นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๓๐๔/๒๕๕๔ ประชุมหารือกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม สพฐ.

รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบแนวคิดและนโยบายในการจัดการศึกษาตาม ๙ ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือ ๑) การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ๒) การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้ ๓) การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ ๔) การพัฒนาครูทั้งระบบ ๕) การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ๖) การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ ๗) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ๘) การส่งเสริมการมีงานทำ ๙) การบริหารจัดการกลยุทธ์ของ ศธ. นอกจากนี้ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ร่วมกัน โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ เช่น มองการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นธรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับงบประมาณมาจำนวนเท่าใดก็จะหารเท่ากันหมด จึงได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อต้องการให้ดูแลกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา หรือเด็กยากจนมากขึ้น โดยจะพัฒนาระบบการจัดการศึกษาพิเศษ ให้เป็นระบบและสอดคล้องกับตัวเด็กเองมากขึ้น เช่น เด็กหูหนวก ซึ่งไม่ไ่ด้รับผลกระทบทางด้านเสียงนั้น หากมีความต้องการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถจัดการเรียนรู้โดยนำอาชีพจริงๆ ไปสอนเด็กได้เลย และยังมีการศึกษาทางเลือก (Alternative Education) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต้องการให้เพิ่มวิทยาการต่่างๆ เข้าไปให้สามารถ "สร้า้งนวัตกร เพื่อสร้างนวัตกรรม" ต่อไปได้ เพราะถือว่าเป็นระบบการศึกษาอีกแบบหนึ่งที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เช่น โรงเรียนวิถีธรรม โรงเรียนวิถีธรรมชาติ การสอนแบบ Home-Based Learning หรือ Home-School เป็นต้น ประเด็นสำคัญที่มีความคิดเห็นสนับสนุนนโยบายของ ศธ. คือ การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ที่ ศธ.จะต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กพูดและสื่อสารได้จริง รวมทั้งประเด็นคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยในการเรียนรู้ภาษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครู สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับเด็กพิการด้วยนั้น ทาง ศธ.ได้รับทราบและจะให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาในวันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายนนี้ เพราะจะมีการประชุมพิจารณาเนื้อหา (Content) ที่จะบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตของ ศธ. จึงขอเชิญชวนให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการเผยแพร่และพัฒนา Content เข้าร่วมประชุมและนำเสนอได้ในช่วงเวลาดังกล่าว อนึ่ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ราย คือ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการ นายสุกิจ เดชโภชน์ ผู้แทนองค์กรเอกชน นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายสมศักดิ์ โล่ห์เลขา ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งหมด ๑๓ ราย ได้แก่นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายมังกร กุลวานิช ศ.พันตำรวจตรี ยงยุทธ สารสมบัติ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นายสำรวม พฤกษ์เสถียร นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ นายดิเรก พรสีมา นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นายมานิจ สุขสมจิตร นายสุชาติ เมืองแก้ว และพระธรรมโกศาจารย์ รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมถึง "นโยบายครูคืนถิ่น" ด้วยว่า เป็นนโยบายสำคัญที่ตนต้องการให้ครูผู้สอนที่จากบ้านมานานได้ย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเอง หรือภูมิลำเนาของคู่สมรส หรือภูมิลำเนาของบิดามารดา โดยได้มอบหมายให้ สพฐ.ทำการสำรวจจำนวนครูทั้งหมดที่จะขอย้าย เพื่อเป็นข้อมูลว่าจะมีครูย้ายกลับในพื้นที่ใดและสาขาวิชาใดบ้าง เพื่อให้ สพฐ.วางแผนหมุนเวียนครูมาทดแทนอัตราว่างได้ทันโดยไม่กระทบในช่วงเปิดภาคเรียน ดังนั้น จึงขอให้ครูผู้สอนที่มีความประสงค์จะขอย้าย ได้แจ้งความจำนงขอย้ายได้ที่ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ดังนั้นเมื่อครบกำหนดแล้ว หากไม่แจ้งความจำนงขอย้าย ก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/304.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น