นครราชสีมา : คําขวัญ เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ต้นไม้ประจำจังหวัด : สาธร

เลือกภาษา

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖

Long live the King of Thailand

ในหลวงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา

การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สพม.31 จัดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเฉลิมฉลอง 100 ปี การลูกเสือไทย

นายศุภกร วงศ์ปราชญ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี ของสพม.31 โดย ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.31 เป็นผู้กล่าวรายงาน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ณ ค่ายลูกเสืออ่างห้วยยาง ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา สพม.31 จัดงานชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และเฉลิมฉลอง 100 ปี การลูกเสือไทย โดยได้เชิญชวนลูกเสือ เนตรนารี จากโรงเรียนในสังกัด สพม.31 เข้าร่วมชุมนุม ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2554 ณ ค่ายลูกเสืออ่างห้วยยาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย พร้อมเป็นการส่งเสริมให้กองลูกเสือโรงเรียนในสังกัด ใช้กระบวนการลูกเสือร่วมกันคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกันให้บังเกิดผลตามอุดมการณ์ของลูกเสือ ตลอดทั้งเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 อ้างอิงจาก http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1490:31-&catid=4:2011-02-15-11-28-47

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธีถวายราชสดุดีวันวชิราวุธ

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เป็นประธานพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันวชิราวุธ” ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อเช้าวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่สนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเช้า รมว.ศธ.ได้นำกล่าวคำสดุดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีลูกเสือเนตรนารีจากหน่วยงานสังกัดต่างๆ เข้าร่วมพิธีประมาณ ๕๐๐ คน ข้าฯ ลูกเสือ เชื้อไทย ใจเคารพ ขอน้อมนบ บาทบง พระทรงศรี พระบาท มงกุฎเกล้า จอมเมาลี ทรงปราณี ก่อเกื้อ ลูกเสือมา ทรงอุตสาห์ อบรม บ่มนิสัย ให้มีใจ รักชาติ ศาสนา ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา เป็นอาภา ผ่องพุทธ วุฒิไกร ดังดวงจัน ทราทิตย์ ประสิทธิแสง กระจ่างแจ้ง แจ่มภพ สบสมัย พระคุณนี้ จะสถิต สนิทใน ดวงหทัย ทวยราษฎร์ ไม่คลาดเอย รมว.ศธ.กล่าวว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งของบรรดาลูกเสือ เนตรนารี และพสกนิกรชาวชาวไทยทั้งปวง เนื่องจากวันวชิราวุธ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย บรรดาลูกเสือทุกหน่วยเหล่า ได้น้อมรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ด้วยการมาร่วมวางพวงมาลาในนาม “คณะลูกเสือแห่งชาติ” และถวายราชสดุดี กับทั้งได้เชิญชวนลูกเสือเนตรนารีทั่วทั้งประเทศมาปฏิบัติกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระองค์ท่าน ซึ่งนับเป็นประเพณีของลูกเสืออันดีงาม ที่ปฏิบัติมาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/313.html

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๓๐๔/๒๕๕๔ ประชุมหารือกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม สพฐ.

รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบแนวคิดและนโยบายในการจัดการศึกษาตาม ๙ ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือ ๑) การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ๒) การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้ ๓) การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ ๔) การพัฒนาครูทั้งระบบ ๕) การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ๖) การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ ๗) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ๘) การส่งเสริมการมีงานทำ ๙) การบริหารจัดการกลยุทธ์ของ ศธ. นอกจากนี้ ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ร่วมกัน โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ เช่น มองการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นธรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับงบประมาณมาจำนวนเท่าใดก็จะหารเท่ากันหมด จึงได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อต้องการให้ดูแลกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา หรือเด็กยากจนมากขึ้น โดยจะพัฒนาระบบการจัดการศึกษาพิเศษ ให้เป็นระบบและสอดคล้องกับตัวเด็กเองมากขึ้น เช่น เด็กหูหนวก ซึ่งไม่ไ่ด้รับผลกระทบทางด้านเสียงนั้น หากมีความต้องการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถจัดการเรียนรู้โดยนำอาชีพจริงๆ ไปสอนเด็กได้เลย และยังมีการศึกษาทางเลือก (Alternative Education) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต้องการให้เพิ่มวิทยาการต่่างๆ เข้าไปให้สามารถ "สร้า้งนวัตกร เพื่อสร้างนวัตกรรม" ต่อไปได้ เพราะถือว่าเป็นระบบการศึกษาอีกแบบหนึ่งที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เช่น โรงเรียนวิถีธรรม โรงเรียนวิถีธรรมชาติ การสอนแบบ Home-Based Learning หรือ Home-School เป็นต้น ประเด็นสำคัญที่มีความคิดเห็นสนับสนุนนโยบายของ ศธ. คือ การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ที่ ศธ.จะต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กพูดและสื่อสารได้จริง รวมทั้งประเด็นคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยในการเรียนรู้ภาษา แก้ปัญหาการขาดแคลนครู สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับเด็กพิการด้วยนั้น ทาง ศธ.ได้รับทราบและจะให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาในวันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายนนี้ เพราะจะมีการประชุมพิจารณาเนื้อหา (Content) ที่จะบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตของ ศธ. จึงขอเชิญชวนให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการเผยแพร่และพัฒนา Content เข้าร่วมประชุมและนำเสนอได้ในช่วงเวลาดังกล่าว อนึ่ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ราย คือ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการ นายสุกิจ เดชโภชน์ ผู้แทนองค์กรเอกชน นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายสมศักดิ์ โล่ห์เลขา ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งหมด ๑๓ ราย ได้แก่นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายมังกร กุลวานิช ศ.พันตำรวจตรี ยงยุทธ สารสมบัติ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นายสำรวม พฤกษ์เสถียร นายประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ นายดิเรก พรสีมา นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นายมานิจ สุขสมจิตร นายสุชาติ เมืองแก้ว และพระธรรมโกศาจารย์ รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมถึง "นโยบายครูคืนถิ่น" ด้วยว่า เป็นนโยบายสำคัญที่ตนต้องการให้ครูผู้สอนที่จากบ้านมานานได้ย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเอง หรือภูมิลำเนาของคู่สมรส หรือภูมิลำเนาของบิดามารดา โดยได้มอบหมายให้ สพฐ.ทำการสำรวจจำนวนครูทั้งหมดที่จะขอย้าย เพื่อเป็นข้อมูลว่าจะมีครูย้ายกลับในพื้นที่ใดและสาขาวิชาใดบ้าง เพื่อให้ สพฐ.วางแผนหมุนเวียนครูมาทดแทนอัตราว่างได้ทันโดยไม่กระทบในช่วงเปิดภาคเรียน ดังนั้น จึงขอให้ครูผู้สอนที่มีความประสงค์จะขอย้าย ได้แจ้งความจำนงขอย้ายได้ที่ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ดังนั้นเมื่อครบกำหนดแล้ว หากไม่แจ้งความจำนงขอย้าย ก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/304.html

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 306/2554 ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 9/2554

