดการเรียนรู้โดยนำอาชีพจริงๆ ไปสอนเด็กได้เลย และยังมีการศึกษาทางเลือก (Alternative Education) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต้องการให้เพิ่มวิทยาการต่่างๆ เข้าไปให้สามารถ "สร้า้งนวัตกร เพื่อสร้างนวัตกรรม" ต่อไปได้ เพราะถือว่าเป็นระบบการศึกษาอีกแบบหนึ่งที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เช่น โรงเรียนวิถีธรรม โรงเรียนวิถีธรรมชาติ การสอนแบบ Home-Based Learning หรือ Home-School เป็นต้น ประเด็นสำคัญที่มีความคิดเห็นสนับสนุนนโยบายของ ศธ. คือ การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ที่ ศธ.จะต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กพูดและสื่อสารได้จริง รวมทั้งประเด็นคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยในการเรียนรู้ภาษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครู สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับเด็กพิการด้วยนั้น ทาง ศธ.ได้รับทราบและจะให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาในวันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายนนี้ เพราะจะมีการประชุมพิจารณาเนื้อหา (Content) ที่จะบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตของ ศธ. จึงขอเชิญชวนให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการเผยแพร่และพัฒนา Content เข้าร่วมประชุมและนำเสนอได้ในช่วงเวลาดังกล่าว อนึ่ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ราย คือ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการ นายสุกิจ เดชโภชน์ ผู้แทนองค์กรเอกชน นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายสมศักดิ์ โล่ห์เลขา ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งหมด ๑๓ ราย ได้แก่นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายมังกร กุลวานิช ศ.พันตำรวจตรี ยงยุทธ สารสมบัติ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นายสำรวม พฤกษ์เสถียร นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ นายดิเรก พรสีมา นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นายมานิจ สุขสมจิตร นายสุชาติ เมืองแก้ว และพระธรรมโกศาจารย์ รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมถึง "นโยบายครูคืนถิ่น" ด้วยว่า เป็นนโยบายสำคัญที่ตนต้องการให้ครูผู้สอนที่จากบ้านมานานได้ย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเอง หรือภูมิลำเนาของคู่สมรส หรือภูมิลำเนาของบิดามารดา โดยได้มอบหมายให้ สพฐ.ทำการสำรวจจำนวนครูทั้งหมดที่จะขอย้าย เพื่อเป็นข้อมูลว่าจะมีครูย้ายกลับในพื้นที่ใดและสาขาวิชาใดบ้าง เพื่อให้ สพฐ.วางแผนหมุนเวียนครูมาทดแทนอัตราว่างได้ทันโดยไม่กระทบในช่วงเปิดภาคเรียน ดังนั้น จึงขอให้ครูผู้สอนที่มีความประสงค์จะขอย้าย ได้แจ้งความจำนงขอย้ายได้ที่ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ดังนั้นเมื่อครบกำหนดแล้ว หากไม่แจ้งความจำนงขอย้าย ก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/304.html

