นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขอแสดงความยินดีและขอต้อนรับ ท่านผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ นายไกร เกษทัน

ขอแสดงความยินดีกับท่านผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ นายไกร เกษทัน เข้ารับตำแหน่งใหม่ในวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
อ้างอิงจาก http://202.143.174.11/personnel/index.php?option=com_content&view=article&id=161:-28-2555&catid=13:2011-08-11-05-13-55

แสดงความยินดีกับท่านรองเลขาธิการ นายกมล ศิริบรรณ เข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงาน ก ค ศ 24 กุมภาพันธ์ 2555

แสดงความยินดีกับท่านรองเลขาธิการ นายกมล ศิริบรรณ เข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงาน ก ค ศ 24 กุมภาพันธ์ 2555
ท่านรองเลขาธิการ นายกมล ศิริบรรณ เข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงาน ก ค ศ 27 กุมภาพันธ์ 2555 แ้างอิงจาก http://202.143.174.11/personnel/index.php?option=com_content&view=article&id=160:-23-2555&catid=41:-slid

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทปอ.มีมติเห็นชอบปรับค่าน้ำหนักขององค์ประกอบกลุ่มสาขาวิชาในการแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2556 ในบางสาขา

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน ทปอ. กล่าวภายหลังประชุม ว่า ทปอ.มีมติเห็นชอบปรับค่าน้ำหนักขององค์ประกอบกลุ่มสาขาวิชาในการแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2556 ในบางสาขา -กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปรับ คือ สัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ GPAX 20% คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET 30% คะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT 20% และคะแนนการทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT2 30% เภสัชศาสตร์ GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และPAT2 40% -กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ปรับสาขา วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และPAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 10% และPAT2 30% สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 10%, PAT1 20% และ PAT2 20% -กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์ ปรับสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร GPAX 20% O-NET 30% GAT 10% และPAT1 10% และPAT2 30% -กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขภาพ รูปแบบที่ 1 GPAX 20%, O-NET 30% ,GAT 10% และPAT5 30% รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และ PAT5 20% และต้องเลือกสอบ PAT 1/2/3/4/6/7 วิชาใดก็ได้ 1 วิชา -กลุ่มที่ 8 ศิลปกรรมศาสตร์ ปรับ สาขา วิจิตรศิลป์ ศิลปประยุกต์ ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และเลือกสอบ PAT4 หรือ 6 เพียง 1 วิชา 40% -กลุ่มที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30% และ PAT1 20% พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน รูปแบบที่ 2 GPAX 20% ,O-NET 30% ,GAT 30% และ PAT7 20% ทั้งนี้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่ปรับครั้งนี้จะใช้ในการแอดมิชชั่นปีการศึกษา ๒๕๕๖ โดยการปรับดังกล่าว เพื่อให้คณะสามารถคัดเลือดเด็กได้ตรงตามความถนัดที่แท้จริง และถือว่าเป็นการปรับเล็ก ไม่ใช่การปรับใหญ่ดังนั้น ทปอ. ไม่จำเป็นต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้า ๓ ปี ส่วนการปรับองค์ประกอบแอดมิสชั่นใหญ่นั้น ทปอ.ยังไม่ได้หารือ ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรปรับบ่อยเพราะจะทำให้เกิดความสับสนและไม่เป็นธรรมแก่เด็ก แต่หากใช้ไปสักระยะแต่พบว่าเกิดปัญหาก็ค่อยปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป ส่วนกรณีที่ รมว.ศธ. ระบุว่าต้องการให้มหาวิทยาลัยดูแลตัวเอง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว ก็ไปปรับค่าบริการต่างๆ และใช้งบรายได้ของมหาวิทยาลัยเป็นค่าใช้จ่ายนั้น ขณะนี้มหาวิทยาลัยก็พึ่งตนเองเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่ประเด็นที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยไประดมทุนจากศิษย์เก่า ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะหมายความถึงการขึ้นค่าหน่วยกิต แต่การขึ้นค่าหน่วยกิตก็มีความจำเป็น เพราะบางแห่งค่าหน่วยกิตเพียง ๓๐๐ บาท แต่ปัจจุบันต้นทุนการผลิตนักศึกษาแต่ละคนอยู่ที่ ๘๐๐-๑,๐๐๐ บาทต่อหน่วยกิต ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ยังมีรายได้ไม่เพียงพอ การขึ้นค่าหน่วยกิตก็เป็นสิ่งจำเป็น อ้างอิงจาก http://www.moe-news.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2642&Itemid=2&preview=popup

