นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 306/2554 ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 9/2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย "ครูคืนถิ่น" รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีย้ายครูคืนถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายที่สำคัญ คือ • ใช้เฉพาะสายงานการสอน ให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยกำหนดเพิ่มเติมในการย้ายกรณีพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 โดยไม่ต้องยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายดังกล่าว • คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ต้องเป็นการขอย้ายกลับภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง หรือกลับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของคู่สมรส หรือของบิดามารดาของตนเอง • ให้ยื่นคำร้องขอย้ายผ่านต้นสังกัดได้ครั้งเดียว ภายในเดือนธันวาคม 2554 เท่านั้น • รายละเอียดต่างๆ ศธ.จะมีการเปิดตัวโครงการ “ครูคืนถิ่น” ในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา โดยมอบอำนาจให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการแทน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล โดยมีสาระสำคัญ คือ จะต้องเป็นความสมัครใจของผู้สอบแข่งขัน และจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและยินยอมให้ย้าย และจะต้องย้ายมาดำรงตำแหน่งเดิม รับเงินเดือนอันดับ และขั้นเดิม แต่ไม่สูงกว่าอันดับและขั้นสูงสุดของเงินเดือนในอันดับสำหรับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ สำหรับครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมฯ ให้ดำเนินการต่อในหน่วยงานการศึกษา ________________________________________ เห็นชอบให้นำผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มาเป็นองค์ประกอบพิจารณาการย้าย ที่ประชุมเห็นชอบให้ให้นำผลการปฏิบัติงานตามนโยบายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ที่ประสบผลสำเร็จ มาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาย้ายได้ โดยให้ใช้พิจารณาการย้ายสำหรับผู้ที่ยื่นคำขอ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว8/2549 ตั้งแต่วันที่ 1-15กุมภาพันธ์ 2555 และผู้ที่ยื่นคำขอย้ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว 9/2554 ตั้งแต่วันที่ 1-15 สิงหาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ บรรจุและแต่งตั้ง ผอ.สถานศึกษา และรอง ผอ.สถานศึกษา ในพื้นที่ปกติ และในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ในพื้นที่ปกติและในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะบ้าย้อย เทพา และนาทวี) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ • หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดนี้ ให้ใช้กับทุกส่วนราชการ • การสรรหาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีสอบคัดเลือก และวิธีคัดเลือก • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหา ไว้ต่างกัน ดังนี้ กลุ่มสอบคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง กลุ่มคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตามมาตรฐานตำแหน่งบวกเพิ่มประสบการณ์และวิทยฐานะ • หลักสูตรการประเมิน 1) กลุ่มสอบคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก. ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร ความรู้ความสามารถทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และภาค ข. ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ 2) กลุ่มคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก ประเมินจากผลงานที่ประสบความสำเร็จ ภาค ข ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ • เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ผ่านการประเมิน ภาค ก และ ภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 • ผู้รับผิดชอบการประเมิน 1) พื้นที่ปกติ การประเมินภาค ก ทั้งกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือก ให้ สพฐ.ดำเนินการประเมิน ส่วนการประเมินภาค ข ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยต้องกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้งสำหรับกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกให้ใกล้เคียงกัน 2) เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประเมินทั้งภาค ก และภาค ข กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างกลุ่มสอบคัดเลือก ร้อยละ 30 และกลุ่มคัดเลือก ร้อยละ 70 กรณีที่กำหนดสัดส่วนแตกต่างจากที่กำหนดให้เสนอส่วนราชการพิจารณา • การประกาศขึ้นบัญชี พื้นที่ปกติ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกภาค ข แยกเป็น 2 กลุ่ม ตามลำดับผลคะแนนจากมากไปหาน้อย พื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินภาค ก และ ภาค ข และปฏิบัติเช่นเดียวกับพื้นที่ปกติ • การประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นบัญชีรวม ภาค ข และการยกเลิกบัญชีรวม ภาค ข หลังจากบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับผลคะแนนทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ให้ประกาศขึ้น บัญชีรวมเป็นบัญชีเดียว โดยนำรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกที่เหลือมาจัดลำดับใหม่ตามคะแนนผลการประเมินภาค ข จากมากไปหาน้อย เพื่อใช้บรรจุและแต่งตั้งต่อไป โดยบัญชีรวม ภาค ข จะมีอายุเท่ากับบัญชี ภาค ก • การบรรจุและแต่งตั้ง ให้บรรจุและแต่งตั้งครั้งแรกจากผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับในบัญชีกลุ่ม สอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกตามจำนวนตำแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัคร หากมีตำแหน่งว่างเพียง 1 ตำแหน่ง ให้เรียกบรรจุจัดบัญชีสอบคัดเลือกก่อน สำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เรียกบรรจุจากบัญชีคัดเลือกก่อน หลังการบรรจุและแต่งตั้งครั้งแรก ให้เรียกบรรจุจากผู้ได้รับคัดเลือกจากบัญชีรวม ภาค ข • เงื่อนไขพิเศษพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง และให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธินับระยะเวลาทวีคูณ ในการคำนวณระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของหน่วยงานการศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้ใช้การสอบ 3 ภาค ตามหลักสูตรที่ ก.พ.