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 306/2554 ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 9/2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย "ครูคืนถิ่น" รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีย้ายครูคืนถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายที่สำคัญ คือ • ใช้เฉพาะสายงานการสอน ให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยกำหนดเพิ่มเติมในการย้ายกรณีพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 โดยไม่ต้องยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายดังกล่าว • คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ต้องเป็นการขอย้ายกลับภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง หรือกลับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของคู่สมรส หรือของบิดามารดาของตนเอง • ให้ยื่นคำร้องขอย้ายผ่านต้นสังกัดได้ครั้งเดียว ภายในเดือนธันวาคม 2554 เท่านั้น • รายละเอียดต่างๆ ศธ.จะมีการเปิดตัวโครงการ “ครูคืนถิ่น” ในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา โดยมอบอำนาจให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการแทน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล โดยมีสาระสำคัญ คือ จะต้องเป็นความสมัครใจของผู้สอบแข่งขัน และจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและยินยอมให้ย้าย และจะต้องย้ายมาดำรงตำแหน่งเดิม รับเงินเดือนอันดับ และขั้นเดิม แต่ไม่สูงกว่าอันดับและขั้นสูงสุดของเงินเดือนในอันดับสำหรับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ สำหรับครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมฯ ให้ดำเนินการต่อในหน่วยงานการศึกษา ________________________________________ เห็นชอบให้นำผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มาเป็นองค์ประกอบพิจารณาการย้าย ที่ประชุมเห็นชอบให้ให้นำผลการปฏิบัติงานตามนโยบายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ที่ประสบผลสำเร็จ มาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาย้ายได้ โดยให้ใช้พิจารณาการย้ายสำหรับผู้ที่ยื่นคำขอ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว8/2549 ตั้งแต่วันที่ 1-15กุมภาพันธ์ 2555 และผู้ที่ยื่นคำขอย้ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว 9/2554 ตั้งแต่วันที่ 1-15 สิงหาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ บรรจุและแต่งตั้ง ผอ.สถานศึกษา และรอง ผอ.สถานศึกษา ในพื้นที่ปกติ และในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ในพื้นที่ปกติและในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะบ้าย้อย เทพา และนาทวี) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ • หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดนี้ ให้ใช้กับทุกส่วนราชการ • การสรรหาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีสอบคัดเลือก และวิธีคัดเลือก • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหา ไว้ต่างกัน ดังนี้ กลุ่มสอบคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง กลุ่มคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตามมาตรฐานตำแหน่งบวกเพิ่มประสบการณ์และวิทยฐานะ • หลักสูตรการประเมิน 1) กลุ่มสอบคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก. ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร ความรู้ความสามารถทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และภาค ข. ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ 2) กลุ่มคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก ประเมินจากผลงานที่ประสบความสำเร็จ ภาค ข ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ • เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ผ่านการประเมิน ภาค ก และ ภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 • ผู้รับผิดชอบการประเมิน 1) พื้นที่ปกติ การประเมินภาค ก ทั้งกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือก ให้ สพฐ.ดำเนินการประเมิน ส่วนการประเมินภาค ข ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยต้องกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้งสำหรับกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกให้ใกล้เคียงกัน 2) เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประเมินทั้งภาค ก และภาค ข กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างกลุ่มสอบคัดเลือก ร้อยละ 30 และกลุ่มคัดเลือก ร้อยละ 70 กรณีที่กำหนดสัดส่วนแตกต่างจากที่กำหนดให้เสนอส่วนราชการพิจารณา • การประกาศขึ้นบัญชี พื้นที่ปกติ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกภาค ข แยกเป็น 2 กลุ่ม ตามลำดับผลคะแนนจากมากไปหาน้อย พื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินภาค ก และ ภาค ข และปฏิบัติเช่นเดียวกับพื้นที่ปกติ • การประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นบัญชีรวม ภาค ข และการยกเลิกบัญชีรวม ภาค ข หลังจากบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับผลคะแนนทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ให้ประกาศขึ้น บัญชีรวมเป็นบัญชีเดียว โดยนำรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกที่เหลือมาจัดลำดับใหม่ตามคะแนนผลการประเมินภาค ข จากมากไปหาน้อย เพื่อใช้บรรจุและแต่งตั้งต่อไป โดยบัญชีรวม ภาค ข จะมีอายุเท่ากับบัญชี ภาค ก • การบรรจุและแต่งตั้ง ให้บรรจุและแต่งตั้งครั้งแรกจากผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับในบัญชีกลุ่ม สอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกตามจำนวนตำแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัคร หากมีตำแหน่งว่างเพียง 1 ตำแหน่ง ให้เรียกบรรจุจัดบัญชีสอบคัดเลือกก่อน สำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เรียกบรรจุจากบัญชีคัดเลือกก่อน หลังการบรรจุและแต่งตั้งครั้งแรก ให้เรียกบรรจุจากผู้ได้รับคัดเลือกจากบัญชีรวม ภาค ข • เงื่อนไขพิเศษพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง และให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธินับระยะเวลาทวีคูณ ในการคำนวณระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของหน่วยงานการศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้ใช้การสอบ 3 ภาค ตามหลักสูตรที่ ก.พ.