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลการจัด อันดับ Top 100 โรงเรียนที่เก่งที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2553

ผลการจัด อันดับ Top 100 โรงเรียนที่เก่งที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2553 โดยอันดับนี้พิจารณาจากสถิติต่างๆทางด้านวิชาการเหล่านี้: โอลิมปิกวิชาการ, คะแนน O-net, จำนวนนักเรียนติดโควตา, จำนวนนักเรียนติดรับตรง, จำนวนนักเรียนติด admission, แพทย์, กสพท, ทุนรัฐบาล, ทุนกพ., ทุนพสวท., และอื่นๆ ย้อนหลังจากสามปี ตั้งแต่ 2551-2553 พี่ก็ขอแสดงความยินดีกับน้องๆที่อยู่ในโรงเรียนที่ติดอันดับด้วยนะครับ ขอให้ขยันๆทำคะแนนได้ดีๆ สอบติดได้หลายๆที่ เพื่อเลื่อนอันดับโรงเรียนตัวเองขึ้นเรื่อยๆนะครับ ส่วนโรงเรียนของน้องที่ไม่ได้ติดอันดับปีนี้ ก็อย่าน้อยใจไป ตัวเราเองพยายามสอบตามข้างบน ให้ได้คะแนนเยอะๆ ให้ติดตรงเยอะๆ เดี๋ยวเราก็เป็นอีโร่ของโรงเรียนช่วยดึงคะแนนโรงเรียนขึ้นมาเองครับ Top 100 โรงเรียนที่เก่งที่สุดในไทย ปี 2553 1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ( +2) 2. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (-1) 3. โรงเรียนบดิทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ( +1) 4. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (-2) 5. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา (+2) 6. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย (-1) 7. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง (-1) 8. โรงเรียนสตรีวิทยา (+5) 9. โรง เรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ (+1) 10.โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (+1) 11.โรงเรียน อุดรพิทยานุกูล จ.อุดรธานี 12.โรงเรียนอัสสัมชัญ 13.โรงเรียนสาธิต มศว.ปทุมวัน 14.โรงเรียน สาธิต ม.เชียงใหม่ 15.โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 16. โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 17.โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 18.โรงเรียน เบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช 19.โรงเรียน ยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 20.โรงเรียน เทพศิรินทร์ 21.โรงเรียน สามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย 22.โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี 23.โรงเรียน นครสรรค์ 24.โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี 25.โรงเรียนสตรี วิทยา 2 26.โรงเรียน สาธิต ม.ขอนแก่น 27.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง 28.โรงเรียน ขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น 29. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 30.โรง เรียนพิริยาลัย จ.แพร่ 31.โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว 32.โรงเรียน สุราษฎร์ธานี 33.โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพรชบุรี 34.โรงเรียน ภูเก็ตวิทยาลัย 35.โรงเรียน โยธินบูรณะ 36.โรงเรียน สาธิต ม.สงขลานครินทร์ จ.ปัตตานี 37.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 38.โรงเรียน สวนกุหลาบ วิทยาลัย จ.นนทบุรี 39.โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.ราชบุรี 40.โรงเรียน หอวัง 41.โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น 42.โรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปราการ 43. โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน 44.โรงเรียนสุราษฎร์ พิทยา 45. โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 46.โรง เรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา 47.โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา 48.โรงเรียน ศึกษานารี 49.โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก 50.โรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร 51.โรงเรียนสตรีศรีน่าน จ.น่าน 52.โรงเรียนร้อยเอ็ด วิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด 53.โรงเรียนนารี รัตน์ จ.แพร่ 54.โรงเรียน สิรินธร จ.สุรินทร์ 55.โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา 56.โรงเรียน บุรีรัมย์พิทยาคม จ.บุรีรัมย์ 57.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.สตูล 58.โรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี 2 ) 59.โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 60.โรงเรียน ดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 61.โรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง 62.โรงเรียน สระบุรีวิทยาคม 63.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 64.โรงเรียน ระยองวิทยาคม 65.โรงเรียน ชลราษฎร์อำรุง 66.โรงเรียน พัทลุง 67.โรงเรียน พิษณุโลกวิทยาคม 68.โรงเรียน เซนต์โยแซฟคอนแวนต์ 69.โรงเรียนบูรณะ รำลึก จ.ตรัง 70.โรงเรียน สุรศักดิ์มนตรี 71.โรงเรียน กำแพงเพชรพิทยาคม 72.โรงเรียนทวีธาภิเศก 73.โรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฎนครปฐม 74.โรงเรียนจุฬา ภรณ์ราชวิทยาลัย จ.มุกดาหาร 75.โรงเรียน มารี ย์วิทยา จ.นครราชสีมา 76.โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล 77.โรงเรียน สารคามวิทยาคม จ.มหาสารคาม 78.โรงเรียน สายน้ำผึ้ง 79.โรงเรียน เบญจมราชาลัย 80.โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 81.โรงเรียนทวีธาภิเศก 82.โรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช จ.นครศรีรรมราช 83.โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.จันทบุรี 84.โรงเรียน สตรีวัดมหาพฤฒาราม 85.โรงเรียนชลกันยานุกูล โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 86.โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฎิ์ 87.โรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฎพระนครศรีอยุธยา 88.โรงเรียน เบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี 89.โรงเรียน วิสุทธังษี จ.กาญจนบุรี 90.โรงเรียน นวมินทราชูทิศ หอวัง นนทบุรี 91.โรงเรียนสุรวิทยาคาร จ.สุรินทร์ 92.โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จ.อุดรธานี 93.โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช 94.โรงเรียนศรียาภัย จ.ชุมพร 95.โรงเรียน สาธิต(พิบูลบำเพ็ญ) ม.บูรพา 96.โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ 97.โรง เรียนอัสสัมชัญธนบุรี 98.โรงเรียนวัดสุทธิวราราม 99.โรงเรียนสวน กุหลาบวิทยาลัย รังสิต 100.โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย อ้างอิงจาก http://www.dektalent.com/board/view.php?topic=123

