นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ.เข้ารับตำแหน่ง

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ และนายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งพบผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
รมว.ศธ.ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การบริหารงานของ ศธ.ต่อจากนี้ จะเป็นรูปแบบของการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีงานทำ โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัด และการทำงานในหน่วยงานของ ศธ.จะต้องทำงานแบบบูรณาการ คือ ทั้งมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน. และโรงเรียนเอกชน จะต้องดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

- การบริหารงานแบบรายพื้นที่ จะทำให้ในหนึ่งจังหวัดมีมหาวิทยาลัยที่ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยวางแผน นำงานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้อาชีวศึกษา ทั้งในด้านการเกษตรที่จะต้องเพาะปลูกตามศักยภาพของจังหวัด เทคนิคการแปรรูปสินค้า การตลาดที่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในแต่ละจังหวัดของภูมิภาค จากนั้นมีการพัฒนาหลักสูตร และนำไปปรับพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาด้วย เมื่อดำเนินการดังนี้จะทำให้ผู้จบการศึกษามีแนวทางตั้งแต่ก่อนจบ จบมาแล้วมีงานทำ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ฝึกประสบการณ์อย่างแท้จริง และสำหรับผู้ที่มุ่งหวังจะเรียนวิชาการชั้นสูงในส่วนกลางนั้น ก็จะมีระบบคัดเลือกสอบกรองเพื่อเข้าเรียนตามสาขาวิชาที่ต้องการ ขณะนี้ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีในพื้นที่ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มุ่งเน้นการฝึกอาชีพมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการประกอบอาชีพระยะสั้น โดยจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) ให้เข้าไปดูแลในพื้นที่เพื่อซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร หากในพื้นที่ใดประสงค์จะให้ ศธ.ช่วยเหลือ ก็ขอให้แจ้งมา เพื่อ ศธ.จะลงไปช่วยเหลือดูแลได้ทันที

- การศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบของวัฒนธรรม ประเพณี และศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้รูปแบบการศึกษามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลให้คนในพื้นที่และจังหวัดตอบรับกับรูปแบบการศึกษาและมีส่วนร่วมมากขึ้น

- การใช้ Tablet เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนการสอน ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา และมัธยมศึกษา พิจารณาศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดว่า มีหลักสูตร เนื้อหาที่จะสอนให้คนมีงานทำได้อย่างไร จากนั้นจะประมวลผลการศึกษาเพื่อผลิตเนื้อหา (Content) โดยอาจจะดึงความรู้จากส่วนกลาง จากงานวิจัยต่างๆ มาใช้ด้วย และได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศึกษาคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) ของ Tablet ที่จะให้นักเรียนใช้ พร้อมทั้งรายงานมายัง รมว.ศธ.อีกครั้งด้วย

- การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา จะจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้ดูแลในแต่ละพื้นที่มากกว่าการรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพราะพิจารณาเห็นว่าพื้นที่ควรจะมีอำนาจในการตัดสินใจและใช้ดุลยพินิจในการพัฒนาจังหวัดของตนเอง

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/aug/209.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น