นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" Inclusive Education, Inclusive Thailand เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ตึกสันติไมตรี จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) รมว.ศธ.กล่าวว่า ถือเป็นวันสำคัญที่จะได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์อันแน่วแน่ เพราะนอกจากประเทศไทยจะเดินหน้าตามปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงประชาทั้งมวล (Education for All) และให้ความสำคัญกับปวงประชาทั้งมวลเพื่อการศึกษา (All for Education) แล้ว ยังมีความเชื่อมั่นว่าถ้าทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทุกองค์กร ร่วมกันพัฒนาสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล เด็กและประชาชนทุกคนในประเทศไทย จะได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง การศึกษาเพื่อปวงประชาทั้งมวล เป็นข้อตกลงของประเทศสมาชิกองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งได้ริเริ่มในประเทศไทย ณ หาดจอมเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยทุกประเทศมีความเห็นพ้องกันว่าการศึกษาเป็นสิทธิ์อันพึงมีของประชาคมโลก เพราะการศึกษาจะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนและสังคมโลกอย่างเข้มแข็ง โดยประเทศสมาชิกต้องถือว่าเป็นภารกิจของรัฐบาลต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จภายในปี ๒๕๕๘ นโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และการดำเนินการตามปฏิญญาดังกล่าว รวมทั้งยังมีเจตนารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยมุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คนทั้งมวลเพื่อการศึกษาและพัฒนาทั้งวงจร ดังจะเห็นได้จากนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ที่ได้กล่าวถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษา รัฐบาลยังได้ประกาศเพื่อเน้นย้ำอย่างชัดเจนอีกครั้งเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ ว่ารัฐบาลจะจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นในด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ ที่เพียงพอ เพื่อดำเนินตามนโยบายการศึกษาที่ครอบคลุม และประกันโอกาสอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มุ่งพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านตามวัย สร้างความเชื่อมั่นและมั่นคงในชีวิตให้เด็กทุกคนนับตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงการพัฒนาชีวิตแห่งการเรียนรู้ไปสู่พลังเด็กและเยาวชน ผู้สร้างอนาคตและสังคมไทย นโยบายของรัฐบาลจะช่วยแก้ไขปัญหาปัจจุบันที่เด็กไทยยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาประมาณ ๓ ล้านคน หรือ ๑ ใน ๕ ของประชากรเด็ก เยาวชนไทยทั้งระบบ เด็กเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาความยากจน ถูกบังคับใช้แรงงาน อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ไร้สัญชาติ ถูกดำเนินคดีในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมทั้งพิการ และมีความบกพร่องในการเรียนรู้จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญ คือ การดูแล และพัฒนาเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่รากฐาน โดยผลการศึกษาวิจัยทั้งในระดับสากล และในประเทศ พบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ปฐมวัย จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เด็กที่ได้รับอาหาร ดูแลสุขภาพที่ดี ในช่วงแรกของชีวิต จะมีทักษะทางกายภาพ และสติปัญญาที่ดีกว่า มีโอกาสเข้าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษาที่สูงกว่า สามารถลดโอกาสการซ้ำชั้นหรือการออกกลางคัน และเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ จึงเป็นการพัฒนาคนที่ยั่งยืน คุ้มค่า และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว รมว.ศธ.ได้กล่าวขอบคุณ UNICEF ที่ได้ร่วมส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาเด็กและเยาวชนตลอด ๕๐ ปีที่ผ่านมา ขอขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย สกศ.ที่ได้วิจัยพบว่า การช่วยเร่งรัดพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ด้อยโอกาส จะช่วยให้เด็กเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ทันเด็กส่วนใหญ่ เพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นปัญหารากฐาน คณะทำงานส่งเสริมสังคมการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ที่ริเริ่มนวัตกรรมครูเด็กรายกรณี มีแนวทาง ผู้ใกล้ชิด และชุมชนที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและดูแลเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ที่จะกลายเป็นกลุ่มด้อยโอกาสตั้งแต่เยาว์วัย ขอบคุณตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับเยาวชนที่มาร่วมในงานวันนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่ารัฐบาลและผู้ใหญ่ทุกคน ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการศึกษาเพื่อปวงชน และปวงประชาทั้งมวลเพื่อการศึกษา ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริง ประกาศปฏิญญา "การศึกษาไทยไม่ทอดทิ้งใคร สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน" Inclusive Education, Inclusive Thailand รั ฐ บ า ล จ ะ ดำ เ นิ น ก า ร ใ น เ รื่ อ ง ดั ง ต่ อ ไ ป นี้ ๑. เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย จะได้รับการดูแลอย่างดี ทั้งอาหารและการเลี้ยงดูครอบครัว จนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึง ๒ ปี ๒. เด็กแรกเกิดจนถึง ๕ ปี ต้องได้รับโอกาสเข้าศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาขั้นปฐมวัยที่มีคุณภาพ ด้วยงบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ๓. เด็กทุกคนที่อยู่ในวัยชั้นประถม สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพทุกแห่งและได้รับอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัยอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและภาคเอกชนทั่วกัน อ้่างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/mar/084.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น