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชุม ๗ องค์กรในกำกับ

ผู้บริหารองค์การมหาชนและองค์กรในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ๗ หน่วยงาน ประชุมรับนโยบายของศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น ๒ กระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ. กล่าวให้นโยบายการทำงานว่า "ศธ.จะดูแลลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา จะไม่โกงลูกหลานของเรา และไม่เอาเปรียบครูบาอาจารย์ซึ่งเปรียบเสมือนพี่น้องของเรา จะไม่บังคับขู่เข็ญครูบาอาจารย์ไปเข้าแถวต้อนรับผู้ใหญ่ที่สนามบิน จะไม่ให้ครูบาอาจารย์ซึ่งถือเป็นน้องชายน้องสาวของเรา ต้องเสียเงินทองจากการย้าย เลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนวิทยฐานะ โดยเราจะเอานักเรียนเป็นตัวตั้ง ให้สมองสามารถ Fly ได้ ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากกรอบคิดจากการควบคุม เป็นกรอบคิดแบบให้โอกาส ให้สามารถเจริญเติบโต ทำงานได้ตามความใฝ่ฝัน บนความยุติธรรม" หลังจากนั้น ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัด ศธ. ได้แนะนำประธานและผู้บริหารองค์กรหลักในกำกับ พร้อมสรุปภารกิจบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง รมว.ศธ.ได้ให้ข้อคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ศธ. ตามลำดับ ดังนี้ ๑. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (Secretariat office of The Teacher Council of Thailand : KSP)
ประธานคณะกรรมการ : ดร.ดิเรก พรสีมา เลขาธิการ สลค. : ดร.องค์กร อมรสิรินันท์ ฝากพิจารณาถึงระบบปิดในการผลิตครู ไม่ให้ผลิตจนล้น ตามข้อเสนอของ ศ.สมหวังฯ ฝากพิจารณาถึงเกณฑ์การออกใบประกอบวิชาชีพครูสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะครูจีน ๕,๐๐๐ คน จะมีการสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภาเร็วๆ นี้ ต้องการคณะกรรมการปลอดจากการเมือง และมีคุณธรรม ไม่นำช่องว่างไปหากินกับครู ๒. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (The Institute for Promotion of Teaching Science and Technology : IPST)
ประธานคณะกรรมการ : รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ผู้อำนวยการ สสวท. : ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ยินดีจะสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพราะเป็นหน่วยงานที่เป็นความหวังของประเทศในการเรียนรู้ด้านดังกล่าว ฝากให้มีการประสานการทำงานกับ สพฐ.อย่างใกล้ชิด งานรองรับผู้สำเร็จการศึกษา เด็กที่เก่งจบมาจากทุนการศึกษาโอลิมปิกวิชาการ ไม่ควรถูกจำกัดต้องมาทำงานเพียงเพื่อชดใช้ทุน อาจแก้กฎระเบียบให้เด็กทำงานอื่นตามที่ต้องการได้ หรือหากจะทำงานชดใช้ทุนราชการ อาจเพิ่มเงินเดือนให้มากขึ้น เพื่อเหมาะสมกับเด็กที่มีความเป็นเลิศ มาตรฐานวิชาชีพครูสาขาวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/เทคโนโลยี ให้ประสานกับคุรุสภา เพื่อแก้ไขมาตรฐานวิชาชีพครูในสาขาดังกล่าว ต้องการให้คนเก่งๆ ทางด้านนี้ เข้ามาเป็นครูได้มากขึ้น สื่อดิจิตอลและคลังทรัพย์สินทางปัญญา ต้องการให้มีการพัฒนาสื่อชนิดนี้ไว้บน Server ทำให้นักเรียนสามารถดาวน์โหลดใช้ได้ ฝาก สสวท. พิจารณา ๓. รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ (Mahidol Wittayanusorn School (Public Organization) : MWITS)