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้ เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย "ครูคืนถิ่น" รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีย้ายครูคืนถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายที่สำคัญ คือ • ใช้เฉพาะสายงานการสอน ให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยกำหนดเพิ่มเติมในการย้ายกรณีพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 โดยไม่ต้องยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายดังกล่าว • คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ต้องเป็นการขอย้ายกลับภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง หรือกลับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของคู่สมรส หรือของบิดามารดาของตนเอง • ให้ยื่นคำร้องขอย้ายผ่านต้นสังกัดได้ครั้งเดียว ภายในเดือนธันวาคม 2554 เท่านั้น • รายละเอียดต่างๆ ศธ.จะมีการเปิดตัวโครงการ “ครูคืนถิ่น” ในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา โดยมอบอำนาจให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการแทน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล โดยมีสาระสำคัญ คือ จะต้องเป็นความสมัครใจของผู้สอบแข่งขัน และจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและยินยอมให้ย้าย และจะต้องย้ายมาดำรงตำแหน่งเดิม รับเงินเดือนอันดับ และขั้นเดิม แต่ไม่สูงกว่าอันดับและขั้นสูงสุดของเงินเดือนในอันดับสำหรับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ สำหรับครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมฯ ให้ดำเนินการต่อในหน่วยงานการศึกษา ________________________________________ เห็นชอบให้นำผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มาเป็นองค์ประกอบพิจารณาการย้าย ที่ประชุมเห็นชอบให้ให้นำผลการปฏิบัติงานตามนโยบายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ที่ประสบผลสำเร็จ มาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาย้ายได้ โดยให้ใช้พิจารณาการย้ายสำหรับผู้ที่ยื่นคำขอ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว8/2549 ตั้งแต่วันที่ 1-15กุมภาพันธ์ 2555 และผู้ที่ยื่นคำขอย้ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ว 9/2554 ตั้งแต่วันที่ 1-15 สิงหาคม 2554 ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ บรรจุและแต่งตั้ง ผอ.สถานศึกษา และรอง ผอ.สถานศึกษา ในพื้นที่ปกติ และในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ในพื้นที่ปกติและในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะบ้าย้อย เทพา และนาทวี) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ • หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดนี้ ให้ใช้กับทุกส่วนราชการ • การสรรหาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีสอบคัดเลือก และวิธีคัดเลือก • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหา ไว้ต่างกัน ดังนี้ กลุ่มสอบคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง กลุ่มคัดเลือก ผู้สมัครมีคุณสมบัติตามมาตรฐานตำแหน่งบวกเพิ่มประสบการณ์และวิทยฐานะ • หลักสูตรการประเมิน 1) กลุ่มสอบคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก. ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร ความรู้ความสามารถทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และภาค ข. ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ 2) กลุ่มคัดเลือก ประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก ประเมินจากผลงานที่ประสบความสำเร็จ ภาค ข ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการประเมินวิสัยทัศน์ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอในการพัฒนาสถานศึกษา และสัมภาษณ์ • เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ผ่านการประเมิน ภาค ก และ ภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 • ผู้รับผิดชอบการประเมิน 1) พื้นที่ปกติ การประเมินภาค ก ทั้งกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือก ให้ สพฐ.ดำเนินการประเมิน ส่วนการประเมินภาค ข ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยต้องกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้งสำหรับกลุ่มสอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกให้ใกล้เคียงกัน 2) เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประเมินทั้งภาค ก และภาค ข กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างกลุ่มสอบคัดเลือก ร้อยละ 30 และกลุ่มคัดเลือก ร้อยละ 70 กรณีที่กำหนดสัดส่วนแตกต่างจากที่กำหนดให้เสนอส่วนราชการพิจารณา • การประกาศขึ้นบัญชี พื้นที่ปกติ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกภาค ข แยกเป็น 2 กลุ่ม ตามลำดับผลคะแนนจากมากไปหาน้อย พื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศขึ้นบัญชีผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินภาค ก และ ภาค ข และปฏิบัติเช่นเดียวกับพื้นที่ปกติ • การประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นบัญชีรวม ภาค ข และการยกเลิกบัญชีรวม ภาค ข หลังจากบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับผลคะแนนทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ให้ประกาศขึ้น บัญชีรวมเป็นบัญชีเดียว โดยนำรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกที่เหลือมาจัดลำดับใหม่ตามคะแนนผลการประเมินภาค ข จากมากไปหาน้อย เพื่อใช้บรรจุและแต่งตั้งต่อไป โดยบัญชีรวม ภาค ข จะมีอายุเท่ากับบัญชี ภาค ก • การบรรจุและแต่งตั้ง ให้บรรจุและแต่งตั้งครั้งแรกจากผู้ได้รับการคัดเลือกตามลำดับในบัญชีกลุ่ม สอบคัดเลือกและกลุ่มคัดเลือกตามจำนวนตำแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัคร หากมีตำแหน่งว่างเพียง 1 ตำแหน่ง ให้เรียกบรรจุจัดบัญชีสอบคัดเลือกก่อน สำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เรียกบรรจุจากบัญชีคัดเลือกก่อน หลังการบรรจุและแต่งตั้งครั้งแรก ให้เรียกบรรจุจากผู้ได้รับคัดเลือกจากบัญชีรวม ภาค ข • เงื่อนไขพิเศษพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง และให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธินับระยะเวลาทวีคูณ ในการคำนวณระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์คัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของหน่วยงานการศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดให้ใช้การสอบ 3 ภาค ตามหลักสูตรที่ ก.พ.