กำหนด ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ส่วนเกณฑ์การตัดสิน ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และคะแนนรวม 3ภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้ายออกจากพื้นที่ ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ จากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารจัดการศึกษา และหลักเกณฑ์ ว5/2554 หรือที่เรียกกันว่าเกณฑ์เชิงประจักษ์นั้น การประเมินทั้ง 2 หลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ขอรับการประเมินจะได้รับการประเมินใน 3 ด้าน แต่ที่ผ่านมาพบว่าข้าราชการครูฯ มีความวิตกกังวลกับการจัดทำผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ประกอบด้วยผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดความชำนาญในการวิจัยหรือการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานในรูปแบบของผลงานทางวิชาการ ส่งผลให้ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ทั้งยังอาจส่งผลถึงปัญหาการจ้างทำผลงานทางวิชาการ ลอกเลียน หรือคัดลอกผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงานทางวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น ศธ.จึงมีนโนบายในการประเมินข้าราชการครูฯ ให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยเน้นไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงต้องการให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมวิชาการต่างๆ ที่ใกล้ชิดกับสถานศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินมากขึ้น ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นชอบในหลักการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว คือ • ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสนอแนวทางการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานและผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีผลผลิตและผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ • ให้ส่วนราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอแนวทางในการพัฒนางาน เช่น กำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการครูฯ ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผล สัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น • กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นวิธีการประเมินตามสภาพจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมินหลังจากการยื่น MOU แล้ว เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะ คือ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 3 ปี • เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน เช่น ให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมทางวิชาการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน • ก.ค.ศ. จะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดของการทำ MOU • ข้าราชการครูฯ ผู้ใดย้ายระหว่างช่วงเวลาของ MOU ถือว่าข้าราชการครูฯ ผู้นั้นสละสิทธิ์การขอรับการประเมิน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้จัดทำเกณฑ์การประเมิน โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์ประเมินของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในเชิง Fast Track ที่มุ่งเน้นการจัดทำผลงานทางวิชาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ________________________________________ เห็นชอบการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตาม ว5 จากการที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.3/ว 5 ลงวันที่ 12 เมษายน2554 โดยเห็นชอบให้ส่วนราชการต้นสังกัดเสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยเรียงลำดับคุณภาพของผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์และองค์ประกอบอื่นตามความเหมาะสม และให้เสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวได้เพียง 1 ครั้งในคราวเดียวกัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 กันยายน2554 หลังจากนั้นให้สำนักงาน ก.ค.ศ.นำข้อมูลผู้ขอรับการประเมินเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการประเมิน ติดตามการประเมินและสรุปรายงานเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้เหมาะสมต่อไป ขณะนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับคำขอให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะฯ รวม 451 ราย จำแนกเป็นผู้ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 184ราย และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ 267 ราย ซึ่งได้พิจารณาจำนวนคำขอดังกล่าวแล้ว เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการประเมินได้ทั้งหมด ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ดำเนินการประเมินคำขอทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัดเลือก และพิจารณาคำร้องคัดค้านแล้ว ________________________________________ เห็นชอบให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับกับบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ที่ประชุมเห็นชอบการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตามประเภทสายงาน และระดับตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 20 สายงาน ดังนี้ 1) ตำแหน่งประเภททั่วไป 8 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน คือ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานห้องสมุด เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นายช่างไฟฟ้า นายช่างโยธา พยาบาลเทคนิค ส่วนตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-อาวุโส คือ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี และเจ้าพนักงานพัสดุ 2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ 12 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ คือ นิติกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ คือ นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักประชาสัมพันธ์ บรรณารักษ์ และพยาบาลวิชาชีพ ________________________________________ เห็นชอบจัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่แทน ก.พ.7 สามารถพิมพ์ได้เองที่สถานศึกษา ที่ประชุมเห็นชอบร่างระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ... ซึ่งมีข้อดีคือ จะทำให้ระบบทะเบียนประวัติทั้งระบบเอกสาร และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพบว่าครูจำนวนกว่า5 แสนคนทั่วประเทศ ต้องออกจากห้องเรียนมาทำธุรกรรมส่วนตัวในการขอสำเนา ก.พ.7 เฉลี่ย 2 วันต่อ 1 คนต่อปี ดังนั้นหากยังใช้ระบบ ก.พ.7 แบบเดิม ใน 1 ปีจะมีครูออกจากห้องเรียนถึง 1 ล้านวัน แต่หากใช้ระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ (CMSS) ครูสามารถพิมพ์ทะเบียนประวัติได้ที่สถานศึกษา โดยการรับรองของผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษาและทุกส่วนราชการ จัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ________________________________________ อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่ประชุมอนุมัติตั้งนายมณี มวมขุนทด ครูชำนาญการพิเศษ รร.บ้านห้วยจรเข้ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และนายโกมล บัณฑิตเดช นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/306.html