ประธานคณะกรรมการ : ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ผอ.รร. มหิดลฯ : ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ขอให้ รร.เชื่อมโยงการทำงานกับ สวทช.มากขึ้น และฝากถึงการตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ จากภาคการศึกษา ควรปลอดจากการเมือง เพื่อให้การวางแผนและจัดการศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ๔. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) : NIETS)
ประธานคณะกรรมการ : ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สทศ. : รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ต้องการให้ปรับปรุงการสอบ O-Net ให้เด็กสอบได้ปีละหลายครั้งเช่นเดียวกับ TOEFL ควรเน้นการวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ และเด็กสามารถตรวจสอบคะแนนผลการสอบเองได้ทันทีจากคอมพิวเตอร์ การสอบ O-Net ในชั้น ป.๖ และ ม.๓ หากไม่จำเป็นสำหรับเด็ก ไม่ควรจัดสอบ เพราะเด็กไม่สนใจจะสอบ ทำให้ค่าเฉลี่ยการสอบต่ำมาก การทดสอบกลางระดับประเทศ โดยใช้ผลสอบ O-Net เพื่อจบการศึกษา ป.๖ และ ม.๓ ทางประธานคณะกรรมการ สทศ.จะรวบรวมสรุปข้อมูลและรายงานให้ทราบ ให้มีคลังข้อสอบกลางมากขึ้น เพื่อแจกให้เด็กไปฝึกทำข้อสอบได้เอง ๕. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (International for Trade and Development (Public Organization) : TTD)
ประธานคณะกรรมการ : ปลัด ศธ. ผอ.สคพ. : นายสันติ สาทิพย์วงษ์ รอง ผอ.รักษาการ โครงสร้างการทำงานของ ITD หากสังกัดกระทรวงการต่างประเทศหรือกระทรวงการคลัง อาจจะชัดเจนกว่า หาก ITD ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้า้ง อาจขอให้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาได้ ๖. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (National Scout Organization of Thailand : NSOT)
ประธานคณะกรรมการ : รมว.ศธ. เลขาธิการ สลช. : ดร.นิวัตร นาคะเวช จะนัดประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในวันที่ ๒๓ ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณาการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี การลูกเสือไทย ซึ่ง ร.๙ เป็น “ประมุขของลูกเสือแห่งชาติ” สำนักงานลูกเสือโลก ที่เจนีวา ประสงค์จะย้ายมาตั้งสำนักงานใหญ่และทันสมัยที่ไทย ลูกเสือหลายประเทศไม่บังคับ ส่วนลูกเสือไทยมีข้อบังคับ ทำให้มีสมาชิกลูกเสือมาก ส่งผลถึงงบประมาณรายหัวที่ต้องส่งเงินอุดหนุนกิจการลูกเสือโลก ๗. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (Office of Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personal : OTEP)
ประธานคณะกรรมการ : ปลัด ศธ. เลขาธิการ สกสค. : นายเกษม กลั่นยิ่ง สื่อดิจิตอล ต้องการให้มีการพัฒนาสื่อชนิดนี้ไว้บน Server ทำให้นักเรียนสามารถดาวน์โหลดใช้ได้ แม้จะส่งผลกระทบกับองค์การค้าของ สกสค. ในการผลิตหนังสือเรียนขาย สิ่งที่คงอยู่ หากไม่จำเป็น ต้องลดขนาดลงเรื่อยๆ เพื่อความสมดุล อ้างอิงบทความและรูปภาพจากจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/feb/048.html