กำหนด ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ส่วนเกณฑ์การตัดสิน ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และคะแนนรวม 3ภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้ายออกจากพื้นที่ ________________________________________ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ จากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารจัดการศึกษา และหลักเกณฑ์ ว5/2554 หรือที่เรียกกันว่าเกณฑ์เชิงประจักษ์นั้น การประเมินทั้ง 2 หลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ขอรับการประเมินจะได้รับการประเมินใน 3 ด้าน แต่ที่ผ่านมาพบว่าข้าราชการครูฯ มีความวิตกกังวลกับการจัดทำผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ประกอบด้วยผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดความชำนาญในการวิจัยหรือการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานในรูปแบบของผลงานทางวิชาการ ส่งผลให้ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ทั้งยังอาจส่งผลถึงปัญหาการจ้างทำผลงานทางวิชาการ ลอกเลียน หรือคัดลอกผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงานทางวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น ศธ.จึงมีนโนบายในการประเมินข้าราชการครูฯ ให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยเน้นไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงต้องการให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมวิชาการต่างๆ ที่ใกล้ชิดกับสถานศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินมากขึ้น ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นชอบในหลักการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว คือ • ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสนอแนวทางการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานและผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีผลผลิตและผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ • ให้ส่วนราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอแนวทางในการพัฒนางาน เช่น กำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการครูฯ ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผล สัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น • กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นวิธีการประเมินตามสภาพจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมินหลังจากการยื่น MOU แล้ว เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะ คือ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้ระยะเวลาในการประเมิน 3 ปี • เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน เช่น ให้ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม และชมรมทางวิชาการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน • ก.ค.ศ. จะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดของการทำ MOU • ข้าราชการครูฯ ผู้ใดย้ายระหว่างช่วงเวลาของ MOU ถือว่าข้าราชการครูฯ ผู้นั้นสละสิทธิ์การขอรับการประเมิน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้จัดทำเกณฑ์การประเมิน โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์ประเมินของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในเชิง Fast Track ที่มุ่งเน้นการจัดทำผลงานทางวิชาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ________________________________________ เห็นชอบการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตาม ว5 จากการที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.3/ว 5 ลงวันที่ 12 เมษายน2554 โดยเห็นชอบให้ส่วนราชการต้นสังกัดเสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยเรียงลำดับคุณภาพของผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์และองค์ประกอบอื่นตามความเหมาะสม และให้เสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวได้เพียง 1 ครั้งในคราวเดียวกัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 กันยายน2554 หลังจากนั้นให้สำนักงาน ก.ค.ศ.นำข้อมูลผู้ขอรับการประเมินเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการประเมิน ติดตามการประเมินและสรุปรายงานเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้เหมาะสมต่อไป ขณะนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับคำขอให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะฯ รวม 451 ราย จำแนกเป็นผู้ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 184ราย และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ 267 ราย ซึ่งได้พิจารณาจำนวนคำขอดังกล่าวแล้ว เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการประเมินได้ทั้งหมด ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ดำเนินการประเมินคำขอทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัดเลือก และพิจารณาคำร้องคัดค้านแล้ว ________________________________________ เห็นชอบให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับกับบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ที่ประชุมเห็นชอบการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตามประเภทสายงาน และระดับตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 20 สายงาน ดังนี้ 1) ตำแหน่งประเภททั่วไป 8 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน คือ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานห้องสมุด เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นายช่างไฟฟ้า นายช่างโยธา พยาบาลเทคนิค ส่วนตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-อาวุโส คือ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี และเจ้าพนักงานพัสดุ 2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ 12 สายงาน ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ คือ นิติกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ คือ นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักประชาสัมพันธ์ บรรณารักษ์ และพยาบาลวิชาชีพ ________________________________________ เห็นชอบจัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่แทน ก.พ.7 สามารถพิมพ์ได้เองที่สถานศึกษา ที่ประชุมเห็นชอบร่างระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ... ซึ่งมีข้อดีคือ จะทำให้ระบบทะเบียนประวัติทั้งระบบเอกสาร และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพบว่าครูจำนวนกว่า5 แสนคนทั่วประเทศ ต้องออกจากห้องเรียนมาทำธุรกรรมส่วนตัวในการขอสำเนา ก.พ.7 เฉลี่ย 2 วันต่อ 1 คนต่อปี ดังนั้นหากยังใช้ระบบ ก.พ.7 แบบเดิม ใน 1 ปีจะมีครูออกจากห้องเรียนถึง 1 ล้านวัน แต่หากใช้ระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ (CMSS) ครูสามารถพิมพ์ทะเบียนประวัติได้ที่สถานศึกษา โดยการรับรองของผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้ทุกเขตพื้นที่การศึกษาและทุกส่วนราชการ จัดทำระบบทะเบียนประวัติแบบใหม่ ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ________________________________________ อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่ประชุมอนุมัติตั้งนายมณี มวมขุนทด ครูชำนาญการพิเศษ รร.บ้านห้วยจรเข้ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และนายโกมล บัณฑิตเดช นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2011/nov/306.html