กำหนด ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ส่วนเกณฑ์การตัดสิน ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และคะแนนรวม 3ภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้ายออกจากพื้นที่ ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ จากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารจัดการศึกษา และหลักเกณฑ์ ว5/2554 หรือที่เรียกกันว่าเกณฑ์เชิงประจักษ์นั้น การประเมินทั้ง 2 หลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ขอรับการประเมินจะได้รับการประเมินใน 3 ด้าน แต่ที่ผ่านมาพบว่าข้าราชการครูฯ มีความวิตกกังวลกับการจัดทำผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ประกอบด้วยผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดความชำนาญในการวิจัยหรือการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานในรูปแบบของผลงานทางวิชาการ ส่งผลให้ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ทั้งยังอาจส่งผลถึงปัญหาการจ้างทำผลงานทางวิชาการ ลอกเลียน หรือคัดลอกผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงานทางวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น ศธ.จึงมีนโนบายในการประเมินข้าราชการครูฯ ให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยเน้นไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงต้องการให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมวิชาการต่างๆ ที่ใกล้ชิดกับสถานศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินมากขึ้น ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นชอบในหลักการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว คือ • ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสนอแนวทางการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานและผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีผลผลิตและผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ • ให้ส่วนราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอแนวทางในการพัฒนางาน เช่น กำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการครูฯ ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผล สัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น • กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นวิธีการประเมินตามสภาพจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมินหลังจากการยื่น MOU แล้ว เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะ คือ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 3 ปี • เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน เช่น ให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมทางวิชาการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน • ก.ค.ศ. จะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดของการทำ MOU • ข้าราชการครูฯ ผู้ใดย้ายระหว่างช่วงเวลาของ MOU ถือว่าข้าราชการครูฯ ผู้นั้นสละสิทธิ์การขอรับการประเมิน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้จัดทำเกณฑ์การประเมิน โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์ประเมินของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในเชิง Fast Track ที่มุ่งเน้นการจัดทำผลงานทางวิชาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ________________________________________ เห็นชอบการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตาม ว5 จากการที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.3/ว 5 ลงวันที่ 12 เมษายน2554 โดยเห็นชอบให้ส่วนราชการต้นสังกัดเสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยเรียงลำดับคุณภาพของผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์และองค์ประกอบอื่นตามความเหมาะสม และให้เสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวได้เพียง 1 ครั้งในคราวเดียวกัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 กันยายน2554 หลังจากนั้นให้สำนักงาน ก.ค.ศ.นำข้อมูลผู้ขอรับการประเมินเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการประเมิน ติดตามการประเมินและสรุปรายงานเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้เหมาะสมต่อไป ขณะนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับคำขอให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะฯ รวม 451 ราย จำแนกเป็นผู้ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 184ราย และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ 267 ราย ซึ่งได้พิจารณาจำนวนคำขอดังกล่าวแล้ว เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการประเมินได้ทั้งหมด ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ดำเนินการประเมินคำขอทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัดเลือก และพิจารณาคำร้องคัดค้านแล้ว ________________________________________ เห็นชอบให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับกับบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ที่ประชุมเห็นชอบการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตามประเภทสายงาน และระดับตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 20 สายงาน ดังนี้ 1) ตำแหน่งประเภททั่วไป 8 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน คือ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานห้องสมุด เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นายช่างไฟฟ้า นายช่างโยธา พยาบาลเทคนิค ส่วนตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-อาวุโส คือ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี และเจ้าพนักงานพัสดุ 2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ 12 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ คือ นิติกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ คือ นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักประชาสัมพันธ์ บรรณารักษ์ และพยาบาลวิชาชีพ ________________________________________ เห็นชอบจัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่แทน ก.พ.7 สามารถพิมพ์ได้เองที่สถานศึกษา ที่ประชุมเห็นชอบร่างระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ... ซึ่งมีข้อดีคือ จะทำให้ระบบทะเบียนประวัติทั้งระบบเอกสาร และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพบว่าครูจำนวนกว่า5 แสนคนทั่วประเทศ ต้องออกจากห้องเรียนมาทำธุรกรรมส่วนตัวในการขอสำเนา ก.พ.7 เฉลี่ย 2 วันต่อ 1 คนต่อปี ดังนั้นหากยังใช้ระบบ ก.พ.7 แบบเดิม ใน 1 ปีจะมีครูออกจากห้องเรียนถึง 1 ล้านวัน แต่หากใช้ระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ (CMSS) ครูสามารถพิมพ์ทะเบียนประวัติได้ที่สถานศึกษา โดยการรับรองของผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษาและทุกส่วนราชการ จัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ________________________________________ อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่ประชุมอนุมัติตั้งนายมณี มวมขุนทด ครูชำนาญการพิเศษ รร.บ้านห้วยจรเข้ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และนายโกมล บัณฑิตเดช นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/306.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น