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา

๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงแนวทางการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รมว.ศธ.กล่าวว่า การบริจาคเงินให้กับโรงเรียน ไม่ได้ทำเพื่อแลกกับที่นั่งเรียน เพราะเมื่อเกิดการแลก ก็จะเรียกว่าการคอรัปชัน แต่การที่ผู้มีอุปการคุณ ผู้ปกครอง หรือประชาชนทั่วไปต้องการบริจาคเงินให้กับโรงเรียน ก็สามารถทำได้ เช่น ผู้ปกครองบางคนที่ลูกสามารถเข้าเรียนได้แล้ว ก็ยังยินดีที่จะบริจาคให้กับโรงเรียน หรือประชาชนทั่วไปที่ลูกไม่ได้อยู่ในวัยเรียนแล้ว ก็สามารถบริจาคได้เช่นกัน การบริจาคเงินให้โรงเรียนสามารถทำได้โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับการรับนักเรียนแต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงโรงเรียนอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค อีกทั้งการบริจาคให้กับโรงเรียนยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง ๒ เท่าของยอดเงินบริจาคอีกด้วย ทั้งนี้ การบริจาคจะอยู่ในดุลยพินิจของโรงเรียนและต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย แม้จะมีการบริจาค เด็กก็ต้องเข้าสู่กระบวนการสอบแข่งขันเหมือนนักเรียนทั่วไป ซึ่งมีระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดเรื่องนี้ไว้แล้ว โดยจะจัดที่ให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ต่างหาก ไม่ให้กระทบกับจำนวนรับนักเรียนทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้าเด็กที่จะเข้ามาเรียนขาดคุณสมบัติในหลายด้าน โรงเรียนจะไม่ขอรับการบริจาคก็ได้ ส่วนกรณีที่ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ มีหนังสือถึง รมว.ศธ.ให้ยกเลิกนโยบายการบริจาคเงินเพื่อแลกกับการเข้าเรียนภายใน ๓ วัน หากไม่มีการยกเลิกจะไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในสัปดาห์หน้า รวมทั้งจะไปร้องเรียนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วยนั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า ก็จะไปเรียนต่อศาล ซึ่งก็แล้วแต่ศาลว่าจะสั่งอย่างไร และมีความมั่นใจว่านโยบายการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาไม่ผิดต่อกฎหมาย รวมทั้งระเบียบในเรื่องนี้ก็มีอยู่ชัดเจน และในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ก็จะเดินทางไปตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านในเรื่องนี้ด้วย อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2012/feb/050.html

ก.ค.ศ. จัดประชุมทางไกล ชี้แจง ก.พ. 7 อิเล็กทรอนิกส์ เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