ยินดีกับท่านดร.อุดม พรมพันธ์ใจ

ขอร่วมแสดงความยินดีกับท่าน ดร.อุดม พรมพันธ์ใจ ในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษาตำแหน่งเลขที่ 28 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันศุกร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 อ้างอิงจาก http://www.tup.ac.th/tup/

ย้ายผอ.สพม.31 ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านครับ

สพม.31 มีคำสั่งย้ายผู้บริหารสถานศึกษาไปแล้ว ยินดีกับทุกท่านที่ได้ไปรับตำแหน่งยังสถานศึกษาใหม่ทุกท่าน ทั้งผู้อำนวยการและท่านรองผู้อำนวยการ ทุกท่านครับ ยินดีกับผอ.พลัดถิ่นด้วยครับ
ผู้อำนวยการวิวัฒน์ชัย เศรษฐชัย ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยา เดินทางไปรับตำแหน่งวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 รายละเอียดเพิ่มเติมการย้ายที่นี่ครับ http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=2&id=9255&Itemid=75

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประกาศสอบ GAT-PAT และวันสอบ O-NET

ประกาศเลื่อนการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2555
ประกาศ เรื่อง O-NET วันสอบ เอกสารที่ใช้แสดงเป็นหลักฐานในวันสอบ (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือ (2) บัตรนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือ (3) บัตรที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่าย (บัตรยังไม่หมดอายุ) อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำข้อสอบ (1) ดินสอดำ 2B (2) ยางลบ (3) ปากกา ประกาศ เรื่อง O-NET เกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูลนักเรียน 1. กรณี ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ไม่ถูกต้อง สทศ. มีแบบคำขอแก้ไขข้อมูล (สทศ. 6) โดยสามารถ Download แบบฟอร์ม (คลิกที่นี้) ทั้งนี้ขอให้โรงเรียนแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียนมาด้วย แล้วนำเอกสารมายื่นได้ที่สนามสอบ โดย สทศ. ทำการแก้ไขให้ถูกต้องในวันประกาศผลสอบ 2. ห้ามแจ้งลดข้อมูลเด็กนักเรียนที่ข้อมูลผิด (ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขนักเรียน) เข้ามาในระบบ แล้วทำการแจ้งเพิ่มข้อมูลเด็กที่ถูกต้องเข้ามา เพราะจะทำให้ข้อมูลซ้ำซ้อนและเด็กไม่มีเลขที่นั่งสอบ ให้ใช้วิธีการแก้ไขดังข้อ
อ้างอิงจาก http://www.niets.or.th/ http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/16/3bef5af000a0fd6ea6988a4cbbeed847.pdf http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/16/269699474d44d971c712edd4ccb2467f.pdf สทศ. เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-217-3800 (อัตโนมัติ 100 คู่สาย) โทรสาร 02-219-2996 e-mail : webmaster@niets.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรงเรียนมหิศราธิบดีรับป้ายพระราชทานสนองพระราชดำริ"สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"2554

(ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ร่วมแสดงความยินดี) โรงเรียนมหิศราธิบดี โดยท่านผู้อำนวยการเอื้อ ทรวงโพธิ์ คณะครูโรงเรียนมหิศราธิบดีเข้ารับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริ "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2554 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 (การประชุมวิชาการนิทรรศการ ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2554 ที่ศูนย์ฝึกหนองระเวียงมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนสมาชิกพฤกษศาตร์โรงเรียน ที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร ป้ายสนองพระราชดำริ ร่วมแสดงนิทรรศการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 186 โรง) ความสำเร็จครั้งนี้โดยความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้างทุกคนจึงส่งผผลให้โรงเรียนได้รับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริ ในครั้งนี้ ด้วยความชื่นชมขอชาว มธ.