ยินดีกับท่านดร.อุดม พรมพันธ์ใจ

ขอร่วมแสดงความยินดีกับท่าน ดร.อุดม พรมพันธ์ใจ ในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษาตำแหน่งเลขที่ 28 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันศุกร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 อ้างอิงจาก http://www.tup.ac.th/tup/

ย้ายผอ.สพม.31 ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านครับ

สพม.31 มีคำสั่งย้ายผู้บริหารสถานศึกษาไปแล้ว ยินดีกับทุกท่านที่ได้ไปรับตำแหน่งยังสถานศึกษาใหม่ทุกท่าน ทั้งผู้อำนวยการและท่านรองผู้อำนวยการ ทุกท่านครับ ยินดีกับผอ.พลัดถิ่นด้วยครับ
ผู้อำนวยการวิวัฒน์ชัย เศรษฐชัย ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยา เดินทางไปรับตำแหน่งวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 รายละเอียดเพิ่มเติมการย้ายที่นี่ครับ http://www.mattayom31.go.th/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=2&id=9255&Itemid=75

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประกาศสอบ GAT-PAT และวันสอบ O-NET

ประกาศเลื่อนการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2555
ประกาศ เรื่อง O-NET วันสอบ เอกสารที่ใช้แสดงเป็นหลักฐานในวันสอบ (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือ (2) บัตรนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือ (3) บัตรที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่าย (บัตรยังไม่หมดอายุ) อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำข้อสอบ (1) ดินสอดำ 2B (2) ยางลบ (3) ปากกา ประกาศ เรื่อง O-NET เกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูลนักเรียน 1. กรณี ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ไม่ถูกต้อง สทศ. มีแบบคำขอแก้ไขข้อมูล (สทศ. 6) โดยสามารถ Download แบบฟอร์ม (คลิกที่นี้) ทั้งนี้ขอให้โรงเรียนแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียนมาด้วย แล้วนำเอกสารมายื่นได้ที่สนามสอบ โดย สทศ. ทำการแก้ไขให้ถูกต้องในวันประกาศผลสอบ 2. ห้ามแจ้งลดข้อมูลเด็กนักเรียนที่ข้อมูลผิด (ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขนักเรียน) เข้ามาในระบบ แล้วทำการแจ้งเพิ่มข้อมูลเด็กที่ถูกต้องเข้ามา เพราะจะทำให้ข้อมูลซ้ำซ้อนและเด็กไม่มีเลขที่นั่งสอบ ให้ใช้วิธีการแก้ไขดังข้อ
อ้างอิงจาก http://www.niets.or.th/ http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/16/3bef5af000a0fd6ea6988a4cbbeed847.pdf http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/16/269699474d44d971c712edd4ccb2467f.pdf สทศ. เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-217-3800 (อัตโนมัติ 100 คู่สาย) โทรสาร 02-219-2996 e-mail : webmaster@niets.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรงเรียนมหิศราธิบดีรับป้ายพระราชทานสนองพระราชดำริ"สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน"2554

(ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ร่วมแสดงความยินดี) โรงเรียนมหิศราธิบดี โดยท่านผู้อำนวยการเอื้อ ทรวงโพธิ์ คณะครูโรงเรียนมหิศราธิบดีเข้ารับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริ "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2554 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 (การประชุมวิชาการนิทรรศการ ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2554 ที่ศูนย์ฝึกหนองระเวียงมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนสมาชิกพฤกษศาตร์โรงเรียน ที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร ป้ายสนองพระราชดำริ ร่วมแสดงนิทรรศการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 186 โรง) ความสำเร็จครั้งนี้โดยความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้างทุกคนจึงส่งผผลให้โรงเรียนได้รับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริ ในครั้งนี้ ด้วยความชื่นชมขอชาว มธ.