ก.ค.ศ. จัดประชุมทางไกล ชี้แจง ก.พ. 7 อิเล็กทรอนิกส์ เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือกับ สพฐ. โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันผลักดันให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษาใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารงานบุคคลอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ขณะนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำระบบข้อมูลทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ หรือ CMSS (Competency Management Supporting System) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งใน 14 ระบบ โดยได้จัดเก็บประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งประเทศแล้วกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน และในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวไปใช้วางแผนเชิงนโยบายต่าง ๆ ในระดับมหภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นนโยบายครูคืนถิ่น นโยบายการปรับฐานเงินเดือน ๑๕,๐๐๐ บาท รวมทั้งการที่จะเสนอเลื่อนอันดับเงินเดือนจาก คศ.๒ ให้ได้รับอันดับเงินเดือน คศ.๓ และสำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดเป้าหมายที่จะใช้ระบบ CMSS ในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพฐ. ซึ่งการใช้ระบบดังกล่าวจะทำให้การเลื่อนเงินเดือนทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยทั้งนี้จะเริ่มใช้ระบบการเลื่อนเงินเดือนรอบเมษายนนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และ สพฐ. เห็นการเคลื่อนตัวของเม็ดเงินที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือนและสามารถออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนผ่านระบบทันทีทั้งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งประเทศ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. โดยเลขาธิการ ก.ค.ศ. (นางศิริพร กิจเกื้อกูล) และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะร่วมกันให้นโยบายเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในรอบแรก (1 เมษายน 2555) โดยจะชี้แจงด้วยวิธีการประชุมทางไกล (Video Conference) ให้แก่เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่การศึกษาและผู้แทนสถานศึกษา ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 10.00 – 12.00 น. นี้ และจากการที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีฐานข้อมูลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวนี้ สำนักงานยังได้กำหนดเป้าหมายที่จะให้บริการอีเซอร์วิสแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถคัดสำเนาทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด โดยข้าราชการครูไม่จำเป็นต้องเดินทางมาขอคัดสำเนาที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น ซึ่งจะได้แจ้งแนวปฏิบัติในโอกาสต่อไป เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้ข้อมูลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความถูกต้อง จึงขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเจ้าของทะเบียนประวัติเข้าไปตรวจสอบข้อมูลทะเบียนประวัติของตนเองปีละสองครั้งได้ที่ www.cmss-otcsc.com หากพบข้อผิดพลาดจากการบันทึกข้อมูลหรือข้อมูลที่จดบันทึกในเอกสารทะเบียนประวัติไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เจ้าของทะเบียนประวัติสามารถแจ้งขอแก้ไขข้อมูลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องได้ทันที พร้อมหลักฐาน เพื่อเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษาจะได้ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องต่อไป อ้างอิงจาก http://203.146.15.33/webtcs/modules.php?name=activeshow_mod&file=article&asid=475