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์ by prasitporn 1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก
2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 2000 กิโลเมตร
3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง 4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน ดาวนิวตรอน (Neutron star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมาก มีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยกฎของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน
5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก
6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซึ่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน
7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง
8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแ สงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า
9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย 10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์
11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต 12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร 13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต
14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน 15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน 16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี 17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์ 18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน 19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน
20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่ อ้างอิงจาก http://blog.school.net.th/blogs/prasitporn.php/2009/05/25/science

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“วรวัจน์” ชูแนวคิด 1 จังหวัด 1 เขตมัธยม 1 เขตประถม

“วรวัจน์” ชูแนวคิด 1 จังหวัด 1 เขตมัธยม 1 เขตประถม สั่ง สพฐ.ทบทวนการแบ่งเขตพื้นที่มัธยมและประถมใหม่ ชี้ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวขึ้น ระบุ การแบ่งที่ผ่านมาไม่เหมาะสม เพราะได้ดูแลขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ไม่เท่ากันส่งผลต่อการบริหาร นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาที่ผ่านมาที่แบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 42 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 175 เขต พบปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะ สพม.นั้น มีหลายเขตพื้นที่การศึกษาที่มีการบริหารจัดการบริหารจัดการคร่อมกันอยู่หลายเขต ทำให้จังหวัดเล็กหรือจังหวัดที่ไม่เป็นที่ตั้งของสำนักงานอาจจะถูกละเลย ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงมีแนวคิดว่าควรจะปรับปรุงการแบ่งเขตโดยเฉพาะ สพม.จากที่มี 42 เขต อาจจะปรับโดยให้ยึดเขตจังหวัด ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดูว่าจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเหล่านี้ และการทำงานเกิดความคล่องตัวได้ โดยให้ไปดูในเรื่องของการเพิ่มเขตหรือแบ่งเขตให้เหมาะสมที่สุด “เช่นเดียวกัน ในส่วนของ สพป.ก็ให้ไปดูว่าเขตพื้นที่ใดที่มีพื้นที่การดูแลที่กว้างใหญ่เกินไปจนเกิดความไม่เหมาะสม ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ทาง สพฐ.ก็สามารถเสนอขอปรับลดหรือเพิ่มเขตพื้นที่มาได้ ซึ่งที่ผ่านมา มีความพยายามจะให้ทบทวนเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด เช่น ใน 1 จังหวัด มี สพป.เขต 1-2 อาจจะให้เหลือเพียงเขตเดียว หรือในส่วน สพม.จากที่กำหนดว่า 2 จังหวัดถือเป็น 1 เขตพื้นที่ อาจจะปรับให้เป็น 1 จังหวัดต่อ 1 เขตพื้นที่เพื่อให้เกิดการกระจายของทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ” นายวรวัจน์ กล่าว เมื่อถามว่า โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือโรงเรียนขนาดเล็กจะเดินทางมา ติดต่อทางเขตพื้นที่ได้ลำบากมากขึ้นหรือไม่นั้น นายวรวัจน์ ชี้แจงว่า เนื่องจากขณะนี้การแบ่งเขตพื้นที่ฯยังไม่มีความเหมาะสมจนทำให้เกิดปัญหา เรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งคิดว่าเมื่อปรับโดยให้ยึดตามเขตจังหวัดน่าจะมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ในส่วนของการจัดสรรงบประมาณนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงเดิมทุกประการ เช่นเดียวกับจำนวนโรงเรียน จำนวนบุคลากรที่มีอยู่ในพื้นที่เดิมก็ไม่เปลี่ยน เพียงแต่ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อดูแลโรงเรียนที่ถูกทอดทิ้งได้อย่างทั่วถึง อ้่างอิงจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126932

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๒๔๓/๒๕๕๔ มติ ครม. ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รับไปพิจารณาผลกระทบให้กับข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำหนดมาตรการเสริมและแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ให้ ก.พ.รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป สาระสำคัญของร่างระเบียบ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ๑) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ๒) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่เกินเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีที่เคยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ ๑๒,๒๘๕ บาท ให้ได้รับตามสิทธิเดิมต่อไป แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน ๔ ราย ดังนี้ ๑) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ๒) นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ๓) นายอนันต์ ระงับทุกข์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ๔) นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/sep/243.html

