นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปฎิรูปการเงินเพื่อการศึกษา

รมว.ศธ. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา โดยศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา ดังนี้ ๑) ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง  ๒) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา  ๓) ยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วม  ๔) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความเข้มแข็งของสถานศึกษา โดยมีการกำหนดกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเงินเพื่อการศึกษา ได้แก่
๑. กลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยจัดทำแผนในการยุบรวม เลิก หรือการรวมกลุ่มสถานศึกษา (Cluster) ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดจำนวนและที่ตั้งสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำแผนขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและบุคลากรเพื่อรองรับการยุบ รวม เลิก หรือการรวมกลุ่มสถานศึกษาที่หมดความจำเป็นหรือต้นทุนต่อหน่วยสูงและด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรอุดหนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงการส่งเสริมสถานศึกษาที่มีศักยภาพ ความพร้อม ไปสู่สถานศึกษาที่มีรูปแบบเป็นองค์การมหาชน หรือเป็นนิติบุคคล เพื่อความเป็นอิสระ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ตลอดถึงการพัฒนาการศึกษาให้มีศักยภาพ มีความพร้อม และการดำเนินการออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในการบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ การจัดระบบการจัดสรรเงินอุดหนุนผ่านด้านอุปสงค์ หรือตัวผู้เรียน การจัดสรรเป็นเงินก้อนแก่สถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน การจัดสรรเงินผ่านด้านอุปทาน หรือสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
๒. กลไกการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการระดมทุนจัดการศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ การดำเนินการตามกฎหมายภาษีอากร สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ให้แก่บุคคลและสถาบันที่มีส่วนร่วมในเรื่องของการระดมทุน และสนองทุนเพื่อการศึกษาจากทุกภาคส่วน ให้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายจากการบริการการศึกษา
๓. กลไกการดำเนินงานตามหลักการและแนวทางการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม การออกแบบและการพัฒนาการเงินเพื่อการศึกษา ให้มีการทดลองนำร่องระบบบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระบบจัดสรรเงินผ่านด้านอุปสงค์ หรือตัวผู้เรียน ระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการรายงานและการตรวจสอบ
๔. กลไกการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา การออกแบบพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง ทันเวลา มีความโปร่งใส
๕. กลไกด้านกฎหมาย ปรับปรุงกฎกระทรวง ระเบียบวิธีปฏิบัติ ปรับปรุงกฎหมายเดิม รวมถึงการออกกฎกระทรวงในการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษา และเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยมุ่งวัตถุประสงค์ด้านการผลิตกำลังคน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เพื่อให้กองทุนมีความยั่งยืนในระยะยาว
๖. กลไกการผลักดันจากผู้บริหารระดับสูง เป็นกลไกที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบหลักการ แนวคิด ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาตามกรอบและแนวคิดดังกล่าว
รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา และจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ รวมถึงเสนอให้คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ได้รับทราบ ตามกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว กำหนดภารกิจให้ชัดเจน มีองค์กรในการตรวจสอบระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่มุ่งเน้นในการจัดการไปสู่สถานศึกษา เพื่อให้สะท้อนคุณภาพ และมีการระดมทรัพยากร ซึ่งจะมีการดำเนินการทำเป็นวาระพิเศษ เพื่อให้มีการระดมทรัพยากรให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษามีประเด็นสำคัญ ได้แก่
  • การให้สถานศึกษาได้มีงบประมาณการดำเนินการในการจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนงบประมาณกลางจากภาครัฐ และในส่วนที่ต้องระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน
  • ให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ ในการบริหารทรัพยากร รวมถึงมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
  • การตรวจสอบติดตามการใช้งบประมาณด้านการศึกษาให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการเสนอการจัดทำประมาณการด้านการเงิน การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เพื่อดำเนินการในการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และกลไกดังกล่าวต่อไป
อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21614&Key=news1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น