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์การสอบรอง ผอ.-ผอ.สถานศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษารมว.ศธ.กล่าวสรุปว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไป และกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งเปิดกว้างให้ข้าราชการครูตั้งแต่ระดับชำนาญการ สามารถสอบข้ามสายงานประถมและมัธยมศึกษาได้ แต่ข้อสอบสายประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งจะให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นผู้ออกข้อสอบนั้น จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นการให้โอกาส ไม่แบ่งแยก เป็นรั้วเตี้ยๆ ที่สามารถข้ามไปมาได้ และการขึ้นบัญชีผู้สอบได้ จะขึ้นบัญชีไว้ในจำนวนที่เหมาะสมที่จะเรียกลำดับถึงภายใน ๒ ปีเท่านั้น เพื่อให้รับรู้แต่แรกโดยเร็วที่สุด ถือเป็นการให้โอกาสและความจริงแก่ครูได้ตัดสินใจอนาคตในแต่ละวันได้เลย หลักเกณฑ์กลุ่มทั่วไป คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก - รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และดำรงตำแหน่งครูไม่น้อยกว่า ๔ ปีสำหรับปริญญาตรี และ ๒ ปีสำหรับปริญญาโทขึ้นไป และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา - ผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑) รอง ผอ.สถานศึกษา ๒) รอง ผอ.สพท. ๓) ผช.ผอ.สพท. ๔) จนท.บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๕) ศึกษานิเทศก์หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือ ผอ.กลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี ๖) ครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ ๗) ดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่า คือ ก) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีหรือเคยมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ ข) รอง ผอ.สถานศึกษา และผู้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์บริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้การบรรจุแต่งตั้งต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา ที่ ก.ค.ศ.กำหนด รวมทั้งต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา หลักเกณฑ์กลุ่มประสบการณ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก - รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และดำรงตำแหน่งครูไม่น้อยกว่า ๔ ปีสำหรับปริญญาตรี และ ๒ ปีสำหรับปริญญาโทขึ้นไป และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา - ผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑) รอง ผอ.สถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารอง ผอ.ชำนาญการ ๒) รอง ผอ.สถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารอง ผอ.ชำนาญการพิเศษ ๓) รอง ผอ.สพท.มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ ๔) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นฯ ระดับชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือ ผอ.กลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี ๕) ครู มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี และ ๒ ปีสำหรับปริญญาโท และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกกว่า ๓ ปี ๖) ครูชำนาญการ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการให้เป็นผู้บริหารติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๒ ปี รวมทั้งต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งนี้ กรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติครบทั้ง ๒ กลุ่ม ให้สมัครได้เพียงกลุ่มเดียว สำหรับตำแหน่งว่าง ให้ส่วนราชการทั้ง สพฐ. สอศ. กศน. และวิทยาลัยชุมชน กำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุแต่งตั้งสำหรับกลุ่มทั่วไปและกลุ่มประสบการณ์ ในสัดส่วนที่เท่ากันคือ ๕๐:๕๐ หลักสูตรการประเมิน กลุ่มทั่วไป ๒๐๐ คะแนน โดยการสอบข้อเขียนคือ ๑) ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๕๐ คะแนน ๒) ความสามารถในการบริหารงาน ๑๐๐ คะแนน ๓) สมรรถนะทางการบริหาร ๕๐ คะแนน ส่วนกลุ่มประสบการณ์ ๓๐๐ คะแนน แยกเป็นความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒๐๐ คะแนน แยกเป็นความรู้ทั่วไปฯ ๕๐ คะแนน ความสามารถในการบริหารงาน ๑๐๐ คะแนน สมรรถนะทางการบริหาร ๕๐ คะแนน และประเมินประสบการณ์และผลงานอีก ๑๐๐ คะแนน การรับสมัคร ผู้สมัครสังกัด สพฐ.ต้องสมัครเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สพป. สพม. หรือสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ถ้ามีคุณสมบัติครบทั้ง ๒ กลุ่มให้สมัครได้กลุ่มเดียว โดยให้เลือกสมัครในเขตพื้นที่การศึกษาที่ประสงค์จะบรรจุแต่งตั้งได้ไม่เกิน ๕ เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ผ่านเกณฑ์ผ่านการประเมิน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ การบรรจุและแต่งตั้ง ให้บรรจุแต่งตั้งผู้ขึ้นบัญชีจากบัญชีเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มประสบการณ์และกลุ่มทั่วไปในสัดส่วนที่เท่ากัน กรณีมีตำแหน่งว่าง ๑ ตำแหน่ง ให้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีกลุ่มประสบการณ์ก่อน ครั้งต่อไปให้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีกลุ่มทั่วไปสลับกันไป กรณีบัญชีในกลุ่มประสบการณ์ หรือกลุ่มทั่วไป กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งหมดบัญชีเขตพื้นที่การศึกษาก่อน และบัญชียังไม่ครบอายุการขึ้นบัญชี ให้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีรวมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีผู้ขึ้นบัญชีผู้ใดที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในเขตพื้นที่การศึกษาใดแล้ว ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีในเขตพื้นที่การศึกษาทุกบัญชี และหากได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในบัญชีรวมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีเขตพื้นที่การศึกษาทุกบัญชีด้วย สำหรับสังกัดส่วนราชการอื่น การบรรจุและแต่งตั้งผู้ขึ้นบัญชีตามลำดับที่ และมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง และผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ผู้ที่ขึ้นบัญชีที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา และอำเภอนาทวี) จะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔ ปี นับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จึงจะขอย้ายออกนอกเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ วิธีการ ๑. ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้ ๑) ประกาศรับสมัครและดำเนินการสรรหา โดยระบุคุณสมบัติ หลักสูตร วิธีการคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี และข้อความอื่นๆ ที่จำเป็นให้ผู้สมัครทราบ ไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนวันรับสมัคร และมีระยะเวลารับสมัครไม่น้อยกว่า ๗ วัน ๒) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ๒. ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา/อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ บรรจุและแต่งตั้งผู้ขึ้นบัญชีตามลำดับที่ ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว และมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่งที่กำหนด ๓. เมื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้ขึ้นบัญชีแล้ว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ส่วนราชการ ส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน ๑ ชุด ให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ภายใน ๗ วัน นับแต่วันออกคำสั่ง ๔. ให้ส่วนราชการกำหนดนโยบาย หรือแนวทางในการบริหารจัดการในการดำเนินการสอบคัดเลือกให้มีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ๕. ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ได้ ให้เสนอ ก.ค.ศ.พิจารณา อ้างอิง http://www.moe.go.th/websm/2012/feb/046.html