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ครบ 1 ปีกับการเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31

จากวันที่ 6 กันยายน 2553 วันเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ก็ครบ 1 ปีไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554ที่ผ่านมา กับกิจกรรมที่หนาแน่มาก ดังนี้ 1. 4-10 กันยายน 2554 กิจกรรมกีฬา สพฐ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. 7-8 กันายน 2554 การอบรมครูผู้ช่วยที่บรรจุใหม่ ณ โรงแรมสบาย 3. 8-9 กันยายน 2554 การอบรมโรงเรียนมาตรฐานสากล(15 โรงเรียนที่จะดำเนินการในปีการศึกษา 2555) 4. 16-17 กันยายน 2554 การแข่งขันวิชาการศิลปหัถกรรม สพม.31 และสพป.นม.1-7 เพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัด 5. 16-17 กันยายน 2554 "Best Practice ครู...สู่สุดยอดเด็กไทย ก้าวไกลในอาเซียน" ณ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 6. 18-20 กันยายน 2554 สัมมนา "World-Class Standard Schools Northeastern Regional Symposium : Partnerships & Foreign Language Learning Conference" 18-20 September 2011 Suranaree University Technology ต้องชื่นชมโรงเรียนทุกโรงเรียนที่เข้าจัดกิจกรรมได้อย่างน่าประทับใจมาก หลายโรงเรียนเดินทางมาไกล และนักเรียนที่ให้คำแนะนำได้อย่างดี เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ ภาษาจีนมีมากมายทุกโรงเรียน ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ ต้องยกมือให้สุดยอดมากเลยครับ เสียดายผู้ปกครองกับชุมชนเดินทางไปลำบากมาก เลยไม่ได้เห็นสิ่งดี ๆ ที่การศึกษาจะก้าวไปสู่สากล 7. กิจกรรมมุทิตาจิต กับท่านผู้อำนวยการโรงเรียน 8 โรงเรียน รองผู้อำนวยการและคุณครูที่เกษียณอายุราชการ ปี 2554 ซึ่งเป็นความยินดีกับทุกท่านที่ได้สร้างเยาวชนของชาติ ได้อย่างภาคภูมิใจ สง่างาม ยังเป็นบทพิสูจน์การดำเนินงาน ความท้าทายในการพัฒนาการจัดการศึกษาสู่คุณภาพต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แสดงความคิดเห็น แนะนำ เกี่ยวกับร่าง..พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ...

ขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ ร่าง..พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ... แสดงความคิดเห็น แนะนำ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว หากท่านต้องการแสดงความคิดเห็น แนะนำ กรุณาใช้บริการ “แสดงความคิดเห็น” ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔

ที่นี่เลยครับ
http://203.146.206.27/comment5408/comment5408_add.php

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ.เข้ารับตำแหน่ง

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ และนายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งพบผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
รมว.ศธ.ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การบริหารงานของ ศธ.ต่อจากนี้ จะเป็นรูปแบบของการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีงานทำ โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัด และการทำงานในหน่วยงานของ ศธ.จะต้องทำงานแบบบูรณาการ คือ ทั้งมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน. และโรงเรียนเอกชน จะต้องดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

- การบริหารงานแบบรายพื้นที่ จะทำให้ในหนึ่งจังหวัดมีมหาวิทยาลัยที่ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยวางแผน นำงานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้อาชีวศึกษา ทั้งในด้านการเกษตรที่จะต้องเพาะปลูกตามศักยภาพของจังหวัด เทคนิคการแปรรูปสินค้า การตลาดที่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในแต่ละจังหวัดของภูมิภาค จากนั้นมีการพัฒนาหลักสูตร และนำไปปรับพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาด้วย เมื่อดำเนินการดังนี้จะทำให้ผู้จบการศึกษามีแนวทางตั้งแต่ก่อนจบ จบมาแล้วมีงานทำ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ฝึกประสบการณ์อย่างแท้จริง และสำหรับผู้ที่มุ่งหวังจะเรียนวิชาการชั้นสูงในส่วนกลางนั้น ก็จะมีระบบคัดเลือกสอบกรองเพื่อเข้าเรียนตามสาขาวิชาที่ต้องการ ขณะนี้ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีในพื้นที่ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มุ่งเน้นการฝึกอาชีพมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการประกอบอาชีพระยะสั้น โดยจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) ให้เข้าไปดูแลในพื้นที่เพื่อซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร หากในพื้นที่ใดประสงค์จะให้ ศธ.ช่วยเหลือ ก็ขอให้แจ้งมา เพื่อ ศธ.จะลงไปช่วยเหลือดูแลได้ทันที

- การศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบของวัฒนธรรม ประเพณี และศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้รูปแบบการศึกษามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลให้คนในพื้นที่และจังหวัดตอบรับกับรูปแบบการศึกษาและมีส่วนร่วมมากขึ้น

- การใช้ Tablet เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนการสอน ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา และมัธยมศึกษา พิจารณาศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดว่า มีหลักสูตร เนื้อหาที่จะสอนให้คนมีงานทำได้อย่างไร จากนั้นจะประมวลผลการศึกษาเพื่อผลิตเนื้อหา (Content) โดยอาจจะดึงความรู้จากส่วนกลาง จากงานวิจัยต่างๆ มาใช้ด้วย และได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศึกษาคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ของ Tablet ที่จะให้นักเรียนใช้ พร้อมทั้งรายงานมายัง รมว.ศธ.อีกครั้งด้วย

- การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา จะจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้ดูแลในแต่ละพื้นที่มากกว่าการรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพราะพิจารณาเห็นว่าพื้นที่ควรจะมีอำนาจในการตัดสินใจและใช้ดุลยพินิจในการพัฒนาจังหวัดของตนเอง

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/aug/209.html

ประวัติและผลงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล


อ้างอิงจากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24566&Key=news_surapong

ประวัติและผลงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางบุญรื่น ศรีธเรศ


อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24565&Key=news_boonreon

ประวัติรมต.ศึกษาธิการคนใหม่

ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2502

ที่อยู่ติดต่อ 3/153 หรรษาเรสซิเด้นท์ ซ.มหาดเล็กหลวง 2
ถ.ราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

e-mail : woravat1@hotmail.com

ดาวน์โหลดไฟล์ภาพต้นฉบับของรัฐมนตรี

ประวัติการศึกษา ปริญญาโท : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ปริญญาตรี : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติการทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (9 ส.ค.2554 - ปัจจุบัน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (24 ก.ย.2551 - 19 ธ.ค.2551)

ประธานคณะอนุกรรมการธิการพิจารณางบประมาณด้านการฝึกอบรมสัมมนาประชาสัมพันธ์,
ค่าจ้างที่ปรึกษาการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ของสภาผู้แทนราษฎร

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม

เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

ผลงาน
ด้านการเมือง 24 พ.ย. 2539 - 27 มิ.ย. 2543 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

6 ม.ค. 2544 - 6 ม.ค. 2548 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

6 ก.พ. 2548 - 6 ก.พ. 2549 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

26 ม.ค. 2551 - 2554 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 1

ปัจจุบัน : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพร่ เขต 3

เครื่องราช
อิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2551

อ้างอิงจากhttp://www.moe.go.th/websm/minister/woravat.htm

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่
ความหมาย
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

อ้างอิงจาก http://webserv.kmitl.ac.th/~s7035655/index4.html

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔

ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ที่ประชุมอนุมัติตั้งบุคคล ๙ ราย เป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง
การบรรจุบุคคลกลับเข้ารับราชการ
ที่ประชุมอนุมัติให้บรรจุ นายสุริยนต์ วะสมบัติ กลับเข้ารับราชการ จากการที่ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ วิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ โดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ค.ศ.และขั้นเงินเดือนเดิม

การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ

ที่ประชุมอนุมัติให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค.(๒) ตามหลักสูตรที่กำหนด เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตที่ดำเนินการสอบแข่งขันในครั้งนี้ใช้ในการสอบ

การขยายเวลาการยื่นคำขอประเมินวิทยฐานะ

ที่ประชุมรับทราบมติของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นคำขอประเมินวิทยฐานะ จากเดิมที่กำหนดให้ส่วนราชการต่างๆ เสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ เป็นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ มีมติให้ส่วนราชการต่างๆ เสนอรายชื่อและเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/jul/204.html